Shock
Initial assessment
Recognized shock
- ภาวะ shock
ดูได้จาก abnormal hemodynamic (BP, PR, PP, RR) และ organ
perfusion
ไม่เพียงพอ (skin, kidneys, CNS)
- การตอบสนองของร่างกายเมื่อมี
volume
loss ที่พบได้เร็วที่สุด คือ tachycardia และ cutaneous
vasoconstriction เพราะฉะนั้นในรายที่ ตัวเย็น และ pulse เร็ว
ต้องคิดถึงภาวะ shock ไว้ก่อน
- Tachycardia แตกต่างกันตามอายุ คือ > 100 ในผู้ใหญ่, > 120 ในเด็กวัยเรียน, > 140 ในเด็กก่อนวัยเรียน,
> 160 ในทารก; ในคนสูงอายุอาจจะไม่มี tachycardia
ให้เห็น
- Hematocrit จะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในชั่วแรก ในรายที่ตรวจได้ Hct
ต่ำมากหลังจากบาดเจ็บไม่นานแสดงว่าอาจจะมี massive blood
loss หรือ pre-existing anemia
- การตรวจ
base
deficit หรือ lactate
levels ช่วยวินิจฉัย
ประเมินความรุนแรงและติดตามผลการรักษาในภาวะ shock ได้
- การหาสาเหตุของ shock
(hemorrhagic, non-hemorrhagic) ดูจากประวัติ
(injury
เหนือ diaphragm อาจมี myocardial
injury, cardiac tamponade, tension pneumothorax) ตรวจร่างกาย
และการตรวจเพิ่มเติม เช่น
CXR,
pelvic x-ray, FAST โดยไม่ทำให้การ
resuscitation
ล่าช้าลงไป
- Non-hemorrhagic shock ได้แก่ cardiogenic shock (blunt cardiac injury, myocardial infraction), obstructive shock (cardiac tamponade, tension pneumothorax, air embolism), distributive shock (neurogenic shock), sepsis
Hemorrhagic shock:
ใน trauma นอกจาก
blood
loss แล้วยังมี
fluid
shift จาก soft
tissue injury ทำให้การตอบสนองของร่างกายมีความซับซ้อนมากกว่า
blood
loss อย่างเดียว โดยปกติ blood volume มีประมาณ
7% ในผู้ใหญ่ (ประมาณ 5 ลิตรในคนน้ำหนัก
70 kg) และประมาณ 8-9% ในเด็ก
ส่วนในคนอ้วนต้องคิดจาก ideal body weight
Physiologic
classification:
ใช้ประเมินในการเริ่มให้ IVF ครั้งแรก แต่การให้ fluid replacement ครั้งต่อมาต้องดูการตองสนองของผู้ป่วย
|
Confounding factor
- ปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อภาวะเลือดออก เช่น อายุ ตำแหน่งและชนิดของการบาดเจ็บ ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับบาดเจ็บจนได้รับการรักษา การได้ prehospital IVF therapy มาก่อน ยาประจำ เป็นต้น
- ควรทำ balanced
fluid resuscitation + haemorrhage control ในรายที่มีหรือสงสัย blood
loss แม้ว่าจะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงทาง physiology ให้เห็น
Fluid changes secondary to soft-tissue
injury
- Blood loss เข้าไปใน soft
tissue เช่น tibia
fracture มี blood
loss ได้ถึง 750 mL, fracture femur 1,500
mL, pelvic fracture มี blood loss ได้หลายลิตร;
ในคนอ้วนอาจมี extensive blood loss ใน soft tissue ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มี fracture; ในคนสูงอายุเกิด
soft tissue injury ง่ายและ tamponade effect ไม่ค่อยดี
- Tissue injury ทำให้เกิด inflammatory response ทำให้ fluid leakage จาก plasma
เข้าไปสู่ extravascular หรือ extracellular space ทำให้ volume depletion มากขึ้น
Initial management of hemorrhagic shock
- ABCDE: (ดูเรื่อง Trauma initial management) ได้แก่
- Patent airway, oxygen supplement (keep > 95%)
- Stop
