วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Aeromedical transportation (BCAT) 2/2

Aeromedical transportation: Basic
  • Aircrew medical checkup
  • Flight law/Aeromedical regulation
  • Airport emergency planning
  • Air Traffic Service
  • Airspace
  • ข้อควรรู้เกี่ยวกับเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์เบื้องต้น
  • ambulance ground support
  • ทัศนสัญญานมือ

Aircrew medical checkup
กรมการขนส่งทางอากาศได้มีการประกาศเกณฑ์คุณสมบัติของผู้ทำหน้าที่ไว้ต่างๆกันได้แก่
  1. ใบสำคัญแพทย์ชั้น 1 (class 1 medical assessment) ได้แก่ นักบินพาณิชย์ ต้นหน และนายช่างประจำอากาศยาน
  2. ใบสำคัญแพทย์ชั้น 2 (class 2 medical assessment) ได้แก่ นักบินส่วนบุคคลต่างๆ ศิษย์การบิน
  3. ใบสำคัญแพทย์ชั้น 3 (class 3 medical assessment) ได้แก่ พนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ
  4. ใบสำคัญแพทย์ชั้น 4 (class 4 medical assessment) ได้แก่ นักบินอากาศยานเบาพิเศษ

ในแต่ละชั้นก็จะมีมาตรฐานทางการแพทย์กำหนดไว้ แต่ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับลูกเรือ (ICAO, FAA, CASA) (?ยกเว้นของ EASA) อย่างไรก็ดีมีการกำหนดเกณฑ์ของแต่ละสายการบินเองโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของร่างกาย (physical fitness) และปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลต่อการทำงานหรือความปลอดภัยในการบิน หรือสิ่งแวดล้อมในการบินที่จะส่งผลต่อสุขภาพของลูกเรือ
มีหลายๆรัฐในสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้ต้องได้ CAMTSaccreditation เพื่อที่จะออกใบอนุญาตในการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ  

Flight law/Aeromedical regulation
  • กรมการบินพลเรือน (เปลี่ยนชื่อหลายครั้งจาก สถาบันการบินพลเรือน เป็นกรมการบินพาณิชย์ เป็นกรมขนส่งทางอากาศ) ทำหน้าที่ควบคุมกฎระเบียบการบิน ส่งเสริมพัฒนาการขนส่งทางอากาศ ดำเนินกิจการท่าอากาศยาน 28 แห่งในสังกัด (ยกเว้น ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ เชียงราย ดำเนินงานโดย AOT)
  • สำนักมาตรฐานการบิน (สมบ.) ในสังกัดของกรมการบินพลเรือน จะทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานและช่วยเหลือกรณีอากาศยานประสบภัย ดำเนินการด้านนิรภัยการบิน สอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน ดูแลแต่งตั้งศูนย์เวชศาสตร์การบินพลเรือน ออกในอนุญาตหรือใบรับรองต่างๆทางด้านความปลอดภัยในการบินพลเรือน
  • ศูนย์เวชศาสตร์การบินพลเรือน จะมีนายแพทย์ผู้ตรวจหรือนายแพทย์ผู้ตรวจอาวุโสทำการตรวจสุขภาพและออกใบสำคัญแพทย์
  • พรบ.บัญญัติการเดินอากาศ พ.. ๒๔๙๗ มาตรา๔๔ () กำหนดให้ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประจำหน้าที่ (นักบิน ต้นหน นายช่าง พนักงานวิทยุ พนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ พนักงานอำนวยการบิน) ต้องมีคุณสมบัติคือ มีสัญชาติไทย ความประพฤติเรียบร้อย มีอายุ ร่างกายสมบูรณ์ ความรู้ความชำนาญตามที่กำหนดไว้ แต่เมื่อมีความจำเป็นให้รัฐมนตรีมีอำนาจยกเว้นคุณสมบัติได้

Airport emergency planning
มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยชีวิตและกู้สถานการณ์ให้สนามบินสามารถปฏิบัติการบินได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด และเพื่อประสานกับหน่วยงานต่างๆที่ให้การสนับสนุนได้

แผนฉุกเฉินครอบคลุมสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ได้แก่ อากาศอุบัติเหตุในสนามบิน ภายนอกสนามบิน (8 km) ขณะทำการบิน สินค้าอันตราย ขู่วางระเบิด เพลิงไหม้ ปล้นยึดอากาศยาน โรคติดต่อ ภัยธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งการเตรียมแผนต้องพร้อมสำหรับอากาศยานลำใหญ่ที่สุด เช่น เหตุ Airbus 380 ชนกัน (ผู้โดยสาร 500x2) และเทียบกับสถิติ เช่นจะมีคนตายทันที 25% และอีก 75% จะแบ่งเป็น Immediate 20%, Delayed 30%, Minor case 50%
การซ้อมแผนแบบ table top exercise จะทำทุก 6 เดือน; Partial scale exercise ทุก 1 ปี และแบบ full scale exercise ทุก 2 ปี

ซึ่งเมื่อเกิดเหตุกับอากาศยาน หอบบังคับการบินจะแจ้งสัญญาณเตือนฉุกเฉิน ติดต่อดับเพลิงและกู้ภัย ปิดทางวิ่งและควบคุมการจราจร และแจ้งฝ่ายรักษาความปลอดภัย ศูนย์การแพทย์สนามบิน และฝ่ายปฏิบัติการสนามบินจะแจ้งให้ผู้อำนวยการสนามบินเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินต่อไป

ศูนย์การแพทย์สนามบิน จะขอกำลังสนับสนุนจากโรงพยาบาลตามความจำเป็น และทำการ triage, treatment, evacuation ต่อไป
SEMEX-10; ภาพจาก matichon.com

Air traffic service
Air traffic control (ATC) หรือ การควบคุมการจราจรทางอากาศ เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า air traffic controller อยู่ภายใต้ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย (Aeronautical radio of Thailand LTD.) มีจุดประสงค์ในการทำงานคือ
  1. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างอากาศยานที่บินอยู่ในอากาศ
  2. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างอากาศยานกับสิ่งกีดขวางภาคพื้น
  3. ให้การจราจรเป็นไปด้วยความลื่นไหล ไม่ล่าช้า หยุดชะงัก มีการเว้นระยะระหว่างเครื่องบินอย่างเหมาะสม
  4. ให้บริการข้อมูลที่มีประโยชน์แก่นักบิน เพื่อความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
  5. ช่วยค้นหาและกู้ภัยเมื่อเกิดอุบัติภัยแก่เครื่องบิน (คำนวณหาตำแหน่ง) โดนประสานกับ rescue coordination center (RCC) เป็นหน่วยกลาง

ATS ให้บริการงาน 4 ชนิด ได้แก่ air traffic control services, air traffic advisory service, flight information service, alerting service
     1.Air traffic control service แบ่งเป็น
ภาพจาก aerothai.co.th
    • Area control service โดย area control center จะควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบินทั่วอาณาเขตของประเทศไทย (Bangkok FIR) โดยศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศที่สำนักงานทุ่งมหาเมฆ แบ่งการควบคุมเป็น 8 ส่วน (Sectors)  
    • Approach control service โดย approach control unit จะควบคุมการจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน คือระยะ 50 ไมล์ทะเลโดยรอบและความสูงถึง 16,000 ft
    • Aerodrome control service จะควบคุมการจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน (aerodrome traffic) รัศมี 5 ไมล์ทะเลและความสูงถึง 2,000 ft โดยหอบังคับการบิน (aerodrome control tower) รับผิดชอบทั้งบริเวณ ทางขับ (runway) และทางวิ่ง (taxiway) ยกเว้นบริเวณลานจอด (apron)
      2.Air traffic advisory service ไม่ได้ควบคุม ส่วนใหญ่จะให้เพียงคำแนะนำแก่เครื่องบินเล็กนอกเส้นทาง (class F airspace)
      3.Flight Information Service (FIS) หรือ บริการข่าวการบิน ข่าวที่จะแจ้งได้แก่ SIGMET (Significant Meteorological Information), AIRMET (Airmen’s Meteorological Information), volcanic activity; radioactive material, toxic substance ในชั้นบรรยากาศ; Unmanned free balloon (เช่นโคมลอย บั้งไฟ), การเปลี่ยนแปลงของบริการเครื่องช่วยการเดินอากาศ (navigation aid), การเปลี่ยนแปลงของสนามบิน
      4.Alerting service หรือ บริการเตือนภัย แก่เครื่องทุกลำภายใต้การจราจรอากาศและเครื่องที่ทำแผนการบินไว้ หรือแจ้งหน่วยที่เกี่ยวข้องทราบเมื่อเครื่องอยู่ภายใต้ภัยคุกคามมี 3 ขั้น ได้แก่
    • Uncertainly phase (INCERFA) เช่น ไม่ได้รับการติดต่อกลับ 30 นาที เครื่องมาไม่ถึงภายใน 30 นาที
    • Alert phase (ALERFA) เช่น เมื่อทำ INCERFA แล้วทำทุกวิถีทางแล้วแต่ติดต่อเครื่องไม่ได้ เครื่องมาถึงแต่ไม่ยอมลงจอดใน 5 นาที; ได้รับข่าวสงสัย เช่น เครื่องลงที่อื่น หรือเห็นควัน; ได้รับแจ้งภัยคุกคาม
    • Distress phase (DETRESFA) เช่น เครื่องมาไม่ถึงในขณะที่น้ำมันน่าจะหมดแล้ว มีรายงานเครื่องตกที่ลักษณะเข้าได้ จะทำการประสานไปที่ RCC ทำการค้นหาและกู้ภัย

