วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Short stay unit/Observational unit

Observation unit/Short stay unit (SSU)

เมื่อแพทย์จะ admit เข้า SSU จะต้องระบุรายละเอียดที่สำคัญไว้ เพื่อให้แพทย์ ER ที่อยู่ในเวรถัดสามารถดูแลได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ดังนี้
  1. Clinical impression
  2. Plan ในการ investigation และ treatment
  3. Criteria หรือ time-frame ในการ admit หรือ discharge
SSU จะให้การดูแลผู้ป่วย 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่
  1. ผู้ป่วยที่ยังไม่ได้ definite diagnosis ซึ่งมีโอกาสเป็น serious condition ควรได้รับการ serial examination, investigation หรือ diagnostic procedure เพื่อ exclude serious condition ให้ได้ก่อนในกรอบเวลาที่กำหนด เช่น
    • Nonspecific abdominal pain r/o appendicitis
    • Nonspecific chest pain r/o  AMI
    • r/o DVT รอ Doppler US
    •  Minor trauma r/o missed injury
    • r/o non-active UGIH รอ endoscope
    • Syncope low-moderate risk
    • TIA with low risk recurrence รอ Investigation
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการคงที่ แต่เป็นโรคที่อาจจะมีอาการเปลี่ยนแปลงไปมาได้ ซึ่งยังไม่ปลอดภัยพอที่จะ admit private room หรือ discharge ในทันที ซึ่งควรที่จะรักษาและสังเกตอาการใกล้ชิดในชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อน เช่น
    •  Asthma ที่ตอบสนองต่อการรักษา แต่ยังมี respiratory distress อยู่
    • New onset AF ที่ไม่พบสาเหตุอันตรายเช่น AMI, abnormal electrolyte และไม่มีภาวะแทรกซ้อนเช่น CHF
    • Mild acute exacerbate ของ chronic CHF ที่ไม่มี hypoxia, hypotension, respiratory distress หรือ MI
    • Moderate dehydration จากสาเหตุที่ควบคุมได้ และมี mild-moderate electrolyte imbalance
    • Infection ที่ยัง exclude severe sepsis ไมได้
    • Pneumonia ที่ risk score ไม่มาก (CURB65 score 0-1)
    • Uncomplicated pyelonephritis สังเกตอาการตอบสนองต่อการรักษา ยังไม่สามารถ tolerate oral fluid ได้
    • Observe หลังทำ moderate sedation

ผู้ป่วยที่ไม่ควร admit SSU ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีเกณฑ์ชัดเจนที่ต้อง admit ICU เช่น unstable vital signs, มี high pretest probability ต่อ serious condition; ผู้ป่วยที่ควร admit ไป ward เลย เช่น เมื่ออาการคงที่แล้วและคาดว่าจะใช้เวลานาน > 24 ชั่วโมงในการรักษา


ตัวอย่าง electrolyte disorder ที่สามารถ admit เข้า SSU

ข้อดีที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
1.  แพทย์ ER สามารถเดินมาตรวจผู้ป่วยได้ซ้ำๆ (ต่างจากการเดินขึ้นไปราว ward) จะทำให้ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว สุดท้ายผู้ป่วยจะถูกส่งไปรับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางที่ถูกต้อง ในเวลาที่เหมาะสม
2.  ลดโอกาสเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะไปมีอาการทรุดลงบน ward หรือที่บ้าน


Ref: Graff L, Mahadevan M. Chapter 196, Observation Medicine and Clinical Decision Units. Rosen's emergency medicine. 7th ed. 2010

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น