bleeding (direct pressure, tourniquet, pelvic binder) [จัดลำดับความสำคัญมาก่อนการคำนวณให้ IVF]
- ประเมิน
GCS (cerebral perfusion)
- Completely
undress + prevent hypothermia
- Gastric
decompression; Urinary catheterization
- Vascular access
- เปิด IV เบอร์ใหญ่ (อย่างน้อย 18-guage) x 2 เส้น ตำแหน่งที่แนะนำคือ
forearms และ antecubital veins
- ถ้ายังเปิด peripheral
IV ไม่ได้ ให้ทำ
IO ชั่วคราว
ถ้าไม่สามารถเปิด peripheral vein ได้ให้ทำ central
venous access แล้วทำ CXR ยืนยันตำแหน่ง
- ดูดเลือดส่ง
lab,
G/M, toxicology studies, pregnancy testing (ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกราย),
VBG
- Initial fluid therapy
- ให้
warmed
isotonic fluid เริ่มจาก 1
L ในผู้ใหญ่ หรือ 20
mL/kg ในเด็ก < 40 kg (ให้รวมที่ได้จาก prehospital ด้วย) ระหว่างให้ก็ประเมิน response รวมถึงประเมิน end-organ perfusion และ tissue
oxygenation
- ใน
class III และ IV
haemorrhage ให้พิจารณาตาม blood
product มาให้ตั้งแต่แรก (ดู blood replacement ด้านล่าง);
การให้ low ratio ของ pRBC, plasma,
platelet ตั้งแต่แรกช่วยป้องกัน coagulopathy และ
thrombocytopenia ได้
- Controlled resuscitation (SBP 80-90 mmHg) ใน noncompressible hemorrhage ซึ่งจะให้ fluid resuscitation เมื่อ SBP < 80 mmHg หรือมี decreasing mental status; ไม่ควรทำ hypotensive resuscitation ในผู้ป่วยที่มี myocardial disease, ischemic stroke, หรือ traumatic brain injury
- Measuring patient response to fluid
therapy
- นอกจากจะดูการตอบสนองของ BP, pulse
pressure, pulse rate ต้องดู organ
perfusion คือ urine output ให้ได้ 0.5 mL/kg/h ในผู้ใหญ่ หรือ 1 mL/kg/h ในเด็ก หรือ 2 mL/kg/h ในเด็ก <
1 ปี
- ถ้า urine output น้อยกว่าเป้าหมาย ร่วมกับ urine
sp.gr. เพิ่มขึ้น ต้องให้ volume
เพิ่มขึ้น และทำ diagnostic investigation
- Mild
metabolic acidosis สามารถพบได้จาก
respiratory
alkalosis ซึ่งไม่ต้องรักษา
แต่ severe
metabolic acidosis เกิดจาก inadequate
tissue perfusion รักษาด้วย fluids และ blood (ไม่ให้ sodium bicarbonate) ให้ตรวจ
base deficit หรือ lactate values เป็นระยะเพื่อดูการตอบสนองต่อการรักษา
Patterns
of patient response
|
**สาเหตุของ
ongoing
blood loss คือ “floor and four (abdomen/pelvis,
retroperitoneum, thorax, extremities)”
- Blood replacement (ดูเรื่อง transfusion therapy and complication)
- ให้ใน
class III และ IV
haemorrhage และกลุ่ม
transient
responders หรือ nonresponders ตั้งแต่ในช่วงต้นของการ resuscitation
- เลือกชนิดของ
pRBC ขึ้นกับความเร่งด่วน (blood bank ใช้เวลาในการ crossmatch ประมาณ
1 ชั่วโมง) ถ้ายังไม่มี crossmatched
pRBC แนะนำให้ type-specific pRBCs > type O pRBC (ยกเว้นมีผู้ป่วยหลายรายที่ต้องให้เลือดพร้อมกัน อาจให้ type
O pRBC เพื่อลดความเสี่ยงการให้ผิดหมู่); ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์แนะนำให้
Rh-negative pRBC
- Plasma เช่นเดียวกับ pRBC เมื่อจำเป็นต้องให้ uncrossmatched plasma สามารถให้
universal donor คือ AB+ plasma [FFP จะเก็บแช่แข็งไว้
ซึ่งใช้เวลาในการละลาย 15-20 นาที โดยการแช่น้ำอุณหภูมิ 37oC
ในบางที่จึงละลาย FFP ไว้โดยเก็บที่อุณหภูมิ 1-6oC จะเก็บได้ 5 วัน]
- ป้องกัน
