โรคอ้วน (Obesity)
แบ่งเป็น 2 แบบคือ
- อ้วนทั้งตัว คือ BMI > 30
- อ้วนลงพุง คือ เส้นรอบเอว (ระหว่างขอบล่างซี่โครงและของบนเชิงกราน วัดก่อนอาหาร ขณะหายใจออก) > 90 ซม.ในผู้ชายและ > 80 ซม.ในผู้หญิง
ซักประวัติและตรวจร่างกาย
หาสาเหตุ (lifestyle, depression, eating disorder,
hypothyroidism, cushing syndrome) และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนได้แก่
Ix: Fasting lipid
panel, LFTs, TFTs, FPG, HbA1c
ตั้งเป้าหมาย:
ต้องระบุให้ชัดเจนว่า “ใคร จะทำอะไร ที่ไหน
ตั้งแต่เมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่ อย่างไร เพราะอะไร” เป้าหมายที่เหมาะสมคือไม่เกิน
0.5-1 กิโลกรัม/สัปดาห์
การรักษาโดย การกินอาหารสมดุล
และการออกกำลังกาย โดยใช้กลยุทธ์ต่างๆดังนี้
- จดบันทึกการกินอาหารทุกวัน + ชั่งน้ำหนักตอนเช้าทุกวัน
- ดื่มน้ำเย็น 500 มล. (2 แก้ว) ก่อนอาหารทุกมื้อ
- ไม่งดมื้ออาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง แต่ลดปริมาณลงแต่ละมื้อ
- ใช้จานขนาดเล็กลง กินเฉพาะที่โต๊ะอาหาร ไม่ใช้มือหยิบอาหารกิน เคี้ยวอาหารให้นานขึ้น
- ใช้อาหารสูตรครบถ้วนทดแทนมื้ออาหาร (Meal replacement) ซึ่งมีสัดส่วนสารอาหารหลักและสารอาหารรองอย่างครบถ้วน ได้แก่ Slim-Fast, Glucerna, Lean Cuisine
- หลีกเลี่ยงน้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำอัดลม โซดา แอลกอฮอล์ ซึ่งให้พลังงานสูง แต่ขาดสารอาหาร
- แบ่งสัดส่วนอาหารบนจาน ได้แก่ ผักสด/ผักสุก ½ จาน ข้าว-แป้ง ¼ จาน โปรตีน ¼ จาน
o
**ปริมาณอาหารขั้นต่ำต่อวัน
= carbohydrate > 50 gm (cereal 2 ถ้วย, ขนมปัง 4 แผ่น), protein 0.8-1.5 gm/kd (ไม่เกิน 100 gm), Fat 10-15% ของ total calories
(1200 Kcal/d) หรือเท่ากับกินนมพร่องไขมัน 180 mL x 5 กล่อง/วัน
- เลือกประเภทอาหาร ได้แก่ ข้าวกล้องหรือธัญพืช ปลาหรือเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผักและผลไม้ 5 สี (เขียว เหลือง ม่วง แดง ขาว) ไขมันจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง สลับกับ กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ข้าวโพด ดอกคำฝอย เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฝ้าย ฯลฯ หลีกเลี่ยงกรดไขมันทรานส์และกรดไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว
- เลือกวิธีปรุงอาหาร โดยใช้วิธีต้ม ลวก นึ่ง อบ ปิ้ง ย่างแทนวิธีทอดและผัด ไม่เติมน้ำตาล
- ออกกำลังกายหนักปานกลาง 5-7 ครั้ง/สัปดาห์ 30-60 นาที/วัน (300 นาที/สัปดาห์) เช่น เดินเร็ว (5-6.5 km/h) ปั่นจักรยาน (< 16 km/h) เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำเร็วปานกลาง พบว่าการออกกำลังแบบวงรอบ (ออกกำลังกาย 10 นาทีแล้วพัก) สามารถลดน้ำหนักได้ดีกว่าและควรออกกำลังกายแบบสร้างกล้ามเนื้อเพิ่มเติม
- นอน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
**มีสูตรการลดน้ำหนักหลายสูตรเช่น Atkins diet (low-carbohydrate), Ornish
diet (low-fat diet), Zone diet (fat = carbohydrate = protein), Balance low-calorie
diet พบว่าได้ผลไม่ต่างกัน
การควบคุมน้ำหนักในระยะยาว
ให้ประสบความสำเร็จต้องประกอบด้วย 5
อย่างคือ
- คอยชั่งน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ
- กินอาหารไขมันต่ำ
- ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน 60 นาที/วัน
- เพิ่มการออกแรงในชีวิตประจำวัน
- กินอาหารที่บ้าน
ปัญหาในการลดน้ำหนัก คือ
ช่วงระหว่างลดน้ำหนัก ร่างกายจะลดการใช้พลังงานลง
เพิ่มฮอร์โมนให้เกิดความอยากอาหาร
การรักษาด้วยยาได้แก่
- Orlistat (120) 1x3 ac: ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ lipase สามารถลดน้ำหนักได้ 9-10% ใน 2 ปี ลดการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน (A,D, E, K) และ beta-carotene มีผลข้างเคียงคือ ท้องอืด ถ่ายเป็นน้ำมัน ถ่ายบ่อย อั้นอุจจาระไม่อยู่
- Phentermine + extended-release topiramate (Qsymia) (3.75/23) 1x1 x 14d then (7.5/46) 1x1 x 12wks สำหรับคนที่มี BMI > 30 หรือ > 27 + weight-related comorbid condition (DM, HT, DLP) มีผลข้างเคียงคือ ง่วงซึม ชา ความจำไม่ดี สับสน (topiramate ต่ำกว่าขนาดในการใช้รักษาโรคลมชักคือ 200 mg)
การรักษาโดยการผ่าตัด
(Bariatric
surgery) เช่น Roux-en-Y gastric bypass, Adjustable gastric
banding, Gastric sleeve surgery, etc. ถ้า BMI > 40 หรือ > 35 + major comorbidity (OSA, DM, HT, heart failure,
peripheral edema, respiratory insufficiency, asthma, DLP, esophagitis,
pseudotumor cerebri, operative risk, OA, thromboembolism, urinary incontinence)
Ref: Medscape 2013,
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลและรักษาโรคอ้วน 2553
รักษาภาวะ metabolic syndrome (3/5 ข้อ: FPG ≥100, BP ≥130/85, TG ≥150, HDL-C < 40 ในผู้ชายหรือ < 50 ในผู้หญิง, ภาวะอ้วนลงพุง) ร่วมด้วยได้แก่
ตอบลบ1. ปรับพฤติกรรม ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย อาหาร (กิน chocolate, red wine ช่วยลด risk ได้)
2. LDL-C สูง: Statins
3. HDL-C ต่ำ: Niacin
4. TG สูง: Niacin, fibrates, omega-3 fatty acids
5. FPG สูง: metformin
6. 10 y cardiac risk > 6%: aspirin
7. รักษาภาวะ OSA (ถ้ามี): CPAP
8. BP > 130/80: ACEI/ARB