Anxiety disorders
เป็นความผิดปกติที่ประกอบด้วยความกลัว (fear)
และความวิตกกังวล (anxiety) มากเกินเหตุ
ความกลัว (fear) หมายถึงการตอบสนองทางอารมณ์ต่อการคุกคามที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
มี autonomic arousal ที่จำเป็นต่อการสู้หรือหนี (fight
or flight) ส่วนความวิตกกังวล (anxiety) จะเกี่ยวกับการคาดการต่อการคุกคามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับ muscle tension และการมีพฤติกรรมเตรียมพร้อมรับหรือหลีกหนีต่ออันตรายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
สาเหตุของ anxiety อาจเกิดจาก psychological, physical, substance abuse disorders หรือผสมกัน
การวินิจฉัย
- อาจถามคัดกรองเบื้องต้น เช่น “คุณเคยรู้สึกตกใจกลัวอย่างมาก เป็นเวลาไม่กี่วินาทีหรือไม่กี่นาที ซึ่งมีอาการใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก เวียนศีรษะร่วมด้วยหรือไม่”
- ซักประวัติเพื่อหา stressful situations ที่อาจจะกระตุ้นให้เกิดอาการ
- พิจารณาสาเหตุจากโรคทางกายที่ร้ายแรงก่อน เช่น AMI, PE, hypoglycemia, hypoxia, tachyarrhythmia, thyroid storm, CVA
- ยาหลายอย่างทำให้เกิดอาการของ anxiety ได้ เช่น corticosteroids, neuroleptics, bronchodilators, decongestants, caffeine, nicotine, cocaine, amphetamines, BZD/opiates/SSRI/SNRI/alcohol withdrawal
- พบโรคทางจิตเวชอื่นๆร่วมกับ anxiety ได้บ่อย โดยเฉพาะ depression
- ดูแลเรื่อง suicidal risk, domestic violence, sexual abuse ที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้
Generalized anxiety disorder
มีอาการวิตกกังวลอย่างมากเกินไป
ต่อเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นในวันส่วนใหญ่ อย่างน้อย 6
เดือน ประกอบด้วย > 3/6 อาการ คือ
- กระสับกระส่าย
- อ่อนเพลียง่าย
- ไม่มีสมาธิ สมองไม่ทำงาน (blank)
- หงุดหงิด
- ปวดเมื่อย ตึงกล้ามเนื้อ
- มีปัญหาในการนอน (นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ หลับไม่สบาย)
Panic disorder
มีความกลัวหรือรู้สึกไม่สบายอย่างรุนแรง
เกิดขึ้นซ้ำๆอย่างไม่คาดคิด
จะมีอาการทันทีทันใดและเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุดภายในเวลาไม่กี่นาที เป็นนานได้ถึง 1
ชั่วโมง มีอาการ > 4/13 ข้อ ดังนี้
- ใจสั่น
- เหงื่อแตก
- ตัวสั่น
- หายใจไม่สุด หายใจเหนื่อย
- รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกที่คอ
- เจ็บหรือแน่นหน้าอก
- คลื่นไส้ ไม่สบายท้อง
- เวียนศีรษะ ทรงตัวไม่อยู่ เป็นลม
- หนาวสั่น หรือ รู้สึกร้อน
- ชา หรือ รู้สึกยิบๆซ่าๆ (tingling sensation)
- รู้สึกว่ากายของตนเหมือนไม่ใช่ของตน (depersonalization) รู้สึกเหมือนกับว่าสิ่งที่ประสบไม่ใช่เรื่องจริง (derealization)
- กลัวว่าจะเสียการควบคุมตนเอง
- กลัวว่าจะตาย
หลังจากนั้นจะมีความรู้สึกกังวล >
1 เดือน ว่าจะเกิด panic attack หรือกลัวว่าจะเสียการควบคุมตนเอง
กลัวตาย กลัวเป็นบ้า หรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยง panic
attack เช่น ไม่ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
โรค panic อาจสัมพันธ์กับโรคทางกายหลายอย่าง
เช่น asthma, hypertension, interstitial cystitis, migraine headache,
cardiovascular disease; แต่ความสัมพันธ์กับ mitral valve
prolapsed ยังไม่ชัดเจน
โรคอื่นๆ เช่น separation
anxiety (กังวลใจอย่างมากต่อการแยกจาก
กังวลว่าจะได้รับอันตราย จะป่วย จะประสบอุบัติเหตุ จะโดนลักพาตัว เป็นนาน
> 4 สัปดาห์ในเด็ก หรือ > 6 เดือนในผู้ใหญ่),
selective mutism (ไม่พูดบางสถานการณ์ > 1 เดือน), specific phobia (โรคกลัวเฉพาะอย่าง >
6 เดือน), social anxiety disorder หรือ
social phobia (โรคกลัวการเข้าสังคม
กลัวการถูกเฝ้ามองจากบุคคลอื่น > 6 เดือน), agoraphobia
(โรคกลัวที่ชุมชน ต้องมี > 2 สถานการณ์
เช่น การใช้ขนส่งสาธารณะ อยู่ในที่โล่งแจ้ง อยู่ในสถานที่ปิดล้อม อยู่ในฝูงชน อยู่นอกบ้านคนเดียว),
substance/medication-induced anxiety disorder, anxiety disorder due to another
medical condition, other specified anxiety disorder, unspecified anxiety
disorder (เช่น ใน ER ที่ยังไม่ได้ข้อมูลเพียงพอในการวินิจฉัย)
Trauma- and Stressor-related disorders
โรคในกลุ่มนี้ ได้แก่ reactive
attachment disorder (เด็กไม่หาการปลอบประโลมจากคนเลี้ยงเมื่อเกิดความทุกข์
เกิดในเด็กมีประสบการณ์ขาดการตอบสนองทางอารมณ์จากคนเลี้ยงอย่างรุนแรง จะมีความผิดปกติทางสังคมและอารมณ์),