 Air space (ห้วงอากาศ)
Flight information Region หรือ เขตแถลงข่าวการบิน ของประเทศไทย เรียกว่า Bangkok FIR จะมี FIS และ alerting service ให้บริการ

ใน Air space แบ่งออกเป็น class ต่างๆ (Class A-E; Class G จะเป็นพื้นที่ไม่ควบคุม) ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกัน โดยพื้นที่บริเวณสนามบินเรียกว่า control zone และมี control area อยู่เหนือขึ้นไป และชั้นบนสุดเรียกว่า terminal control area

Airspace; ภาพจาก footflyer.com

ภาพจาก theairlinepilots.com
เครื่องบินประเภท instrument flight rules (IFR) หรือ เครื่องที่มีเครื่องวัดประกอบการบิน สามารถบินใน controlled airspace ได้ทั้งหมด แต่ visual flight rules (VFR) บินได้หมดยกเว้น class A
**Clearance หรือ การอนุญาตขึ้นบิน เครื่องทุกลำภายใต้การควบคุมจราจรต้องได้รับการ clearance ก่อนขึ้นบิน

**Separation คือ การกำหนดให้เครื่องบินทิ้งระยะห่างกัน แบ่งเป็น vertical separation ของเครื่องที่บินตามกันหรือสวนกัน, horizontal separation แบบ longitudinal และ lateral; composite separation (แบบเฉียงๆ)


ข้อควรรู้เกี่ยวกับเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์เบื้องต้น

การบินของเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์ อธิบายได้ด้วยหลักการของแบร์นูลี (Bernoull’s principle) คือ เมื่อของไหลมีอัตราเร็วเพิ่ม ความดันของไหลจะลด และเมื่อของไหลมีอัตราเร็วลด ความดันของไหลจะเพิ่มขึ้น เมื่อประยุกต์สมการของแบร์นูลีจะได้ว่า P2-P1 = ½P(V12 – V22) -  pg(h1-h2)
เพราะฉะนั้นด้านบนของปีกจะมีความโค้งมากกว่าด้านล่าง ทำให้ระยะทางที่อากาศด้านบนต้องเคลื่อนที่จะไกลกว่าด้านล่าง ดังนั้นอัตราเร็วของอากาศด้านบนจึงมากกว่า ทำให้ความดันอากาศที่ผิวด้านบนน้อยกว่าด้านล่างจึงเกิดแรงยกขึ้น
ภาพจาก infouse.com

แรงที่มากระทำต่อเครื่องประกอบด้วย
  • น้ำหนัก (Weight) เป็นแรงโน้มถ่วงทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางโลก น้ำหนักกระจายทั่วตัวเครื่องแต่จุดที่เป็นผลรวมเรียกว่า center of gravity (CG)
  • แรงยก (Lift) เป็น aerodynamic force ซึ่งตั้งฉายกับทิศทางการเคลื่อนที่ของเครื่อง ส่วนใหญ่แรงยกจะอยู่ที่ปีก จุดที่เป็นผลรวมแรงยกเรียกว่า center of pressure
  • แรงต้าน (Drag) จากการที่เครื่องเคลื่อนที่ผ่านอากาศ ทิศทางจะตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของเครื่อง ออกมาจาก center of pressure
  • แรงขับ (Thrust) ขึ้นกับชนิดของเครื่องยนต์

