วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประเด็นทางกฏหมายในห้องฉุกเฉิน

Negligence standards
  • โดยปกติแพทย์ย่อมถูกคาดหวังให้ฝึกฝนพัฒนาการรักษาให้อยู่มาตรฐานที่ยอมรับได้ (ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยที่มาห้องฉุกเฉินจะต้องตามแพทย์เฉพาะทางแต่ละด้านมาตรวจ) โดยมาตรฐานในที่นี้จะอ้างถึงคำว่า “gross negligence” ซึ่งมีรุนแรงกว่า negligence หมายถึง การกระทำที่สะเพร่า (reckless) ไม่ใส่ใจ การกระทำที่ขาดความระมัดระวังหรือการกระทำโดยเจตนาโดยรู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้น
  • ในคดีละเมิดทางแพทย์ (malpractice lawsuit) โจทย์จะต้องพิสูจน์ว่าแพทย์ทำการรักษาไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ในกรณีนี้มักใช้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (expert) โดยคนที่จะมาทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญนี้ไม่ได้มีกำหนดเป็นมาตรฐานไว้ แต่มีแนวทางทั่วไป (ACEP) สำหรับคนที่จะมาทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ คือ ต้องทบทวนข้อเท็จจริงทั่งหมดด้วยความเป็นธรรม ไม่มีอคติ โดยไม่ตัดข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อที่จะสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังคงทำเวชปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอใน 3 ปี ก่อนที่จะเกิดเรื่องที่ทำให้เป็นคดีความนั้น


ประเด็นทางข้อกฎหมายอื่นๆ
  • Risk management ในการลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดต่างๆ (วินิจฉัย/รักษา ผิด/ล่าช้า) ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ป่วยและผู้รักษา การสื่อสารที่ดี เริ่มจากการแนะนำตัว ชื่อ ตำแหน่งหน้าที่ การให้ญาติมามีส่วนร่วมด้วย (ถ้าผู้ป่วยยินยอม) ผู้ป่วยและญาติเข้าใจในการวินิจฉัยและคำแนะนำเมื่อออกจากรพ. (การรักษา นัดดูอาการ เมื่อไหร่ที่ต้องกลับมา) การส่งต่อผู้ป่วย (เปลี่ยนเวร) ไม่ควรทำอย่างรีบเร่ง แพทย์ที่ดูผู้ป่วยต่อควรที่จะไปประเมินผู้ป่วยอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อน D/C   
  • โรคความเสี่ยงสูง (เสี่ยงต่อ diagnostic error) เช่น chest pain, complicated wound, fracture, abdominal/pelvis symptoms, pediatric fever, meningitis, stroke, embolism, spinal cord injuries, ectopic pregnancy ต้องระวังในการวินิจฉัย ในรายที่การวินิจฉัยยังไม่แน่ชัด ให้บรรยายเป็นสิ่งที่ตรวจได้และอาการแทน ควรพูดคุยกับผู้ป่วยและญาติว่าเราให้หรือไม่ให้การรักษาใดเพราะอะไร
  • การเขียนใบรับรองการตาย เป็นหน้าที่ของแพทย์ โดยเขียนสาเหตุการตาย เรียงตามลำดับเวลาจากหลังมาหน้า ให้ระวังข้อผิดพลาดที่พบบ่อย คือ การระบุ terminal events เช่น cardiac arrest, respiratory arrest เป็นสาเหตุการตาย; กรณีที่ไม่ทราบสาเหตุและไม่ได้ตรวจศพ ให้ระบุว่า Unknown cause of Dead หรือ Unattended Death
  • การให้คำแนะนำทางโทรศัพท์ เมื่อ general public โทรมา (เกิด doctor-patient relationship) ควรบอกให้ทราบว่าไม่ได้รับอนุญาตที่จะให้คำแนะนำทางโทรศัพท์ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยเดินทางมาตรวจรักษาที่รพ.
  • ความรับผิดชอบที่เกินไปกว่าภายในแผนกฉุกเฉิน เช่น ไม่ควรเขียนคำสั่งการรักษาต่อเนื่องไว้สำหรับผู้ป่วยใน ถ้าไม่รู้เวลาที่แน่นอนว่าผู้ป่วยจะได้ย้ายเข้าหอผู้ป่วยและจะมีแพทย์เจ้าของไข้มาดูเมื่อไหร่ (ควรสั่งการรักษาที่จำเป็นไปเลยในห้องฉุกเฉิน เพื่อป้องกัน delayed treatment); การเกิดภาวะฉุกเฉินขึ้นในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลไม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ฉุกเฉินที่ต้องอยู่ (on duty) ในห้องฉุกเฉิน แต่ถ้าไม่มีทางเลือกอื่นก็อาจส่งผู้ป่วยในลงมาที่ห้องฉุกเฉินเพื่อทำการประเมินและรักษาแทน
  • การเป็นพยานศาลของแพทย์  แพทย์จะได้รับหมายเรียก ให้ดูรายละเอียดว่าศาลอยู่ที่ไหน นัดให้ไปเบิกความพยานเมื่อใด คดีระหว่างผู้ใดเป็นโจทก์ ผู้ใดเป็นจำเลยในวัน เดือน ปี เวลาใด แพทย์อาจไปพบพนักงานอัยการเพื่อตรวจดูเอกสารต่างๆ เตรียมตัวทบทวนบันทึกประวัติผู้ป่วยหรือผู้ตาย



Ref: Tintinalli ed8th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น