disinhibited social engagement disorder (เด็กไม่ลังเลที่จะเข้าหาและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ไม่คุ้นเคย
เกิดในเด็กมีประสบการณ์ขาดการตอบสนองทางอารมณ์จากคนเลี้ยงอย่างรุนแรง), posttraumatic
stress disorder (PTSD), acute stress disorder, adjustment
disorders (มีอารมณ์หรือพฤติกรรมซึ่งตอบสนองต่อสิ่งที่กระตุ้น (ให้เกิดความตึงเครียด) ทำให้เกิดความทุกข์อย่างมากผิดปกติ
อาการเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนนับจากเริ่มมีสิ่งกระตุ้น
จะมีอาการไม่เกิน 6 เดือนหลังจากสิ่งกระตุ้นหมดไป)
ซึ่งโรคในกลุ่มนี้จะมีความเกี่ยวเนื่องกับหลายภาวะทั้ง
anxiety
disorders, obsessive-compulsive and related disorders และ dissociative
disorders ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ posttraumatic stress
disorder และ acute stress disorder
Posttraumatic stress disorder
(> 1 เดือน) หรือ acute stress
disorder (3 วัน-1 เดือน)
- ประสบกับเหตุการณ์เสี่ยงตาย บาดเจ็บรุนแรง หรือ การล่วงละเมิดทางเพศ ในทางใดทางหนึ่งต่อไปนี้
- ประสบเหตุการณ์นั้นโดยตรง
- ได้เห็นเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นกับผู้อื่น
- ได้รู้ถึงเหตุการณ์นั้นเกิดกับญาติสนิท เพื่อนสนิท
- ได้รับรู้รายละเอียดของเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ เช่น ตำรวจที่รับรู้รายละเอียดการทารุณกรรมเด็กซ้ำๆ
- มีการแทรกเข้ามารบกวนใจ (intrusion symptoms) ซึ่งสัมพันธ์กับเหตุการณ์นั้น อย่างน้อย 1/5 ข้อ ได้แก่
- มีความคิดถึงเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นมาเองซ้ำๆ
- ฝันร้ายซ้ำๆ ที่เนื้อหาหรือความรู้สึกเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น
- รู้สึกว่ากลับไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นอีก (dissociative reaction, flashback)
- รู้สึกเครียดอย่างมาก เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งเร้าที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น
- มีปฏิกิริยาทางกายอย่างมากเวลา เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งเร้าที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น
- มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงต่อสิ่งเร้า (avoidance symptoms) ที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์นั้น อย่างน้อย 1/2 ข้อ
- หลีกเลี่ยงความจำ ความคิด ความรู้สึก ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น
- หลีกเลี่ยงคน สถานที่ การพูดถึง กิจกรรม สิ่งของ สถานการณ์ที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น
- มีการเปลี่ยนแปลงของการรับรู้และอารมณ์ (negative cognitions & mood) ที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์นั้น อย่างน้อย 2/7 ข้อ
- ไม่สามารถระลึกถึงจุดสำคัญของเหตุการณ์ที่ประสบมา (dissociative amnesia)
- เกิดความเชื่อหรือความคาดหวังในแง่ลบกับตนเอง คนอื่น หรือ กับโลก เช่น “ฉันเป็นคนไม่ดี”, “จะเชื่อใครไม่ได้อีก”, “โลกนี้มีแต่สิ่งอันตราย”
- เกิดการรับรู้ที่บิดเบี้ยวไปเกี่ยวกับสาเหตุหรือผลที่ตามมาของเหตุการณ์นั้น นำไปสู่การโทษตนเองหรือโทษคนอื่น
- มีภาวะอารมณ์ที่ไม่ดีเรื้อรัง เช่น กลัว โกรธ รู้สึกผิด ละอาย
- ไม่สนใจร่วมกิจกรรมที่สำคัญ
- มีอารมณ์เฉยชา เหินห่างต่อผู้อื่น
- ไม่สามารถทำให้อารมณ์ที่ดีกลับมาได้ เช่น ไม่สามารถรู้สึกมีความสุข พอใจ รู้สึกรักได้อีก
- อาการของความตื่นตัว (arousal symptoms) ที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์นั้น อย่างน้อย 2/6 ข้อ
- หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย
- พฤติกรรมสะเพร่า หรือ ทำให้เกิดอันตรายต่อตนเอง
- จับจ้องระวังภัยมาก (hypervigilance)
- สะดุ้งตกใจง่าย
- ขาดสมาธิ
- มีปัญหาในการนอน (นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย)
การรักษา
- BZD ระยะสั้นๆ (lorazepam 0.5-1 mg PO TID, clonazepam 0.5-1 mg PO BID, alprazolam 0.25-1 mg PO TID-QID, diazepam 2-10 mg PO BID-QID) เพื่อควบคุมอาการ ซึ่งข้อจำกัดของการให้ BZD คือเรื่อง abuse และ dependence; ระวังการใช้ในผู้สูงอายุ (falling, cognitive slowing, paradoxical agitation, polypharmacy)
- SSRI (sertraline, paroxetine, escitalopram, fluoxetine), SNRI (venlafaxine, duloxetine) โดยปกติให้โดย primary care physician หรือ psychiatrist
- TCA, MAOI ใช้เมื่อ treatment failures ให้ในขนาดต่ำกว่าการรักษา depression
Ref: Tintinalli ed8th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น