วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ED crowding

Emergency Department Crowding
บทความนี้ดัดแปลงมาจาก Improving Patient Flow and Reducing Emergency Department Crowding โดย Megan McHugh, PhD และคณะ เนื่องจากปัญหานี้พบได้ทั่วไปในรพ.รัฐบาลทั่วประเทศมีคนไข้ล้นรพ.เกินกว่าที่จะรับได้ และในรพ.ขนาดใหญ่จะมีปัญหาเรื่องที่ผู้ป่วยในต้องรอเตียงที่ห้องฉุกเฉินเป็นเวลานาน ปัญหาผู้ป่วยล้นห้องฉุกเฉินทำให้ต้องส่งผู้ป่วยไปยังรพ.ที่ไกลกว่าเดิม การที่ปัญหาผู้ป่วยล้นห้องฉุกเฉินจำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการเป็นอันดับแรกๆก็เพราะว่า  
1.      ผลต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วย เพราะปกติสภาพการทำงานในห้องฉุกเฉินก็มีความเครียดและมีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว และการที่มีผู้ป่วยจำนวนมากจึงเป็นความเสี่ยงให้เกิดความผิดพลาดที่มากขึ้น ผู้ป่วยต้องรอพบแพทย์นานขึ้น ผู้ป่วยต้องนอนรอเตียงยู่ที่ห้องฉุกเฉินนานขึ้น รถฉุกเฉินต้องเปลี่ยนไปส่งผู้ป่วยไปยังรพ.ที่ไกลกว่าเดิม
2.      ผลทางการเงิน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งกลับก่อนเพราะรอตรวจไม่ไหว ทำให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรพ. และการที่รถฉุกเฉินต้องเปลี่ยนไปส่งผู้ป่วยไปยังรพ.ที่ไกลกว่าเดิมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น และรพ.ไม่สามารถรับ refer ผู้ป่วยจากรพ.อื่นได้ อาจทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายได้
3.      ผลต่อชื่อเสียงของรพ. ซึ่งห้องฉุกเฉินเปรียบเสมือนหน้าตาของรพ. มีความคาดหวังของชุมชนต่อรพ.ว่าในภาวะฉุกเฉินหรือในขณะที่มีภัยพิบัติ รพ.จะสามารถปกป้องและให้การดูแลชุมชนได้ นอกจากนั้นแพทย์หรือคลินิกยังส่งผู้ป่วยมาที่ห้องฉุกเฉินด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น นอกเวลาทำงาน โรคมีความซับซ้อนหรือมีปัญหาด้านการเงิน เป็นต้น

จากงานวิจัยเรื่องผู้ป่วยล้นห้องฉุกเฉินในหลายปีที่ผ่านมา ทำให้สรุปได้ว่าการแก้ปัญหานี้โดยทำให้เกิดความลื่นไหลในกระบวนการดูแลผู้ป่วยเกิดขึ้น ไม่ใช่เฉพาะในห้องฉุกเฉินแต่รวมถึงทั้งระบบในรพ. 

