วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Hypertension

Hypertension

นิยาม: ความดันโลหิตปกติ คือ SBP < 120 mmHg และ DBP < 80 mmHg และถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงเมื่อ SBP > 130 mmHg หรือ DBP > 80 mmHg

 

อุบัติการณ์ เริ่มพบความดันโลหิตสูงได้ตั้งแต่อายุ 20 ปี เฉลี่ย 45% ในผู้ชายและ 36% ในผู้หญิงเอเชีย

แนะนำให้ค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ของโรคหัวใจและหลอดเลือด (modifiable CVD risk) ที่มักพบร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การได้รับควันบุหรี่ทั้งทางตรงและทางอ้อม โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน การขาดกิจกรรมทางกาย และการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

การวัดความดันโลหิตให้ถูกต้องประกอบไปด้วย
  1. การเตรียมคนไข้: ไม่ดื่มชา/กาแฟอย่างน้อย 30 นาที ปัสสาวะก่อนวัด นั่งพัก > 5 นาที หลังพิงพนัก เท้าวางกับพื้น ผ่อนคลาย ไม่พูดคุย เอาเสื้อผ้าในตำแหน่งที่จะวัดออก
  2. เทคนิคการวัด: ใช้เครื่องวัดที่ได้มาตรฐาน แขนข้างที่วัดวางบนโต๊ะ ให้กึ่งกลาง BP cuff อยู่ระดับเดียวกับ right atrium (กลางกระดูกสันอก) เลือกขนาด cuff ที่เหมาะสมโดยส่วน bladder คลุมรอบแขนได้ 80%
  3. การวัด: ครั้งแรกให้วัดแขนทั้ง 2 ข้าง โดยเลือก BP ข้างที่สูงกว่า (ปกติจะต่างกันไม่เกิน 20/10) วัดซ้ำห่างกัน 1-2 นาที แล้วหาค่าเฉลี่ย > 2 ครั้งขึ้นไป

JAMA. 2017;318(3):310. doi:10.1001/jama.2017.6670

แนะนำให้วัดความดันโลหิตนอกสถานพยาบาลร่วมด้วย เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและใช้ในการปรับยา โดยใช้เครื่องวัดแบบพกติดตัว (ambulatory BP monitoring; ABPM) หรือเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติที่บ้าน (home BP monitoring; HBPM) โดนให้แนะนำเทคนิคการวัดที่ถูกต้อง โดยแนะนำให้วัด > 2 ครั้งห่างกัน 1 นาทีตอนเช้าก่อนกินยา และตอนเย็นก่อนกินมื้อเย็น ดีที่สุดคือวัดทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละวัน x 2 สัปดาห์หลังปรับยาและสัปดาห์ก่อนวันนัด
  • ถ้า SBP 130-160 mmHg หรือ DBP 80-100 mmHg ให้ค้นหาว่ามีภาวะ white coat hypertension (ความดันโลหิตสูงปลอม ที่จะวัดได้สูงเฉพาะที่รพ.) หรือไม่
  • ถ้า BP สูงกว่าค่าปกติ (SBP 120-129 mmHg หรือ DBP 75-79 mmHg) ให้ค้นหาว่ามีภาวะ masked hypertension (เป็น HT ที่วัดที่รพ.ได้ปกติ แต่วัดที่บ้านได้สูง) หรือไม่
  • ในรายที่เป็น HT ที่ใช้ยา > 3 ชนิด และ BP ที่รพ.ยังสูงกว่าเป้าหมายไม่มาก (5-10 mmHg) ให้ดูว่ามีภาวะ white coat hypertension ร่วมด้วยหรือไม่
  • ในรายที่รักษา HT และวัด BP ที่รพ.ได้ตามเป้าหมาย แต่เกิด target organ damage (TOD) ให้หาว่ามีภาวะ masked uncontrolled hypertension หรือไม่ (ถ้า HBPM พบว่า BP สูงให้ยืนยันด้วย ABPM ก่อน)


การประเมินผู้ป่วย
  • Primary HT โดยทั่วไป BP จะค่อยๆสูงขึ้นช้าๆ มีปัจจัยทางพฤติกรรมที่ทำให้ BP สูง (น้ำหนักขึ้น กินเกลือมาก มีกิจกรรมทางกายลดลง ดื่มแอลกอฮอล์มาก เปลี่ยนลักษณะงานทำให้ต้องเดินทางมากขึ้น) มีประวัติครอบครัวเป็น HT
  • ค้นหา secondary HT เฉพาะในรายที่มีลักษณะให้สงสัย ได้แก่
    • Drug-resistance/induced HT
    • HT ที่เป็นอย่างฉับพลัน หรือเริ่มเป็นก่อนอายุ 30 ปี
    • HT ที่เป็นมากขึ้น หลังจากที่เคยคุมได้ดี
    • เกิด TOD โดยไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของ HT
    • Accelerated/malignant HT
    • เกิด diastolic HT ในคนสูงอายุ (> 65 ปี)
    • มี hypokalemia อย่างรุนแรง หรือ เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ

