ส่วนใหญ่เกิดจากกลุ่ม human enteroviruses species A ได้แก่ Coxsackiesviruses A (serotypes 2-8, 10, 12,14, 16) และ Enteroviruses 71
ในเวชปฎิบัติพบได้บ่อยว่าเด็กจะมา present ด้วย painful oral ulcers ก่อนที่จะมี skin lesions ที่มือและเท้า 1-2 วัน ส่วนใหญ่แล้วโรคมือ เท้า ปากจะหายได้เองใน 7-10 วัน
ต้องการเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น ปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดคือ
การที่เจ็บแผลในปากแล้วกินไม่ได้จนเกิดภาวะ dehydration
แต่มีเด็กบางส่วนที่มีอาการรุนแรง (พบว่าเกิดจาก Enteroviruses 71) ซึ่งในระยะแรกอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แล้วอาการทรุดลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น เกิด CNS
complications (aseptic meningitis, encephalitis, acute flaccid paralysis), ANS
dysfunction จนกระทั่งเกิด fatal cardiopulmonary failure ได้ โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรู้ว่าผู้ป่วยรายใดมีความเสี่ยงที่ตัวโรคจะมีอาการรุนแรง
และต้องการ admit ที่โรงพยาบาล
ปัจจัยเสี่ยงต่อ CNS
involvement ที่ไม่จำเพาะได้แก่ ไข้ > 38.5 ºC หรือนาน >3 วัน อาเจียน ซึม กระสับกระส่าย
อาการที่มีความจำเพาะมากกว่าได้แก่ myoclonic jerk (ระยะแรกจะพบช่วงหลับ),
tremor, truncal ataxia, “wandering eyes” (ตาลอยไปมา), CN
palsy
เมื่อโรคดำเนินไปมากขึ้นจะมีอาการของ ANS
dysregulation เช่น persistent resting tachycardia,
hypertension, profuse sweating และ cardiopulmonary failure
เช่น mottled skin, dyspnea/tachypnea
Lab
investigation ที่สำคัญได้แก่ CBC (จะพบ leucocytosis,
thrombocytosis (platelet > 4 x 105 /mm3)), hyperglycemia, cardiac
marker, H/C, CSF pleocytosis (พบความผิดปกติก่อนที่จะมีอาการทาง CNS),
echocardiography (ในระยะที่มี ANS dysfunction จะพบ poor cardiac function ได้), MRI (high
signal intensities on T2 weighted images in the dorsal pons, medulla, midbrain,
dentate nuclei of the cerebellum)
Treatment
เด็กที่มีแต่ mucocutaneous
lesion โดยไม่มีปัจจัยเสี่ยงสามารถให้กลับบ้านได้ แนะนำ warning
sign และนัด F/U ทุกวันอย่างน้อย 7 วันหลังจากเริ่มมีอาการ
ให้การรักษาตามอาการ ให้ยากันชักถ้าผู้ป่วยชัก ในรายที่ Frequent myoclonic jerks สามารถรักษาโดยการให้ยา
sedation (midazolam) +/- anticonvulsants (e.g. phenytoin)
Early
intubation ในรายที่กระสับกระส่าย สับสน หรือมี respiratory
abnormalities, persistent tachycardia, poor tissue perfusion, hypoxemia, fluctuating
oxygen-saturation levels
Hemodynamic
monitoring ได้แก่ HR, BP, ABG, echocardiography เพื่อเป็นแนวทางในการให้ IV fluid และ inotrope
ยาบางอย่างที่มีข้อมูลว่าได้ประโยชน์ในรายที่อาการรุนแรงเช่น
IVIG, Milronone เป็นต้น
Ref: http://www.wpro.who.int/publications/docs/GuidancefortheclinicalmanagementofHFMD.pdf
Ref: http://www.wpro.who.int/publications/docs/GuidancefortheclinicalmanagementofHFMD.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น