วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

Dentoalveolar trauma

Dentoalveolar trauma

Dental fractures
  • Enamel infraction: มีแค่รอยแตกที่ enamel; Tx: F/U dentist
  • Enamel fracture: หักเฉพาะชั้น enamel; Tx: ถ้าพบ fragment ให้เก็บไว้ให้ชุ่มชื้น เพราะทันตแพทย์สามารถเชื่อมติดกับฟันเดิมได้; ถ้าไม่พบ fragment และมี oral lacerations ให้ film soft tissue เพื่อหา FB
  • Enamel-dentin fracture: เมื่อสัมผัสกับอากาศจะมีอาการเสียวฟัน จะเห็นส่วน dentin สีเหลืองครีม เทียบกับส่วน enamel ซึ่งสีขาวกว่า; Tx: ถ้าไม่สามารถ F/U dentist เพื่อ definitive Tx ได้ภายใน 48 ชั่วโมง (จะเสี่ยงต่อ pulpal necrosis) ให้ใช้ glass ionomer dental cement (DenTemp®) ผสมตามคู่มือแล้วทาปิดชั้น dentin ไว้ ถ้าชั้น dentin เหลือ < 0.5 mm (จะเห็นชั้น pulp เป็นสีชมพูข้างใต้ แต่ไม่มีเลือดออก) ให้ทาด้วย calcium hydroxide base (Dycal®) ไว้บางๆก่อนแล้วค่อยตามด้วย glass ionomer   
  • Enamel-dentin-pulp fracture: เมื่อเช็ดฟันจะเห็นเลือดออกจาก pulp; Tx: ให้ปิด pulp ด้วย calcium hydroxide base (Dycal®) ก่อนแล้วปิดชั้น dentin ด้วย glass ionomer, PO analgesic, F/U dentist  
  • Crown-root fracture, Root fracture: เมื่อเคาะฟันจะเจ็บ; Tx: จับให้ส่วน coronal segment อยู่ในตำแหน่งเดิม (film ยืนยันตำแหน่ง) แล้ว stabilize ด้วย flexible splint, F/U dentist ภายใน 24-48 ชั่วโมง, ในบางรายที่เสี่ยงต่อ aspirate อาจต้องเอาส่วน coronal segment ออก