Secondary HT
  • Renal parenchymal disease (UTI, obstructive symptoms, analgesic abuse, FHx polycystic kidney disease, abnormal UA หรือ serum Cr rising) ส่งตรวจ renal US
  • Renovascular disease (resistant HT เป็นเร็วหรือแย่ลง มี flash pulmonary edema (atherosclerotic) หรือเป็น early-onset HT โดยเฉพาะในผู้หญิง [fibromuscular hyperplasia]; ตรวจร่างกายอาจฟังได้ bruit [abdominal, carotid, femoral]) ส่งตรวจ renal Duplex Doppler US, MRA, abdominal CT
  • Primary Aldosteronism (resistant HT, hypokalemia, มี muscle cramps หรือ weakness ตรวจพบ adrenal mass โดยบังเอิญ มี OSA มีประวัติครอบครัวเป็น early-onset HT หรือ stroke (< 40 ปี); ตรวจร่างกายอาจพบ arrhythmia โดยเฉพาะ atrial fibrillation) ให้ตรวจ plasma aldosterone/renin ratio (แก้ไข hypokalemia และหยุดยา aldosterone antagonist 4-6 สัปดาห์ก่อน)
  • Obstructive sleep apnea (resistant HT นอนกรน หลับได้ไม่ต่อเนื่อง หยุดหายใจขณะหลับ ง่วงนอนตอนกลางวัน; ตรวจร่างกายมี obesity, Mallampati III-IV, ไม่มี normal nocturnal BP fall) ให้ทำ Berlin Questionnaire, Epworth Sleeping Score, overnight oximetry
  • Drug หรือ alcohol induced (sodium-containing antacid, caffeine, nicotine, alcohol, NSAIDs, OCP, cyclosporine, tacrolimus, sympathomimetic, cocaine, amphetamines, neuropsychiatric agents erythropoiesis-stimulating agents, clonidine withdrawal, herb [Ma Huang, ephedra]; ตรวจร่างกายพบลักษณะ sympathomimetic) ตรวจ urine drug screen
  • Others อื่นๆพบได้น้อย ได้แก่ pheochromocytoma/paraganglioma, Cushing’s syndrome, hypo/hyperthyroidism, aortic coarctation, primary hyperparathyroidism, congenital adrenal hyperplasia, mineralocorticoid excess syndromes, Acromegaly

Ix: FPG, Lipid profile, Cr, Na, K, Ca, TSH, UA  

Tx:

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่
  • ลดน้ำหนัก มีเป้าหมายให้ BMI = 18.5-23 โดยอย่างน้อยให้ลดลง > 1 kg ซึ่งสามารถลด BP ลงได้ 1 mmHg ต่อ 1 kg
  • เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ คือ เน้นที่การรับประทานผัก ผลไม้ ข้าวกล้องหรือธัญพืชเป็นหลัก กินนมพร่องไขมัน ลดการกินเนื้อสัตว์ (ไขมันอิ่มตัว)
  • กินเกลือน้อยกว่า 1500 มก./วัน โดยให้ลดเกลือลงอย่างน้อย 25% (1000 มก./วัน)
  • กินอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เป้าหมาย 3500-5000 มก./วัน  ซึ่งพบมากในผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืชต่างๆ; **ยกเว้น CKD หรืออใช้ยาที่ลดการขับโพแทสเซียมจากร่างกาย
  • กิจกรรมทางกาย
    • Aerobic exercise ให้ได้ 65-95% ของ heart rate reserve (HRR = HRmax - HRrest) x 90-150 นาทีต่อสัปดาห์
    • Dynamic resistance ความหนัก 50-80% ของระดับสูงสุดที่ยกได้ 1 ครั้ง (1-rep max) x 10 ครั้ง x 3 ชุด  x 6 รอบ x 3 วัน/สัปดาห์ (90-150 นาทีต่อสัปดาห์)
    • Isometric resistance (hand grip) 30-40% ของระดับสูงสุดที่บีบได้ (maximum voluntary contraction) x 2 นาที/ข้าง x 4 รอบ (พัก 1 นาทีระหว่างรอบ) x 3 ครั้ง/สัปดาห์
  • จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ (เฉพาะคนที่ดื่มอยู่แล้ว) ไม่เกิน 2 drinks/วันในผู้ชายและไม่เกิน 1 drinks/วันในผู้หญิง (1 drinks = 40% alcohol 44 mL, Beer (5%) 355 mL, wine (12%) 148 mL)