Patient Flow Team
จุดสำคัญของความสำเร็จในการแก้ปัญหานี้ก็คือการตั้งทีมจากสหสาขาวิชาขึ้นมา ซึ่งจะทำให้เกิดแนวคิดและความรู้ที่หลากหลาย ทีมควรจะมีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ เช่นสัปดาห์ละครั้ง
สมาชิกทีมประกอบด้วย
·       ผู้นำทีม (Day-to-day leader) เป็นคนที่สามารถสื่อสารกับทุกคนได้และมีอำนาจเพียงพอในการทำสิ่งต่างๆ มีความรับผิดชอบในการคอยดูว่าภารกิจแต่ละอย่างสำเร็จในเวลาที่ต้องการหรือไม่ กระตุ้นให้แรงจูงใจทีมเวลาทำงาน เป็นคนที่ต้องมีเวลาให้กับภารกิจอย่างพอเพียง
·       ฝ่ายบริหาร (Senior hospital leader) มีอำนาจสั่งการ ช่วยเหลือเวลามีปัญหาเกิดขึ้นเช่นกับหัวหน้าแผนกต่างๆ และสามารถช่วยเหลืออนุมัติทรัพยากรที่จำเป็นต่อภารกิจได้
·       ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Technical leader) คือคนที่สามารถให้ความช่วยเหลือเฉพาะเรื่องได้ เช่น ถ้าภารกิจเกี่ยวกับการเปลี่ยน electronic medical record ก็ต้องได้ฝ่าย IT มาช่วย หรือภารกิจในการทำ fast track ก็อาจต้องอาศัยพยาบาลที่รู้กระบวนการตั้งแต่ admission ถึง discharge เป็นต้น
·       ตัวแทนจากแผนกต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนั้นๆ
·       อื่นๆ ได้แก่ แพทย์ฉุกเฉิน พยาบาลฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน (เสมียน ลงทะเบียน) ฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูล

CEO เองไม่จำเป็นต้องลงมาเป็นผู้นำกลุ่ม แต่สามารถให้การสนับสนุนทีมทั้งการพูดให้ความสำคัญและอนุมัติทรัพยากรต่างๆ

Measuring ED Performance
ขั้นตอนการเก็บข้อมูลประกอบด้วย
การเก็บข้อมูล (Data generation) เมื่อจะเริ่มทำการเก็บข้อมูล (เช่นจาก medical record) มีสิ่งที่ต้องระวังคือ ให้ระวังเรื่อง definition เหตุผลของการเก็บข้อมูล ความร่วมมือในการบันทึกข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูล เพราะฉะนั้นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้เป็นระยะๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง มีการอธิบายข้อเท็จของข้อมูล (Data abstraction) และมีการรายงานข้อมูล (Data reporting)
ในการพัฒนาคุณภาพนั้นไม่มีใครที่รู้ปัญหาดีกว่าคนในระดับปฏิบัติงาน เพราะฉะนั้นผู้นำทีมต้องแสดงให้เห็นว่าคาดหวังให้ทีมในส่วนปฏิบัติงานสามารถเห็นตัวแปรต่างๆได้เอง สามารถวัดคุณภาพ และรายงานผลได้เอง
ปัจจัยที่ส่งผลให้มีการเก็บข้อมูล เพราะข้อมูลนั้น
·       มีการรับรองคุณภาพ (Regulator/Accreditations) เช่น fibrinolytic ต้องให้ใน 30 นาทีเมื่อมาถึงห้องฉุกเฉิน ก็ต้องมีการเก็บข้อมูลตรงจุดนี้
·       มีภารกิจในการเพิ่มผลกำไรหรือเพื่อพัฒนาคุณภาพตามแผนของรพ. หรือเพื่อให้ได้หนังสือรับรอง หรือเพื่อให้ได้รางวัลต่างๆ ซึ่งรพ.จะได้ประโยชน์เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับรพ.อื่น (benchmark)  
·       มีวงจรควบคุมคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act) เป็นส่วนหนึ่งของแผนนั้นๆ จึงต้องมีการเก็บข้อมูลในการทำ PDCA ใน small-scale ก่อนที่จะทำเป็น full-scale ซึ่งข้อนี้สัมพันธ์กับการตั้งทีมเพื่อพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยที่สุดซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

ตัวอย่างการคุณภาพที่รพ. (USA) ต้องรายงานผล (Medicare's Hospital Compare Web site) ในปัจจุบันเช่น
o   Use of Brain Computed Tomography (CT) in the Emergency Department (ED) for Atraumatic Headache
o   Head CT Scan Results for Acute Ischemic Stroke or Hemorrhagic Stroke Patients Who Received Head CT Scan Interpretation Within 45 minutes of Arrival
o   Troponin Results for ED Acute Myocardial Infarction (AMI) Patients or Chest Pain Patients (with Probable Cardiac Chest Pain) Received Within 60 minutes of Arrival
o   Median Time to Pain Management for Long Bone Fracture
o   Patient Left Before Being Seen
o   Door to Diagnostic Evaluation by a Qualified Medical Professional
o   Median Time from ED Arrival to ED Departure for Discharged ED Patients
o   Median Time from ED Arrival to ED Departure for Admitted ED Patients
o   Admit Decision Time to ED Departure Time for Admitted Patients

