วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การดูแลผู้เยาว์ในห้องฉุกเฉิน

การดูแลผู้เยาว์ในห้องฉุกเฉิน

ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตามกฎหมายไทยกำหนดไว้ที่อายุ 20 ปี ในการรักษาจำเป็นต้องได้รับการยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ยกเว้น
  • กรณีฉุกเฉินหรือเร่งด่วน แพทย์สามารถให้การรักษาไปก่อนโดยยึดถือประโยชน์ของผู้เยาว์เป็นหลัก
  • ผู้เยาว์ที่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย เช่น การสมรส

ในต่างประเทศผู้เยาว์ (อายุ > 14 ปี) ที่มีวุฒิภาวะ (mature minor) สามารถตัดสินใจเรื่องการรักษาได้เอง ถ้าการรักษานั้นทำให้ผู้เยาว์ได้ประโยชน์และมีความเสี่ยงต่ำ สำหรับประเทศไทยอาจเทียบเคียงได้กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ให้ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมที่สมควรกับฐานะของตน ซึ่งถ้าเป็นการรักษาทั่วๆไป ผู้เยาว์ก็อาจให้ความยินยอมได้เอง และผู้เยาว์ก็มีความรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษานั้นด้วย

การตรวจรักษาที่ในบางประเทศอนุญาตให้ผู้เยาว์สามารถยินยอมได้เอง เช่น การตรวจหา STDs, prenatal/pregnancy care, รักษา alcohol/substance abuse, mental health, sexual/physical abuse

ในทางกลับกันถ้าการรักษาใด (non-emergency) ที่ผู้ปกครองตกลงให้ทำ แต่ผู้เยาว์ที่มีอายุหรือมีวุฒิภาวะไม่ยินยอมให้ทำ ก็ควรที่จะพิจารณาตามความเห็นของผู้เยาว์

แพทย์อาจไม่ทำตามการตัดสินใจของผู้ปกครอง เช่น ถ้าแพทย์พิจารณาดูแล้วว่าผู้ปกครองไม่มีความสามารถในการตัดสินใจ (parent’s capacity) เช่น อยู่ในภาวะมึนเมา หรือ ผู้ปกครองปฏิเสธการรักษาซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายหรือความทุกข์ทรมานแก่ผู้เยาว์


Ref: Tinitinalli ed8th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น