ยาลดความดันโลหิต แนะนำให้ยารักษา (ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมข้างต้น) ในรายที่ BP > 140/90 mmHg หรือ BP  เฉลี่ย > 130/80 mmHg ร่วมกับมี 10-year atherosclerotic cardiovascular disease (ASCVD) risk > 10%
  • ถ้ารักษาโดยการใช้ยาให้ประเมินซ้ำทุก 1 เดือน จนกว่า BP จะได้ตามเป้าหมายจึงประเมินทุก 3-6 เดือน
  • ถ้า BP 130-139/80-89 mmHg ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และประเมินซ้ำใน 3-6 เดือน
  • ถ้า BP ปกติ ให้ประเมินซ้ำทุก 1 ปี


การเลือกยา
  • ในคนทั่วไปจะเลือกใช้ยา thiazide, ACEI, ARB, หรือ CCB อย่างใดอย่างหนึ่งก่อนก็ได้ ถ้าเป็น stage 2 HT (> 140/90) แนะนำให้เริ่มยา 2 ชนิด
  • พิจารณาโรคร่วมในการเลือกยา เช่น
    • Stable ischemic heart disease ควรเลือกยากลุ่ม GDMT** beta-blocker, ACEI หรือ ARB ก่อน; **GDMT (guideline-directed medical Mx&Tx) ได้แก่ carvedilol, metoprolol, nadolol, bisoprolol, propranolol, timolol
    • HFrEF แนะนำให้ ACEI หรือ ARB, และ beta-blocker; ไม่แนะนำให้ nondihydropyridines CCB
    • HFpEF แนะนำให้ diuretic ในช่วงที่มี volume overload; หลังจากรักษา volume overload แนะนำให้ ACEI หรือ ARB, และ beta-blocker
    • CKD stage 3 หรือ CKD + albuminuria > 300 mg/d แนะนำให้ ACEI หรือ ARB
    • DM + albuminuria แนะนำให้ ACEI หรือ ARB


ข้อควรรู้ในการเลือกใช้ยา
  • Thiazide-type diuretic ให้ติดตาม Na, K, uric acid, Ca และระวังถ้ามีโรค gout
  • ACEI ไม่ให้ร่วมกับ ARB; เพิ่มความเสี่ยงต่อ hyperkalemia ใน CKD หรือใช้ K supplement หรือ K-sparing drugs; เสี่ยงต่อ ARF ในคนที่มี severe bilateral renal artery stenosis; หลีกเลี่ยงใน pregnancy และห้ามใช้ถ้ามีประวัติ ACEI induced angioedema
  • CCB-dihydropyridines หลีกเลี่ยงใน HFrEF (แต่ amlodipine, felodipine ใช้ได้), สัมพันธ์กับ dose-related pedal edema
  • CCB-nondihydropyridines (verapamil, diltiazem) หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับ beta-blocker และห้ามใช้ใน HFrEF
  • Loop diuretic แนะนำใน symptomatic HF
  • K-sparing diuretic (amiloride) มีผลต่อการลด BP น้อย; พิจารณาใช้ร่วมกับ thiazide ในคนที่มี hypokalemia; หลีกเลี่ยงใน GFR < 45
  • Aldosterone antagonist (eplerenone) แนะนำใน primary aldosteronism และ resistant HT; หลีกเลี่ยง K-sparing diuretic, K-supplement และใน significant renal dysfunction
  • Beta-blockers ไม่แนะนำเป็นยาขนานแรก ยกเว้นถ้ามี IHD หรือ HF (HFrEF แนะนำ bisoprolol, metoprolol, carvedilol); หลีกเลี่ยง noncardioselective (propanolol) ใน reactive airway disease
  • Direct renin inhibitor (aliskiren) ระวังเช่นเดียวกับ ACEI, ARB
  • Alpha-1 blockers (doxazosin) สัมพันธ์กับ orthostatic hypotension โดยเฉพาะในคนสูงอายุ; พิจารณาใช้ใน BPH
  • Central alpha2-agonist (methyldopa) เลือกเป็นชนิดสุดท้ายเพราะมี significant CNS adverse effect โดยเฉพาะในคนสูงอายุ
  • Direct vasodilators (hydralazine) ทำให้เกิด sodium และ water retention และ reflex tachycardia เพราะฉะนั้นจึงให้ร่วมกับ beta-blocker และ diuretic; hydralazine สัมพันธ์กับ drug-induced lupus-like syndrome ในขนาดสูง