hypothermia โดยให้ผ่าน
IVF
warmer ที่อุณหภูมิ 39oC
- Autotransfusion (ดูเรื่อง autotransfusion) พิจารณาทำใน massive hemothorax แต่ผู้ป่วยจะขาด coagulation factor ต้องให้ plasma และ platelet ทดแทน
- Massive transfusion คือ ต้องการ pRBC > 10 units/24 ชั่วโมง
(75 mL/kg) หรือ >
4 units/1 ชั่วโมง
การให้ทั้ง pRBC, plasma, และ platelets ในสัดส่วนที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิต ร่วมกับการ
control
bleeding และรักษาภาวะ coagulopathy, hypothermia, และ acidosis
Massive
transfusion protocol
|
- ให้
tranexamic
acid 1 gm IV > 10 min (ภายใน
3
ชั่วโมงแรกหลัง injury) then
1 gm IV > 8 h
- Calcium administration ไม่จำเป็นต้องให้เป็น routine พิจารณาให้ตามผล ionized calcium
Special considerations
- Ohm’s law (V = I x R) หรือ Blood pressure (V) = Cardiac output (I) x systemic vascular resistance (R) แปลว่า BP ≠ CO (เพราะมีปัจจัยของ SVR) เช่น เมื่อให้ vasopressor (เพิ่ม SVR) แล้วทำให้ BP เพิ่มขึ้นแต่ cardiac output อาจจะเท่าเดิม ผู้ป่วยยังคงมี tissue perfusion และ oxygenation ไม่เพียงพอ
- Advanced age:
คนสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลายอย่าง เช่น
การตอบสนองต่อ catecholamine ลดลง (receptor
deficit), cardiac compliance ลดลง (HR และ myocardial
contractility เพิ่มได้จำกัด),
pulmonary compliance ลดลง, อวัยวะต่างๆมีความไวต่อการลดลงของ blood flow
(atherosclerosis, pre-existing volume
depletion [diuretic], malnutrition) แม้ว่า BP ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ, รวมถึงปัจจัยด้านยาและโรคประจำตัว
การทำ resuscitation จึงต้องมีการ
monitor
อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกัน over หรือ under-resuscitation
- Athletes:
มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทำให้เห็นการตอบสนองต่อ hypovolemia
ช้า เช่น blood volume เพิ่มขึ้น 15-20%, cardiac output อาจเพิ่มได้ถึง 6 เท่า, SV เพิ่มขึ้น 50%,
resting HR เฉลี่ย 50/min
- Pregnancy:
มี normal hypervolemia ทำให้อาการแสดงของ shock เกิดขึ้นช้ากว่า ดูเรื่อง pregnancy
trauma
- Medication ที่มีผลต่อการ resuscitation เช่น beta-blocker,
CCB (HR);
insulin (hypoglycemia), diuretic (hypokalemia), NSAIDs (platelet dysfunction)
- Hypothermia:
ทำให้เกิด coagulopathy ได้ การตอบสนองของ V/S ผิดปกติ
ดูเรื่อง hypothermia
- Pacemaker: HR ขึ้นกับ setting ของเครื่อง เพราะฉะนั้นต้องใช้ monitoring อื่นๆในการให้ fluid therapy; เครื่องอาจจะสามารถปรับ HR เพิ่มได้
Reassessing patient response
- ภายหลังทำ resuscitation ต้องติดตามดูการตอบสนอง (urine output, CNS function, skin color, pulse/BP) โดยมีเป้าหมายคือ restore organ perfusion และ tissue oxygenation
- ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อ
fluid
therapy ให้คิดถึง undiagnosed
bleeding, cardiac tamponade, tension pneumothorax, ventilatory
problems, unrecognized fluid loss, acute gastric distention, myocardial
infarction, diabetic acidosis, hypoadrenalism, หรือ neurogenic
shock
Ref: ATLS ed10th, Tintinalli
ed8th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น