ภาพจาก grc.nasa.gov

จากกฎข้อที่ 3 ของนิวตัน (Newton’s Third Law of Motion) เมื่อแรงทั้ง 4 สมดุลกันวัตถุนั้นจะมีความเร็วคงที่ แต่ถ้าแรงไม่สมดุลจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของความเร่ง

เพื่อให้เครื่องเคลื่อนที่ได้อย่างมีเสถียรภาพ ไม่เกิดการหมุนรอบ CG เครื่องจะต้องมี center of pressure อยู่หลังต่อจุด CG เพื่อให้แรงบิด (torque) ที่เกิดจากส่วนปีกและส่วนหางเครื่องสมดุลกัน
ภาพจาก grc.nasa.gov

การเรียกและการปรับแนวการเคลื่อนที่แบ่งเป็น 3 แกน (axis) ได้แก่
  • Lateral axis (Pitch) กระดกหัว ควบคุมโดยหางเสือขึ้นลง (elevator) บน horizontal stabilizer ท้ายเครื่อง เช่นเมื่อ elevator ยกขึ้นก็จะกดท้ายเครื่องให้หัวเครื่องยกขึ้น
  • Longitudinal axis (Roll) หมุน ควบคุมโดยปีกเล็กแก้เอียง (Ailerons) ด้านซ้ายและขวาจะทำงานตรงข้ามกัน หรือใช้ปรับ spoiler บนปีกเครื่องแทน  
  • Perpendicular axis (Yaw) ส่ายหัว ควบคุมโดยหางเสือเลี้ยว (rudder) บน vertical stabilizer

ภาพจาก cifi-wiki.net

ภาพจาก grc.nasa.gov

Helicopter
เป็นอากาศยานปีกหมุน (rotorcraft) ได้กำลังจาก rotor ทั้งแรงยกและแรงขับ ออกตัวแบบ VOTL (vertical takeoff and landing) ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่
  1. ใบพัดประธาน (main rotor blades)
  2. ใบพัดหาง (tail rotor) ใช้เป็น anti-torque ของใบพัดประธาน
  3. ชุดบังคับการบิน (flight control) ประกอบด้วย 4 ชนิดได้แก่
    • The cyclic เป็นคันบังคับระหว่างขานักบิน คุม tilt path plane ของ rotor disk ให้เครื่องมีแรงขับไปในทิศที่ต้องการ
    • The collective อยู่ด้านซ้ายมือของคนขับ ใช้ปรับมุมประทะของใบพัด ทำให้เพิ่มหรือลดแรงยก
    • The anti-torque pedals (Rudder pedals) แป้นเหยียบควบคุม tail rotor ให้เครื่อง yaw
    • The throttle เป็นตัวบิดอยู่บนแกนของ The collective ใช้สำหรับบิดเร่งกำลังของเครื่องยนต์
  4. เครื่องยนต์ (engine)
  5. ตัวถังและห้องโดยสาร (Airframe/ fuselage)
  6. ระบบฐานล้อ (Landing gear)

ภาพจาก britannica.com
ภาพจาก britannica.com
เมื่อมีภารกิจที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกับเฮลิคอปเตอร์จำเป็นที่จะต้องรู้ข้อมูลเรื่องขนาด น้ำหนักสูงสุดของเฮลิคอปเตอร์ เพื่อกำหนดสถานที่ขึ้นลงที่มีความปลอดภัย โดยอาจสอบถามยี่ห้อและรุ่นของเฮลิคอปเตอร์เพื่อหาข้อมูล (จาก www ของยี่ห้อที่ผลิต)
เช่น เครื่อง Airbus helicopter รุ่น EC 145 (โรงพยาบาลกรุงเทพ) เป็นระบบ 2 เครื่องยนต์ ลำตัวเครื่องยาว 13 เมตร ใบพัดประธานเส้นผ่าศูนย์กลาง 11 เมตร ใบพัดท้ายสูงจากพื้น 2 เมตร
EC-145; ภาพจาก aviation-broker.com

ทิศทางการบินเข้า-ออก พื้นที่ขึ้นลงแบบทัศนวิสัย
  • นักบินจะหันด้านหน้าเครื่องในทิศทางทวนกระแสลม
  • มุมในการนำเครื่องเข้า-ออกต้องมากกว่า 135o
  • ระยะห่างของจุดลงจอด (FATO: Final Approach & Take-Off) กับสิ่งกีดขวางต้อง < 1:8 (ปกติใช้ 1:10) เพื่อให้มีพื้นที่พอในการร่อนลง เช่น ต้นไม้สูง 10 เมตรต้องอยู่ห่างจากจุดลงจอด 100 เมตร