เป้าหมาย
  • BP < 130/80 mmHg โดยเฉพาะในคนที่ 10-y ASCVD risk > 10%

 


คำแนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์
  • แนะนำให้เปลี่ยนยาเป็น methyldopa, nifedipine, หรือ labetalol
  • ไม่ควรใช้ยา ACEI, ARB, หรือ direct renin inhibitors


Resistant HT
  • คือ HT ที่ต้องใช้ยา > 4 ชนิด หรือใช้ยา > 3 ชนิด (รวมถึง diuretic) แล้ว BP ยัง > 130/80 mmHg (โดยที่วิธีการวัด BP ถูกต้อง ผู้ป่วยกินยาอย่างสม่ำเสมอ และไม่ได้เป็นจาก white coat effect)
  • ค้นหาและแก้ไขปัจจัยทางพฤติกรรม ได้แก่ ภาวะอ้วน กิจกรรมทางกายน้อย กินแอลกอฮอล์มาก กินเกลือมาก กินอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย
  • หยุดหรือลดยาที่อาจเป็นสาเหตุของ HT ได้แก่ NSAIDs, sympathomimetic, OCP, licorice, ephedra
  • หาสาเหตุของ secondary HT เช่น primary aldosteronism, CKD, renal artery stenosis, pheochromocytoma, OSA
  • ปรับยา ได้แก่ maximize diuretic therapy, + mineralocorticoid receptor antagonist, + ยาอื่นๆที่มีกลไกที่ต่างกัน; + loop diuretic ในผป. CKD และผป.ที่ได้ potent vasodilator (เช่น minoxidil)
  • ส่งต่อ specialist ถ้าสงสัย secondary HT หรือยังควบคุม BP ไม่ได้ใน 6 เดือน


Hypertensive crises
  • คือ SBP > 180 หรือ DBP > 120 ร่วมกับการมี target organ damage (new หรือ worsening)
  • ถ้ามีภาวะ aortic dissection, severe preeclampsia, eclampsia, pheochromocytoma ให้ลด SBP ลง < 140 mmHg ภายในชั่วโมงแรก โดยเฉพาะ aortic dissection ให้ SBP < 120 mmHg
  • ถ้าไม่มีภาวะข้างต้นให้ลด SBP ลง < 25% ในชั่วโมงแรก และถ้าอาการคงที่ให้ลดเหลือ 160/100 mmHg ภายใน 2-6 ชั่วโมง แล้วค่อยๆลดเป็นปกติใน 24-48 ชั่วโมง

IV antihypertensive ได้แก่
  • Nicardipine (5 mg/h titrate 2.5 mg/h q 5 min max 15 mg/h) แนะนำใน ACS, ARF, eclampsia/preeclampsia, perioperative HT, acute sympathetic discharge; ห้ามให้ถ้ามี advance aortic stenosis
  • Nitroglycerine (5 mcg/min titrate 5 mcg/min q 3-5 min max 20 mcg/min) ใช้เฉพาะใน ACS หรือ acute pulmonary edema ห้ามให้ใน volume-depleted patients
  • Sodium nitroprusside (0.3-0.5 mcg/kg/min titrate 0.5 mcg/kg/min max 10 mcg/kg/min ถ้าให้ > 4-10 mcg/kg/min หรือ > 30 นาที อาจให้ thiosulfate เพื่อป้องกัน cyanide toxicity)
  • Labetalol (0.3-1.0 mg/kg/dose max 20 mg slow IV q 10 min หรือ 0.4-1.0 mg/kg/h titrate upto 3 mg/kg/h, total cumulative dose 300 mg in 4-6 h) แนะนำใน acute aortic dissection, eclampsia/preeclampsia

คำแนะนำสำหรับผป. HT ที่ต้องผ่าตัด (elective major surgery)
  • สามารถใช้ยา HT ต่อเนื่องจนถึงวันผ่าตัด โดยเฉพาะถ้าใช้ยา beta-blocker อยู่
  • อาจพิจารณาหยุดยา ACEI, ARB
  • ถ้า SBP > 180 หรือ DBP > 110 ควรพิจารณาเลื่อนการผ่าตัดออกไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น