Electrical injuries
กลไกการบาดเจ็บแบ่งออกเป็น
3
ชนิด คือ
- กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย
ขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสไฟฟ้า (current, I =
V/R) เช่น
- 10 mA รู้สึกปวด
- 16 mA เกิด tetany ของ skeletal muscle
- 20-50 mA เกิด respiratory arrest
- 50-100 mA เกิด ventricular fibrillation (AC)
- > 2 A เกิด asystole
- การเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน
ขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสไฟฟ้า ความต้านทางไฟฟ้า และระยะเวลาที่สัมผัส (Heat
= I x V x t = I2 x R X t)
- เนื้อเยื่อที่มีความต้านทางไฟฟ้าสูง เช่น skin, bone, fat ทำให้เกิดความร้อนสูง ส่วนเนื้อเยื่อที่มีความต้านทางไฟฟ้าต่ำ เช่น nerves, blood vessels
- ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ทำให้เกิด muscle spasm ครั้งเดียว ซึ่งจะผลักให้คนที่สัมผัสกระเด็นออกไป ทำให้ระยะเวลาการสัมผัสน้อย ส่วนไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ทำให้เกิด muscle tetany ทำให้ไม่สามารถปล่อยมือได้ เพราะ flexor muscle แข็งแรงกว่า extensor muscle
- จาก
mechanical
injury
ประเภทของการบาดเจ็บ
ข้อมูลที่ได้เมื่อเกิดการบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้าก็คือ
แรงดันไฟฟ้า (voltage, V) สามารถแบ่งออกเป็น high-voltage
(> 1,000 V) และ low-voltage (< 1,000 V) ซึ่งแรงดันไฟฟ้าในบ้านของไทย คือ 220 V (ระดับที่มักทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงคือ > 600 V) สามารถแบ่งประเภทของการบาดเจ็บออกเป็น 4 แบบ คือ
- ไฟฟ้าดูด (electric shock) เกิดขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจร มักมีแผลทางเข้าและออก แต่มักไม่ช่วยบอกเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน และการบาดเจ็บที่ผิวหนังไม่ช่วยทำนายความรุนแรงจากการเกิดพลังงานความร้อนภายในร่างกาย
- อาร์กไฟฟ้า
(Electrical
arc injuries) มักเกิดจากแรงดันไฟฟ้า >
1,000 V ประกายไฟจากอาร์ก (arc flash) จะปล่อยรังสีความร้อนออกมา
(สูงได้ถึง 20,0000C)
พร้อมกับแสงจ้า อาจทำให้คนที่อยู่ในระยะ > 10 ฟุตไหม้ได้ และ
การระเบิดจากอาร์ก (arc blast)
- ไฟไหม้ (Flame injury) จากเสื้อผ้าติดไฟ
- ฟ้าฝ่า
(Lighting
injury) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
ที่มีแรงดันไฟฟ้าสูง > 10 million V ระยะเวลาการสัมผัส
1/10-1/1000 วินาที เกิดความร้อนที่สูงมาก (30,000
Kelvin) ทำให้เกิด shock wave จากอากาศขยายตัว
Prehospital care
- รู้จักมาตรการความปลอดภัยเบื้องต้น
เช่น ต้องดับไฟฟ้าทุกวงจร อยู่ในระยะปลอดภัย > 10 เมตรจากสายไฟฟ้าแรงสูงที่ตกอยู่
ระวังไม่สัมผัสสายโลหะที่ยึดโยงเพื่อพยุงเสาโทรศัพท์หรือเสาไฟฟ้า เพราะอาจมีกระแสไฟฟ้าได้
ถ้ามันหลุดออกมาจากใต้ดิน ไม่สัมผัสรถที่มีสายไฟพาดอยู่ รองเท้ายางและถุงมือยางธรรมดาไม่สามารถกันกระแสไฟฟ้าได้