พื้นที่ขึ้นลงอากาศยานเฮลิคอปเตอร์
แบ่งออกเป็น พื้นที่ขึ้นลงถาวร (Permanent Heliport) และพื้นที่ขึ้นลงชั่วคราว (Temporary Heliport) ที่มีอายุการใช้งานจำกัดที่ 30 วัน โดยต้องขออนุญาตจากกรมการบินพลเรือน

หน่วยทางภาคพื้นต้องจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสม ได้แก่
  • พื้นที่ขั้นต่ำ 60x60 ฟุต ในเวลากลางวันและ 100x100 ฟุตในเวลากลางคืน พื้นที่ต้องราบเรียบ รับน้ำหนักได้ 5 ตัน ลาดเอียงไม่เกิน 10 องศา
  • พื้นที่ไม่เป็นดินฝุ่น ดินทราย ต้องนำน้ำมาฉีดพรม ไม่มีของที่จะหลุดลอยได้ ไม่มีรั้วหรือพุ่มไม้
  • พื้นที่โดยรอบ 200 ฟุต ไม่มีประชาชนหรือยานพาหนะที่ไม่เกี่ยวข้องและควรแสดงของเขตให้เห็นชัดเจน
  • เตรียมป้ายแสดงอันตราย เห็นได้ชัดและมีความมั่นคงแข็งแรง


การปฏิบัติของ ambulance ground support (Link ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน)
  • เจ้าหน้าที่ภาคพื้น สวมเสื้อผ้ารัดกุมมองเห็นได้ง่าย ใส่แว่นตานิรภัย หมวกนิรภัย ไฟฉาย อุปกรณ์ป้องกันเสียง ถุงมือ
  • ตรวจความปลอดภัยครั้งสุดท้ายแล้วแจ้งยืนยันนักบิน
  • ไฟส่องสว่างในเวลากลางคืน อาจให้แสงรถยนต์ 2 คัน ห่างกัน 40 เมตร หันหน้าทำมุม 45 องศา ส่องไปยังพื้นดินกับจุดวางตัวของเฮลิคอปเตอร์ (รถหันหลังให้กับทิศที่เฮลิคอปเตอร์จะร่อนลง)
  • การเข้าหาเครื่องให้รอสัญญาณจากนักบินก่อน เข้าจากด้านหน้าหรือในทิศที่นักบินมองเห็นตลอดเวลา ไม่วิ่ง ให้เดินอย่างมั่นคง
  • การเข้าออกขณะที่ใบพัดยังหมุนอยู่ (Hot loading) ต้องมีการฝึกซ้อมเป็นอย่างดี ได้แก่ การใช้สัญญาณมือ จัดระเบียบเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การแพทย์ การใช้อุปกรณ์กันเสียงและดวงตา การก้มศีรษะต่ำ การไม่ยกมือเหนือศีรษะ
  • รถพยาบาลต้องขับหันหน้าเข้า และจอดด้านหน้าหรือขนานกับเฮลิคอปเตอร์ ไม่ล้ำระยะของปลายใบพัดประธาน

ภาพจาก aviationspectator.com

ทัศนสัญญาณมือ
 
Hand signal; ภาพจาก aboutflight.com

คำแนะนำเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสาร
  • แผนการบิน (Flight Plan) ได้แก่ เส้นทางการบิน สภาพอากาศ การปฏิบัติของหน่วยทางพื้นดิน
  • วิธีการเดินเข้าและออกจากอากาศยาน เพื่อหลีกเลี่ยงใบพัดและท่อไอเสีย
  • ทางออกฉุกเฉิน เช่น วิธีการปลดหน้าต่างฉุกเฉินของห้องผู้โดยสาร (Jettisionable Cabin Windows)
  • วิธีใช้สายรัดตัว หมวกบิน อุปกรณ์ป้องกันเสียง ตำแหน่งของอุปกรณ์ชูชีพ วิทยุฉุกเฉิน ถังดับเพลิง
  • การผูกยึด เก็บอุปกรณ์ต่างๆ
  • ท่านั่งถ้าต้องลงฉุกเฉิน โดยการก้มตัวให้หน้าอกแนบกับเข่า มือประสานกันแน่นรอบศีรษะด้านหลัง เท้าวางติดพื้น
ภาพจาก outdoorleaderonline.org

ภาพจาก skycare1.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น