Luxation injuries
  • Concussion: จะเจ็บเมื่อเคาะฟัน แต่ฟันไม่โยก; Tx: NSAIDs, soft diet, F/U dentist
  • Luxations:
    • Subluxations: ฟันโยกได้ อาจมีเลือดออกจาก gingiva แต่ film แล้วฟันไม่เคลื่อนออกจากที่เดิม; Tx: ไม่ต้อง splint
    • Extrusive luxation: ฟันเคลื่อนออกจาก alveolar bone; Tx: film เพื่อดูว่ามี root fracture ร่วมด้วยหรือไม่, ทำ repositioning ให้ฟันอยู่ในตำแหน่งเดิม (อาจต้องทำ local anesthesia) แล้ว stabilize อาจใช้  noneugenol zinc oxide periodontal dressing (Coe-PakTM, Periopak®), F/U dentist ภายใน 24 ชั่วโมง
    • Lateral luxation: ฟันเคลื่อนมาด้านริมฝีปาก (labially) หรือด้านลิ้น (lingually) ร่วมกับ alveolar bone fracture; Tx: ทำ repositioning (จับฟันที่เอียงให้ตรง แล้วทำ axial pressure ให้มาอยู่ในตำแหน่งเดิม), ถ้ามี alveolar fracture เล็กน้อย ควร splint โดย dentist หรือ maxillofacial surgeon; อาจทำ temporary splint ถ้ามีแค่ minimal alveolar fracture
    • Intrusive luxation: ฟันเคลื่อนเข้าไปใน socket ร่วมกับ alveolar bone contusion และ fracture; Tx: รอให้ฟันงอกออกมาเอง หรือทำ orthodontically extrude ถ้าไม่ออกมาเองใน 3 สัปดาห์
  • Avulsion: ควร replant ให้เร็วที่สุด (ตั้งแต่ที่ scene) ให้จับเฉพาะที่ตัวฟัน (crown) ล้างด้วย NSS หรือน้ำสะอาดไม่เกิน 10 วินาที แล้วนำฟันใส่กลับเข้าไปใน socket ทันที
    • ถ้านำฟันส่งรพ.ให้ใส่ใน Hank’s balanced salt solution (Save-A-Tooth®, EMT Tooth Saver®) สามารถรักษา periodontal ligament cell ได้ถึง 4-6 ชั่วโมง รองมาคือ milk, sterile saline, saliva; ในฟันที่หลุด > 20 นาที การแช่ Hank’s solution สามารถทำให้ cell viability กลับคืนสภาพได้
    • เมื่อถึงรพ. ใน Open apex, acceptable media และ dry time < 60 นาที ให้ใส่ minocycline HCl microspheres (ArestinTM) ที่ root หรือแช่ใน doxycycline solution (1 mg/20 mL) นาน 5 นาที
    • ถ้า dry time > 60 นาที ให้แช่ฟันใน 2% stannous fluoride solution 20 นาที
    • ทำ local anesthesia, saline irrigation ใน socket เพื่อ remove blood clot ออก (ไม่จำเป็นมาก)
    • ถ้ามี socket wall fracture ให้ทำ reposition ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม
    • ใส่ฟันลงไปใน socket แล้วกดให้แน่น
    • Stabilize อาจให้ผู้ป่วยกัด gauze ขณะรอทำ permanent stabilization หรืออาจทำ temporary splint แล้วนัด F/U maxillofacial surgeon
    • PO ATB ให้ doxycycline 100 mg PO BID, ในเด็ก < 12 ปี ให้ penicillin VK PO QID (12 mg/kg/dose); tetanus prophylaxis, soft diet x 2 สัปดาห์, แปรงฟันเบาๆ, บ้วนปากด้วย 0.12% chlorhexidine BID

***Primary teeth ห้าม replanting หรือ repositioning เพราะจะเกิดอันตรายต่อ permanent teeth ได้

Soft tissue trauma
  • Oral cavity mucosal lacerations: ดูเรื่อง wound management; ระวังการบาดเจ็บของ Stensen’s duct และ Wharton’s duct
  • Lip lacerations: ดูเรื่อง wound management
  • Frenulum lacerations: repair ใน large maxillary labial frenulum และใน lingual frenulum ใช้ 4-0 chromic gut หรือ Vicryl®
  • Tongue lacerations: simple linear laceration ด้าน dorsum ของ tongue และแผลไม่ได้อ้าออก ไม่ต้อง repair; ถ้าทำ repair ให้ใช้ 4% lidocaine-soaked gauze ใส่ไว้ 5 นาที หรือทำ bilateral lingual nerve block ใน anterior 2/3 ของ tongue ที่ข้าม midline, อาจใช้ dental bite block หรือ Molt mouth prop ช่วยอ้าปาก, ใช้ gauze 4x4 หรือ surgical towel clamps หรือใช้ 0-silk ตักผ่าน anterior tongue ช่วยในการดึงลิ้น, เย็บด้วย 4-0 chromic gut หรือ Vicryl® โดยไม่เย็บขอบแผลให้แน่น ให้มีพื้นที่สำหรับบวม (อาจใส่ hemostat ไว้ระหว่าง suture เพื่อป้องกันไม่ให้เย็บแน่นเกินไป) การผูกปมต้องผูกอย่างน้อย 4 square knot, บ้วนปากด้วย 0.12% chlorhexidine วันละหลายๆครั้ง
  • ในผู้ป่วยที่ on anticoagulant ให้ใช้ 5% tranexamic acid (500 mg ผสมน้ำเป็น 10 mL) 5-10 mL อมไว้ 2 นาที แล้วบ้วนออกเบาๆ งดอาหาร 1  ชั่วโมง ทำซ้ำวันละ 3-4 ครั้ง นาน 1-2 วัน



Ref: Tintinalli ed8th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น