อุปสรรคต่อความเป็นส่วนตัว (privacy)
และการรักษาความลับ (confidentiality) ในห้องฉุกเฉิน
ได้แก่
- อุปสรรคจากการออกแบบและการทำงานภายในห้องฉุกเฉิน ได้แก่ จุดคัดกรองเป็นพื้นที่เปิด การที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปมาระหว่างเตียง การทำงานและการจัดการเอกสารในพื้นที่เปิด ตำแหน่งของผู้ป่วยต้องอยู่ในจุดที่จะสังเกตอาการได้ง่าย ปัญหาผู้ป่วยล้น บางครั้งต้องนอนเตียงเสริมตามทางเดิน อย่างไรก็ดีแพทย์ต้องมีความระมัดระวังในการซักประวัติ การสอน หรือการสื่อสารอื่นๆ เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ป่วยให้มากที่สุด
- นักศึกษาที่มาฝึก เจ้าพนักงานบังคับใช้กฎหมาย หรือ ผู้มาเยี่ยม ต้องเคารพต่อความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ป่วย
- นักศึกษาที่มาสังเกตการณ์และไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาต้องขอความยินยอมจากผู้ป่วยก่อน
- เจ้าพนักงานบังคับใช้กฎหมายอาจเข้ามามีส่วนร่วมในการเก็บหลักฐานและการสัมภาษณ์พยานในคดีอาญา ถ้าไม่ได้มีกฎหมายบังคับไว้ ผู้ป่วยควรที่จะมีสิทธิเลือกว่าจะให้สัมภาษณ์หรือไม่ และผู้ป่วยต้องให้การยินยอมก่อนที่จะให้ข้อมูลของผู้ป่วย
- ผู้มาเยี่ยมควรได้รับการยินยอมจากผู้ป่วย แพทย์ควรถามผู้ป่วยว่ายอมให้พูดถึงข้อมูลส่วนตัวต่อหน้าผู้มาเยี่ยมหรือไม่ โดยแพทย์ต้องพิจารณาถึงความสำคัญของข้อมูลด้วย เช่น เรื่อง HIV ควรจะพูดกับผู้ป่วยเป็นการส่วนตัวก่อน แม้ว่าก่อนหน้านี้ผู้ป่วยเคยอนุญาตให้พูดต่อหน้าผู้มาเยี่ยมไว้แล้ว
- การบันทึกภาพเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆสามารถทำได้หลังจากได้รับการยินยอมจากผู้ป่วย
- เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลของผู้ป่วยต้องอยู่ในที่ปลอดภัยและต้องมีรหัสผ่าน รูปภาพไม่ควรส่งทาง email ที่ไม่ได้เข้ารหัสไว้
กฎหมาย HIPAA
(The Health Insurance Portability and Accountability Act)
- เป็นกฎหมายของ U.S. เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ป่วย ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพใดๆ จะเรียกว่า protected health information (PHI)
- สิ่งที่ไม่ควรทำซึ่งอาจจะละเมิดความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ป่วย เช่น การคุยเรื่อง PHI ในที่สาธารณะ คุยเสียงดัง หรือคุยเรื่อง PHI ต่อหน้าคนอื่นโดยไม่ได้รับการยินยอม เปิดคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าไปดู PHI โดย log on ทิ้งไว้ การเปิดดูข้อมูล PHI ของคนไข้รายอื่นที่เราไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- ความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ป่วยสามารถถูกลบล้างได้ ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับส่วนรวม จำเป็นต้องแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในประเทศไทยก็มีกฎหมายรองรับในหลายเรื่อง เช่น สงสัยเด็กถูกทารุณกรรม (child abuse), บาดเจ็บจากการก่ออาชญากรรมด้วยอาวุธ (มีด ปืน), โรคติดต่ออันตราย หรือ โรคติดต่อที่ต้องแจ้ง (เช่น อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง) เป็นต้น
Ref: Tintinalli ed8th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น