วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Bipolar disorder

Bipolar (โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว) and related disorders

ปัจจุบันถือว่าโรค bipolar อยู่ระหว่างภาวะ psychoses และภาวะ depressive disorders โดยแยกออกมาเป็นอีกกลุ่มหนึ่งต่างหาก

ซักประวัติ
  • ลักษณะของโรคกลุ่มนี้คือ มีช่วง manic หรือ hypomanic สลับกับช่วง depressive episode
  • โดยปกติจะดูเป็นคนสนุกสนาน แต่อาจโกรธฉุนเฉียวได้ ถ้าโดนขัดความตั้งใจ
  • ให้พิจารณาหาสาเหตุทางกายอื่นๆ เช่น thyroid disease, acute toxic ingestions (cocaine, stimulants), drugs withdrawal (antidepressants, alcohol, BZD)
  • แยกโรคจากโรคทางจิตเวชอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายๆกัน เช่น schizophrenia, attention deficit disorder

ลักษณะของ bipolar disease
มีช่วง manic (> 1 สัปดาห์) หรือ hypomanic (> 4 วัน) จะมีอารมณ์คึกคัก หรือหงุดหงิด และมีกิจกรรมหรือพลังงานมาก มีเกณฑ์เอาอย่างน้อย 3 ข้อ (4 ข้อ ถ้าเป็นอารมณ์หงุดหงิด) ได้แก่
  1. ยิ่งใหญ่ (grandiosity)
  2. คิดเร็ว (flight of ideas)
  3. วอกแวก (distractibility)
  4. พูดมาก
  5. กิจกรรมมาก แบบ goal-directed activities (เช่น ทางสังคม ที่ทำงาน โรงเรียน เรื่องเพศ) หรือแบบ psychomotor agitation (เช่น purposeless non-goal-directed activities))
  6. นอนน้อย
  7. ทำเรื่องเสี่ยง เช่น ใช้เงินแบบไม่ยั้งคิด มีความสัมพันธ์ทางเพศแบบไม่รอบคอบ ลงทุนทำธุรกิจแบบไม่ฉลาด

โรคในกลุ่มนี้ได้แก่ bipolar I (manic สลับกับ major depressive episode), bipolar II (hypomanic สลับกับ major depressive episode), cyclothymic (มี hypomanic symptoms แต่ไม่เข้าเกณฑ์ hypomanic episode และมี depressive symptoms แต่ไม่เข้าเกณฑ์ major depressive episode เป็นมาหลายครั้ง > 2 ปี), substance/medication-induced bipolar and related disorder, bipolar and related disorder due to another medical condition, other specified bipolar and related disorder (ยังไม่เข้าเกณฑ์โรคอื่นๆ), unspecified bipolar and related disorder (เช่น ใน ER ที่ยังไม่ได้ข้อมูลเพียงพอในการวินิจฉัย)

การรักษา
  • การรักษาควรให้เป็นหน้าที่ของจิตแพทย์ ยาที่ใช้ เช่น mood stabilizer (lithium, valpoic acid, CBZ), antipsychotic (haloperidol), BZD
  • รักษา acute agitation; อาจให้ยาเดิมในกรณีที่เพิ่งหยุดยาไปไม่นาน


Ref: Tintinalli ed8th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น