ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
HIV
- สารคัดหลั่งที่ติดเชื้อได้ ได้แก่ น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด น้ำไขสันหลัง น้ำในข้อ น้ำในช่องปอด น้ำในช่องท้อง น้ำในช่องหัวใจ น้ำคร่ำ และหนอง
- น้ำมูก น้ำลาย น้ำตา เหงื่อ เสมหะ อาเจียน อุจจาระ และปัสสาวะ ถ้าไม่เห็นการปนเปื้อนเลือดด้วยตาเปล่า ถือว่ามีจำนวนเชื้อไม่เพียงพอต่อการถ่ายทอดสู่ผู้อื่น
- การสัมผัสเชื้อและความเสี่ยง ได้แก่
- การบาดเจ็บผ่านผิวหนัง (percutaneous
injury) เช่น เข็มตำ มีดบาด
(เสี่ยง 0.3%)
- การสัมผัสเยื่อบุ (contact
of mucous membrane) เช่น เลือดกระเซ็นเข้าตา ปาก (เสี่ยง
0.09%)
- การสัมผัสผิวหนังที่ไม่ปกติ (contact of
non-intact skin) ได้แก่ ผิวหนังที่มีบาดแผลหรือผิวหนังที่มีผื่นแพ้ ผิวหนังอักเสบ (dermatitis) (เสี่ยง
< 0.09%)
- การสัมผัสผิวหนังปกติ ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
Investigation:
- Source:
Anti-HIV, HBsAg, Anti-HCV
- Exposure: Anti-HIV, HBsAg, Anti-HBs, Anti-HCV, CBC, Cr, ALT
**2
ตรวจ
anti-HIV ในรายที่
anti-HCV positive ที่ 6
เดือน
เพราะพบ delayed HIV seroconversion ได้;
3-5 ตรวจเมื่อมีอาการสงสัย เช่น anti-HIV
ถ้ามีไข้
ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่น หรือตรวจ CBC, Cr, SGPT ถ้ามี
N/V ผื่น หรือตรวจ HBsAG
ถ้ามีอาการของ
acute hepatitis; 6 ตรวจ
HBsAg และ anti-HCV ถ้าแหล่งโรคมี
hepatitis B หรือ C;
7 ถ้าทราบว่าเป็น positive
มาก่อนไม่ต้องตรวจซ้ำ
แนวทางการจัดการ
- ถ้ามีข้อบ่งชี้ในการให้ HIV oPEP ให้เริ่มยาเร็วที่สุด (< 1-2 ชั่วโมง) ไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังสัมผัส และต้องกินยาจนครบ 4 สัปดาห์
- ติดต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญภายใน 3 วัน
สูตรยา
- ยาต้านไวรัส 3 ชนิดเป็นเวลา 28 วัน โดยยาที่แนะนำ ได้แก่
- Bictegravir-emtricitabine-tenofovir alafenamide (50/200/25) 1 tab PO OD หรือ
- (Dolutegravir 50 mg PO OD หรือ Raltegravir 400 mg PO BID) ร่วมกับ (Tenofovir-DF + Emtricitabine (TDF/FTC) หรือ tenofovir alafenamide + Emtricitabine (TAF/FTC)) แนะนำในหญิงตั้งครรภ์
- ถ้า GFR < 60 mL/min ให้หลีกเลี่ยง TDF; GFR < 30 ให้ integrase inhibitor + dose reduced zidovudine + lamivudine
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น