ไม้หรือวัสดุอื่นๆสามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ถ้า > 600 V
- ช่วย
rescue
breathing ทันทีที่ทำได้ เช่น ขณะยังอยู่บนเสาไฟฟ้า แล้วจึงทำ chest
compression เมื่อลงมาถึงพื้น เพราะมักเกิด respiratory
arrest นานหลายนาที ขณะที่หัวใจอาจเกิด ventricular
fibrillation (low-voltage AC) หรือ transient asystole (high-voltage
AC และ DC) ซึ่งอาจกลับมาเป็น NSR ได้เอง แต่ยังไม่กลับมาหายใจเอง
- ให้พยายามทำ
spinal
immobilization เพราะสามารถเกิด spinal fracture ได้จาก tetanic muscle contracture หรือจากอุบัติเหตุอื่นๆ
Ix: ใน low-voltage ไม่จำเป็นต้องตรวจ ถ้าไม่มีอาการผิดปกติ
- ECG;
CBC, BUN, Cr, electrolytes (+ Ca), CPK, troponin
- Imaging
ตามตำแหน่งที่สงสัยการบาดเจ็บ
Management
- ATLS,
ACLS with spinal immobilization
- ECG
monitoring ในรายที่มีอาการ หรือเป็น high-voltage injuries
- ตรวจจาก
Head-to-toe
เพราะสามารถเกิดการบาดเจ็บได้ในทุกอวัยวะ ตรวจหัวใจ ปอด ตา หู แขนขา
หลัง ท้อง ระบบประสาท ผิวหนัง
ผลของกระแสไฟฟ้าต่อร่างกาย
|
- Fluid resuscitation ไม่ควรใช้สูตรการคำนวณเหมือนแผลไฟไหม้ (เช่น Parkland
formula) แต่ควรให้ IVF เหมือนการรักษา major
crush injuries หรือ rhabdomyolysis โดยติดตาม
physiologic parameter (HR, BP, UO) ให้ urine output
> 100 mL/h (1.5-2 mL/kg/h ในเด็ก) และติดตาม
electrolytes (โดยเฉพาะ K) ทุก 2-4
ชั่วโมง
- ระวังภาวะ abdominal
compartment syndrome หลังให้ IVF และภาวะ cerebral
salt wasting หลัง lightning injury
- คอยติดตามและรักษา
compartment
syndrome, rhabdomyolysis และ renal failure
- การรักษาอื่นๆเช่นเดียวกับ
thermal
burn เช่น Stress ulcer prophylaxis (เสี่ยงต่อ
Curling ulcer), NG tube ถ้ามี bowel ileus
- Pregnancy
GA > 20 wks. ให้ทำ fetal heart rate และ
uterine activity monitoring อย่างน้อย 4 ชั่วโมง
- Oral
injury ในเด็กจากการที่เด็กไปอมปลายสายไฟ
มักเกิดแผลบริเวณ lateral commissure, tongue หรือ alveolar
ridge ในระยะแรกอาจไม่มีเลือดออก ให้ทา ATB ointment แต่อาจมี severe bleeding จาก labial artery ได้หลัง 5 วัน-2 สัปดาห์
ต้องสอนให้คนดูแลรู้จักวิธีหยุดเลือด และนัด F/U แพทย์เฉพาะทางเพื่อป้องกัน
deforming scar
Disposition
- Low-voltage
injuries (< 600 V) สามารถ D/C ได้ ถ้าเป็นแค่ไฟบ้าน
(220 V AC) ตรวจร่างกาย และ ECG ปกติ
ส่วนในรายที่ยังรู้สึกไม่ปกติหรือพบ ECG ผิดปกติ
ให้สังเกตอาการ 6 ชั่วโมง แล้วประเมินซ้ำ
- Admit
ในรายที่เป็น high-voltage injuries (> 600 V) และในรายที่เป็น low-voltage injuries ร่วมกับ burn
wound หรือมีความผิดปกติอื่นๆ (chest pain, palpations, LOC,
confusion, weakness, dyspnea, abdominal pain, vascular compromise, abnormal ECG/CPK/urine
myoglobin)
Ref: Tintinalli ed8th,
Up-to-Date
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบ