Suicidal
risk
การประเมินโอกาสการเกิดอันตรายต่อตนเองและต่อบุคคลอื่น
ประกอบด้วยการซักประวัติ การวินิจฉัยโรค และการวางแผนการรักษา ในการประเมินต้องมีความเป็นส่วนตัว
มีความเคารพและสุภาพอ่อนน้อม แสดงความใส่ใจในอารมณ์ เช่น “คุณต้องรู้สึกอารมณ์ไม่ดีมากๆแน่เลย” ถามคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ป่วยได้อธิบายปัญหาออกมา เช่น “ช่วยเล่าให้หมอฟังหน่อย” ร่วมกับแสดงออกว่าแพทย์ให้ความสำคัญในการทำความเข้าใจและฟังอย่างความตั้งใจ
บางเรื่องอาจต้องถามตรงๆ เช่น สิ่งที่นำไปสู่การคิดฆ่าตัวตาย
เหตุการณ์รุนแรงในชีวิต ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวหรือกับคนใกล้ชิด
การช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เป็นต้น
Suicide risk
- ตัวช่วยในการประเมิน เช่น SAD PERSONS score ได้แก่ Sex, Age (< 19,> 45), Depression, Previous attempt, Ethanol use, Rational thinking loss, Social supports lacking, Organized plan, No spouse, Sickeness แต่ไม่อาจนำจำนวนแต้มมาใช้ตัดสินได้ว่าเสี่ยงหรือไม่เสี่ยง หรือมาใช้ตัดสินใจรับไว้ในรพ.หรือไม่
- ประเมินความตั้งใจในการฆ่าตัวตาย (suicidal intent) โดยดูว่าวางแผนไว้ขนาดไหน จะใช้วิธีอะไร (วิธีรุนแรงหรือไม่) มีการเขียนข้อความหรือจดหมายลาตายหรือไม่
- ถามคำถามเช่น “คุณเคยรู้สึกแย่จนไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อหรือไม่”, “อะไรที่คอยช่วยให้คุณไม่ฆ่าตัวตาย” (protective factors); ถ้าผู้ป่วยเพิ่งจะพยายามฆ่าตัวตายมาอาจถามความคิดและความรู้สึกในขณะนั้นเพื่อช่วยประเมินความเสี่ยงในอนาคต
- บางครั้งการทำร้ายตนเองของผู้ป่วย ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะฆ่าตัวตาย แต่เป็นความพยายามในการที่จะระบายอารมณ์ออกมา บางรายทำในขณะที่โกรธ เจ็บใจ รู้สึกผิด อับอายขายหน้า หรือทำเพื่อต้องการแก้แค้น
- ในคนที่ไม่มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย และมีความรู้สึกผิด ละอายใจ จากการพยายามทำร้ายตัวเอง กลุ่มนี้ถือว่ามี suicidal risk ต่ำ
- ในรายที่มี secondary gain เช่น ต้องการได้รับความสนใจ เมื่อได้รับความสนใจแล้วก็อาจทำให้ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายลดลงชั่วครู่ แต่ไม่ควรไปสรุปว่าผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายเพราะสาเหตุจาก secondary gain เพราะอาจไม่ใช่แรงกระตุ้นหลักในการคิดฆ่าตัวตาย
High risk ต่อ suicide เช่น
- ผู้ชาย อยู่คนเดียว หย่า เป็นหม้าย เพิ่งมีความขัดแย้งหรือการยุติความสัมพันธ์ ตกงาน มีปัญหาที่โรงเรียน
- ประวัติฆ่าตัวตายในครอบครัว มีความขัดแย้งในครอบครัว
- การฆ่าตัวตายไม่เป็นสิ่งต้องห้ามทางศาสนา
- มีโรคทางกายรุนแรงหรือเรื้อรัง
- กินแอลกอฮอล์ หรือใช้ยามาก
- มีภาวะซึมเศร้า (เศร้า หมดสุข กินน้อย นอนน้อย คิดช้า เคลื่อนไหวช้า อ่อนเพลีย ไร้ค่า อยากตาย) หรือมีโรคทางจิตเวชอื่น เช่น schizophrenia, bipolar, panic disorder, antisocial หรือ disruptive behavior
- รู้สึกหมดหนทาง (helplessness) สิ้นหวัง (hopelessness) ไม่มีเหตุผลที่จะอยู่ มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่มั่นคง ไม่สมเหตุสมผล (inappropriate affect)
- มีความคิดเรื่องฆ่าตัวตายบ่อย รุนแรง ตลอดเวลา
- มีความพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง มีการวางแผนซึ่งปฏิบัติได้จริง วางแผนจะใช้วิธีที่รุนแรง หรือจะทำในสถานที่ที่โอกาสจะมีคนช่วยได้น้อย
- ไม่มีครอบครัวหรือเพื่อนคอยช่วยเหลือ
แบบประเมินการฆ่าตัวตาย
ถ้าได้คะแนน > 9 แสดงว่ามีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายในปัจจุบันระดับปานกลาง-รุนแรง ให้ส่งปรึกษาจิตแพทย์ทันที โดยเฉพาะคะแนน > 17 หรือเคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน
Disposition
- กลุ่ม high risk ต้องรับไว้ในรพ. จัดเจ้าหน้าที่ดูแลใกล้ชิดหนึ่งต่อหนึ่ง อยู่ใกล้เคาน์เตอร์พยาบาล จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย เก็บอาวุธ ของมีคมและสิ่งของอันตราย
- กลุ่ม moderate risk คือ มีความรุนแรงในการ suicide แต่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น (แก้ไข acute stressor ระบายความรู้สึก เสริมความหวังด้านบวก ปรับมุมมองในการแก้ปัญหา ช่วยให้มองเห็นทางแก้ปัญหาหลายๆทาง) และมี psychosocial support ที่ดี อาจ D/C ผู้ป่วยกลุ่มนี้หลังจาก psychiatric consultation แล้ว มีแผนเรื่องความปลอดภัย เช่น มีเพื่อนหรือครอบครัวคอยให้กำลังใจ มีคนคอยดูใกล้ชิดใน 24 ชั่วโมงแรก ไม่มีอาวุธหรือยาที่จะใช้ฆ่าตัวตายในบ้าน ให้ psychotropic medication (ไม่เกิน 2 สัปดาห์)
- กลุ่ม low risk พูดคุยเปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก ถ้ามี family และ social support ก็สามารถ D/C ได้ นัดติดตามอาการต่อเนื่อง
Ref: Tintinalli
ed8th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น