สารบัญ

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

HIV Pre-exposure prophylaxis (PrEP)

HIV Pre-exposure prophylaxis (PrEP)
  • ผู้ที่เหมาะต่อการให้ PrEP ได้แก่
    • ผู้มีคู่ผลเลือดบวก (ยังตรวจพบเชื้อไวรัสในเลือด) และไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
    • ผู้ที่มาขอรับ Post-Exposure Prophylaxis (PEP) อยู่เป็นประจำโดยไม่สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงลงได้
    • ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
    • ชายหรือหญิงที่ทำงานบริการทางเพศ
    • ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดภายใน 3 เดือน
    • ผู้ต้องขังที่เป็นผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด
    • ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือนที่ผ่าน
  • ก่อนเริ่มยา PrEP ให้ประเมิน
    • อาการของการติดเชื้อ HIV และตรวจหา HIV (ตรวจ NAT หรือนัดมาตรวจซ้ำจนแน่ใจว่าไม่ติดเชื้อ) ตรวจที่ 1, 3 เดือนและทุก 3 เดือน
    • Cr (ไม่เริ่มยาถ้า GFR  < 60) ตรวจทุก 6 เดือน
    • HBsAg, anti-HBs: ถ้า negative ทั้งสองอย่างให้ HepB vaccine, หรือถ้า HBsAg positive ให้นัดตรวจซ้ำที่ 6 เดือน (HBsAg กลายเป็น negative เองได้ > 95%) ถ้ายัง positive ให้ตรวจ ALT ทุก 6 เดือน (ถ้าไม่มีความเสี่ยงและจะหยุดยา แต่ ALT ผิดปกติ ต้องให้ TDF หรือ TDF/FTC ต่อ) และคัดกรองภาวะตับแข็งด้วย AST to Platelet Ratio Index (APRI) score (ถ้า > 1 และจะหยุดยา ต้องให้ TDF หรือ TDF/FTC ต่อ) [ถ้ามี cirrhosis ต้องคัดกรองหา HCC ด้วยในชาย > 40 ปีและหญิง > 50 ปี หรือมีญาติสายตรงเป็น HCC ให้ทำ US + AFP ทุก 6-12 เดือน]
    • UPT: ให้ PrEP ก่อน > 1 สัปดาห์และ 4 สัปดาห์หลังมีเพศสัมพันธ์ช่วงไข่ตก (ไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัย); หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรให้กินยาถ้าสามียังมีเชื้อในเลือดหรือมีความเสี่ยงแต่ไม่ยอมตรวจเลือด
    • คัดกรอง STI (โดยเฉพาะ syphilis) ทุก 6 เดือน
  • ให้ TDF/FTC 300/200 mg วันละครั้ง จะเริ่มมีประสิทธิภาพหลังกินยา 7 วัน ติดตามผลข้างเคียงที่ 1, 3 เดือนและทุก 3 เดือน (N/V จะดีขึ้นใน 3-4 สัปดาห์; bone density ลดลง และ Cr เพิ่มขึ้น แต่จะกลับเป็นปกติหลังหยุดยา)
  • ถ้าไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงแล้ว ให้หยุดยาหลัง 4 สัปดาห์ (หลัง window period) และตรวจหา HIV ก่อนหยุดยาทุกครั้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น