วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Liver function tests

Approach to LFTs

ความรู้พื้นฐาน
การตรวจ LFTs แบ่งออกเป็น 3 หมวดได้แก่
  1. ดู hepatocyte injury ได้แก่ AST, ALT, ALP, GGT
  2. ดู hepatocyte synthetic function ได้แก่ PT, albumin
  3. ดู hepatocyte catabolic activity ได้แก่ DB, IB, ammonia
AST, ALT
  • AST, ALT เป็น liver enzyme ค่าที่สูงขึ้นแสดงถึง hepatocyte หรือ bile duct injury
  • AST, ALT สามารถพบในอวัยวะอื่นๆ คือ AST พบได้ใน liver, muscle, heart, kidney, red cell, brain และ ALT พบได้ใน liver, muscle, kidney
  • AST พบอยู่ที่ cytoplasm และ mitochondrial แต่ ALT พบเฉพาะใน cytoplasm
  • Half-life ของ AST ประมาณ 17 +/- 5 ชั่วโมงและของ ALT ประมาณ 47 +/- 10 ชั่วโมง
  • AST/ALT ratio ขึ้นกับอายุ และเพศ โดยเพศชายจะสูงกว่าเพศหญิง (muscle mass มากกว่า)
  • การแปลผลจะดูระดับความสูงของ liver enzyme, สัดส่วนของ AST : ALT และความเร็วในการลดลงของใน liver enzyme
ALP, GGT
  • ALP พบใน liver, bone, placenta, small bowel, kidneys (พบสูงขึ้นเป็นปกติใน children < 18 ปี และ pregnancy) การตรวจ GGT จะช่วยแยกระหว่าง hepatic และ non-hepatic source ได้
  • GGT เพิ่มในหลายภาวะได้แก่ pancreatitis, AMI, uremia, COPD, RA, DM แต่ถ้าร่วมกับ hepatitis จะบ่งถึงสาเหตุจาก alcoholic
Albumin, globulin
  • Albumin มี half-life 20 วัน; ภาวะ hypoalbuminemia พบได้ในหลายภาวะ เช่น malnutrition, proteinuria, chronic inflammation (เช่น sepsis, burn, trauma), cirrhosis
  • Globulin จะสูงขึ้นใน cirrhosis (จาก transient bacteremia) ทำให้เกิดภาวะ reverse A/G ratio
PT, aPTT
  • Coagulation factor ที่สร้างที่ตับ ได้แก่ fibrinogen, vitamin K dependent factor (II, VII, IX, X), factor V ซึ่ง factor VII จะมี half-life สั้นที่สุด (3-6 ชั่วโมง) จึงตรวจ PT เพื่อบ่งบอกถึง synthetic function ของตับ
Bilirubin
  • Unconjugated hyperbilirubinemia (IB เพิ่มขึ้น) เกิดจาก overproduction เช่น hemolysis, hematoma หรือจากการความผิดปกติในการ uptake ของ bilirubin เช่น Gilbert’s disease, Crigler-Najjar syndrome
  • Conjugated hyperbilirubinemia (DB > IB) พบใน hepatocellular disease, cholestasis และใน inherited condition เช่น Dubin-Johnson syndrome, Rotor syndrome

แนวทาง approach LFTs
ลักษณะ pattern ของ LFTs ว่าเป็น hepatocellular, cholestatic และ mixed

1.  Hepatocellular jaundice: DB > 50%; SGOT, SGPT > 5x; ALP < 3x
  • ALT > 1,000 (20x): acute viral hepatitis (< 2,000), drug/toxin, ischemia, autoimmune, Budd-Chiari syndrome, CBD stones
  • ALT สูงปานกลาง (2-20x): acute viral hepatitis, chronic hepatitis (virus, alcohol, NAFLD)
  • Alcoholic hepatitis จะมี ALT < 300, AST/ALT ratio > 2
  • Ischemia, toxin เมื่อ F/U AST, ALT จะลดลงอย่างรวดเร็ว
ให้แยกสาเหตุของ viral และ drug/toxin ก่อน ส่วนสาเหตุอื่นๆให้ดูตามอาการและผลเลือดอื่นๆ เช่น cardiac arrest (ischemia) จะมี LDH ที่สูงมาก; Wilson’s disease ในคนอายุ < 40 ปี และ ALP/bilirubin < 2; autoimmune มักพบในผู้หญิง มี IgG สูง ตรวจ ANA, anti-smooth muscle Ab ให้ผลบวก; hemochromatosis มี DCM เหนื่อยง่าย ผิวคล้ำ ปวดข้อ เบาหวาน; acute Budd-Chiari syndrome มี new onset ascites
  • อื่นๆที่พบน้อย ได้แก่ systemic infection (DHF, typhoid, typhus), HSV, CMV, EBV, acute fatty liver of pregnancy, Reye’s syndrome

2.  Cholestatic jaundice: DB > 50%; SGOT, SGPT < 5x; ALP > 3x
  • Extrahepatic cholestasis: CBD stones (ใน 24-48 ชั่วโมงแรกจะมีแต่ AST, ALT ขึ้น > 300 ก่อน และลดลงอย่างรวดเร็วก่อนที่ ALP, bilirubin จะสูงขึ้น), periampullary cancers, sphincter dysfunction, choledochal cysts, trauma, primary sclerosing cholangitis
  • Intrahepatic cholestasis: drugs, sepsis, TPN, primary biliary cirrhosis, benign post-operative cholestasis, ICU jaundice, CHF, thyrotoxicosis, Infiltrative lesions (ALP > 1,000 ได้แก่ granulomatous disease, amyloidosis, sarcoidosis, infiltrative tumors, fungal infection, malignant infiltration)
W/U: ultrasound ถ้า TB > 12 แต่ไม่เห็น duct dilate สามารถ exclude extrahepatic cholestasis ได้; แต่ถ้า TB < 12 ต้อง repeat U/S อีก 2 สัปดาห์


3.  Mixed hepatocellular jaundice: SGOT, SGPT > 5x; ALP > 3x
  • Systemic infection เช่น typhus, leptospirosis, salmonellosis
  • Drug, herbs (most common)
  • Acute CBD obstruction (ใน 24-48 ชั่วโมงแรกจะมีแต่ AST, ALT ขึ้น > 300 ก่อน และลดลงอย่างรวดเร็วก่อนที่ ALP, bilirubin จะสูงขึ้น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น