Identifying Strategies
เมื่อมีทีมปฏิบัติงานและข้อมูลแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการวางแผนว่าจะทำอย่างไรเพื่อลดความแออัดในห้องฉุกเฉิน ควรให้เวลาในขั้นตอนนี้อย่างเพียงพอเพราะว่าการวางแผนที่ดีจะช่วยประหยัดเวลาในระยะยาวมากกว่าการที่ต้องมาปรับเปลี่ยนภายหลัง
·       วิเคราะห์ว่าอะไรคือตัวกีดขวางในกระบวนการดูแลผู้ป่วย เช่น ลงทะเบียนช้า? Triage ช้า? ผล lab ได้ช้า? รอปรึกษาแพทย์เฉพาะทางนาน? เตียงเต็ม? การระบุปัญหาอาจจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมมา ใช้เครื่องมือทางการจัดการ (Lean, Six sigma) แผนผังกระบวนงาน (Process mapping) มาช่วย
·       ดูตัวอย่างการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยจากรพ.อื่นๆหรือดูข้อมูล online ต่างๆอาทิเช่น
o   The Urgent Matters Toolkit http://urgentmatters.org/toolkit.
o   American Hospital Association (AHA) Hospitals in Pursuit of Excellence  http://www.hpoe.org/.
o   Agency for Healthcare Research and Quality (AHRQ) Innovations Exchange http://www.innovations.ahrq.gov/.
o   Institute for Healthcare Improvement (IHI) http://www.ihi.org.
o   Emergency Nurses Association (ENA) http://www.ena.org.
o   American College of Emergency Physicians (ACEP) http://www.acep.org/.
·       พิจารณาทรัพยากรที่มี หลังจากตั้งเป้าหมายแล้วต้องมองตามความเป็นจริงว่าอะไรที่ทำได้บ้าง ที่ทำไม่ได้เพราะขาดทรัพยากรอะไร เช่น ขาดคน ขาดความรู้ ขาดงบประมาณ การให้ข้อมูลแก่ผู้บริหารว่าการพัฒนาที่เกิดขึ้นจะมีประโยชน์ต่อรพ.อย่างไร มีผลต่อผลกำไรของรพ.ที่มากขึ้นอย่างไร จะทำให้ได้รับความช่วยเหลือจากผู้บริหารได้ง่ายขึ้น
·       การเลือกว่าจะวางแผนการอย่างไร อาจจะเลือกคนเดียวหรือผ่านการระดมสมองของกลุ่ม วิธีการเลือกแบ่งเป็น 2 แบบ
o   Top-down strategy selection ระดับหัวหน้าเป็นคนเลือก
o   Bottom-up strategy selection ใช้เครื่องมือทางการจัดการ เช่น Lean มาช่วยจัดการ

Preparing to Launch
เมื่อเลือกแผนการเรียบร้อยแล้ว การนำแผนไปใช้ก็ต้องวางขั้นตอน (Implementation plan) ให้ชัดเจน มีเอกสารเกี่ยวกับเป้าหมาย ทรัพยากร งบประมาณ การวัดคุณภาพ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้
1.      วางเป้าหมายและแผนการ ยกตัวอย่างแบบย่อเช่น
ปัญหา: ปี 2007 มีคนไข้ไม่รอตรวจ 3.5% เป็นคนไข้กลุ่ม ESI 3 ถึง 75% คนไข้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่รอตรวจนานที่สุด
เป้าหมาย: เร่งการดูแลคนไข้ ESI 3 เพื่อให้อัตราการ walk out ลดลง 25% และเวลาในการรอพบแพทย์ < 60 นาที คาดว่าทำได้ใน 3 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่ 8/4/09 ซึ่งควรสำเร็จก่อน 10/9
แผนการ: คนไข้ ESI 3 ที่เกิดปัญหาแยกย่อยเป็น 1) มาด้วยปวดท้อง ปัญหาทางสูติกรรม 2) คนไข้ที่มาระหว่าง  16.00-23.00 จึงวางแผน 2 อย่างคือ
1.         ให้มีแพทย์ที่จุด triage ระหว่าง 16.00-24.00 โดยคนไข้ที่มาด้วยปัญหาปวดท้องหรือสูติกรรม ให้พบแพทย์ที่จุด triage ก่อนเพื่อประเมินและสั่งการตรวจเพิ่มเติม
2.         ให้ย้ายคนไข้กลุ่มนี้ไปที่ OPD ศัลยกรรม (เพราะ OPD ศัลยกรรมปิดหลัง 16.00 .) ให้ผู้ช่วยแพทย์ดูแลโดยประสานกับแพทย์ที่จุด triage
·       ให้แม่บ้านทำความสะอาดบริเวณ OPD ศัลยกรรม
·       ED รับผิดชอบในการจัดหาอุปกรณ์จำเป็นที่ต้องใช้
·       ED จัดหาพยาบาลคอยช่วยเหลือคนไข้บริเวณนี้ การรักษาติดต่อกับแพทย์ที่จุด triage
·       ให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยตลอดเวลา
·       แจ้งแผนการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบ
·       เมื่อเริ่มแผนงานให้เก็บข้อมูล ทบทวน และมีกระบวนการ feedback
2.      ขั้นตอนการทำงาน ยกตัวอย่างแบบย่อเช่น
สมาชิกทีม
ชื่อ
แผนก
บทบาท
Summer
Emergency
Project director
Winter
Administration
Senior leader
Autumn
Emergency
Nurse, quality manager
Spring
IT
System Analyst
ปัญหาที่คาดว่าจะพบ: การขอใช้พื้นที่ OPD ศัลยกรรม, ต้องการคนเพิ่ม ได้แก่แพทย์ พนักงานเคลื่อนย้าย

ขั้นตอนการทำงาน
กิจกรรม
คนรับผิดชอบ
กำหนด
ติดต่อขอใช้พื้นที่ OPD ศัลยกรรม
Summer
3/1/09
จ้างแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยเพิ่ม
Summer
4/1/09
ซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นเพิ่ม
Summer
6/1/09
ติดต่อแม่บ้าน/ยาม
Summer
6/1/09
เขียน policy สำหรับแพทย์
Summer, Autumn
6/1/09
นิเทศงานพยาบาลและเจ้าหน้าที่
Autumn
6/1/09

Communication strategy
บอกใคร
บอกอะไร
ใครรับผิดชอบ
Administration
Implementation plan, policies, procedures, timelines
Summer
ED physician, nurse
Implementation plan, policies, procedures, timelines, expectations
Autumn
Support staff
Implementation plan, policies, procedures, timelines, expectations
Summer
หลังจากวางแผน (Plan) ให้เริ่มจาก small-scale ก่อนเช่น เริ่ม 1 วัน/สัปดาห์ (Do) ทำการเก็บข้อมูล (Check) พิจารณาดูว่าจะทำเป็น full-scale หรือไม่ (Act)
3.      ประมาณเวลาและค่าใช้จ่าย
ประมาณเวลาที่ใช้
บทบาท
ชื่อ
ชม./สัปดาห์
จำนวนสัปดาห์
รวมเวลาที่ใช้
บริหาร



13
อบรมงาน



35
จัดระบบลงทะเบียน



4
วิเคราะห์ข้อมูล



13

ทรัพยากรที่ต้องใช้
ทรัพยากร
ประมาณค่าใช้จ่าย
เตียงตรวจภายใน
12,000 บาท
กั้นบริเวณสำหรับแพทย์ที่จุด triage
8,000 บาท
ค่าแพทย์+เจ้าหน้าที่
300,000 บาท

การอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ชื่อ
ประเด็น
เวลาที่ส่งเรื่องขอ
เวลาที่ได้รับอนุมัติ
ฝ่ายบริหาร
ขอใช้ OPD ศัลยกรรม
2/11/09
2/11/09
แผนกศัลยกรรม
ขอใช้ OPD ศัลยกรรม
2/11/09
2/11/09
ฝ่ายควบคุมการติดเชื้อ
ขอใช้ OPD ศัลยกรรม
2/11/09
2/11/09
4.      การวัดผล
เวลาที่มาถึง ED – เวลาที่ออกจาก ED: Admitted patients
เวลาที่มาถึง ED – เวลาที่ออกจาก ED: Discharged patients
เวลาที่ให้ admit – เวลาที่ออกจาก ED
จำนวนคนไข้ไม่รอตรวจ
เวลาที่มาถึง ED – เวลาที่ได้พบแพทย์
.เมื่อได้แผนทั้งหมดแล้ว แนะนำให้นำแผนให้ฝ่ายบริหารและหัวหน้าแผนกต่างๆเพื่อที่จะได้ทราบว่าทีมกำลังดำเนินการอะไรอยู่ รู้กำหนดเวลาการทำงาน งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้

Facilitating Change, Anticipating Challenges
เครื่องมือที่ช่วยลดความขัดแย้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเช่น
·       การที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใหญ่ในองค์กรทำให้เกิดความพัฒนาความร่วมมือและปฏิบัติตามอย่างดี
Culture change ó Constant reinforcement of the strategy by leaders
·       ใช้วิธีจูงใจหรือใช้ Lean process มาช่วยให้เห็นความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ให้เห็นคุณค่าของการเปลี่ยนแปลง ให้ความรู้ ความเข้าใจ
Staff resistance, culture change, lack of staffing resources ó Lean
·       เลือกพนักงานที่เต็มใจ ปรับตัวและสามารถทำตามแผนงานใหม่ได้ดีมาเป็นตัวแทนทดลองปฏิบัติงาน และจะช่วยโน้มน้าวพนักงานคนอื่นในภายหลังได้อีกด้วย
·       การเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพทำให้เห็นปัญหาได้อย่างชัดเจน และยังแสดงให้เห็นผลของการเปลี่ยนแปลงได้อีกด้วย
Lack of staffing resources, Staff resistance  Robust data collection
·       การประเมินความต้องการทรัพยากรตามความเป็นจริง ไม่ใช่การย้ายทรัพยากรที่จำเป็นของจุดอื่นมาใช้แทน
·       การให้เวลาในการศึกษาอบรมอย่างเพียงพอ ช่วยให้เกิดความเข้าใจกระบวนการทำงานใหม่อย่างชัดเจนจะช่วยประหยัดเวลาในระยะยาว และยังช่วยลดการต่อต้านที่เกิดขึ้น ทั้งจากปริมาณงานที่มากขึ้นหรือการต้องเปลี่ยนจากกระบวนการทำงานที่คุ้นเคยอีกด้วย
Staff resistant ó Staff education
·       ผู้นำทีมต้องติดต่อสื่อสารกับพนักงานอยู่เสมอ เพื่อปรับแต่ง แก้ไขรายละเอียดแผนงาน
Staff resistant ó Post-implementation adjustments reflecting

Sharing Results
แบ่งปันผลการดำเนินงานสู่ภายในและภายนอกโรงพยาบาล เป็นการสร้างวัฒนธรรมความโปร่งใสและเปิดเผยขององค์กร และยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยอีกด้วย ภายนอกรพ.เช่น สัมมนา เขียนผลงานลงวารสาร หนังสือพิมพ์ blog website ของสมาคมต่างๆเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น