สารบัญ

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564

GERD

GERD

อาการที่มีความจำเพาะต่อ GERD คือ อาการแสบร้อนยอดอก (retrosternal burning หรือ heartburn) และเรอเปรี้ยว (regurgitation)

แบ่งกลุ่มอาการ เป็น 2 กลุ่มคือ

  1. Esophageal syndrome คือมีอาการเรอเปรี้ยว (regurgitation), แสบร้อนยอดอก (heartburn), หรือพบ esophageal injury จากการส่องกล้อง
  2. Extra-esophageal GERD คือมีอาการนอกหลอดอาหาร เช่น reflux cough syndrome, reflux laryngitis syndrome, reflux asthma syndrome, reflux dental erosion หรือทำให้เกิด sinusitis, pulmonary fibrosis, pharyngitis, recurrent otitis media

การวินิจฉัย

  • สามารถให้การวินิจฉัยเบื้องต้นในรายที่มีอาการจำเพาะต่อ esophageal syndrome ได้แก่ แสบร้อนยอดอก หรือ เรอเปรี้ยว โดยที่ไม่มี alarm feature (หากตอบสนองต่อการรักษาด้วย PPI เป็นเวลา 2 สัปดาห์ อาจให้การวินิจฉัยได้)
  • ในรายเข้าได้กับ extraesophageal GERD (เช่น ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง หอบหืด ฟันสึกในบางตำแหน่ง) และไม่มี alarm feature เมื่อวินิจฉัยแยกโรคอื่นแล้ว (เช่น CXR แยกโรค pulmonary TB)
  • Upper endoscopy ในคนที่มี alarm feature ได้แก่ ซีด (anemia), กลืนเจ็บ (odynophagia), กลืนลำบาก (dysphagia), น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ (involuntary weight loss), เลือดออกในทางเดินอาหาร (GIB), อาเจียน > 10 ครั้ง/วัน (recurrent vomiting)
  • ในรายที่มาด้วยแน่นหน้าอก ที่ตรวจไม่พบความผิดปกติจากโรคหัวใจและตอบสนองต่อ PPI สามารถวินิจฉัย non-cardiac chest pain syndromes of GERD

การรักษา

  • ในรายที่กำลังมีอาการแสบกลางอก อาจให้ยากลุ่ม alginic acid เช่น algycon 2 tab chew stat สามารถลดอาการเฉียบพลันได้ดี
  • ในรายที่มีอาการน้อยและไม่บ่อย (< 2 ครั้ง/สัปดาห์) และไม่เคยรักษามาก่อน ให้ทำ life style modification และรักษาแบบ step-up approach คือ
    1. ใช้ยาเมื่อมีอาการ เริ่มจาก low-dose H2RA (cimetidine 200 mg BID) + antacid/sodium alginate
    2. Standard dose H2RA (cimetidine 400 mg BID) x > 2 สัปดาห์
    3. Once-daily PPI เริ่มจาก low dose (omeprazole 10 mg OD) x 4-8 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจเพิ่มเป็น standard dose PPI (omeprazole 20 mg OD) เมื่อควบคุมอาการได้แล้วให้ใช้ยาต่อ > 8 สัปดาห์
  • ในรายที่มีอาการมากหรือบ่อย (> 2 ครั้ง/สัปดาห์) ให้รักษาแบบ step-down approach เริ่มจาก standard dose PPI x 8 สัปดาห์ แล้วค่อยลดขนาดยาลง
  • Life style modification ได้แก่ ลดน้ำหนักในคนที่ BMI > 25, หยุดสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา, หลีกเลี่ยงอาหาร 3 ชม.ก่อนเข้านอนและนอนยกศีรษะสูง 20 เซนติเมตรด้วยลิ่มโฟม, งดอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการสำหรับคนๆนั้น (caffeine, chocolate, spicy foods, high fat food, carbonated beverage)
  • แนะนำส่งตัวพบ subspecialist ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อ once-daily PPI (refractory GERD), ในรายที่มีข้อบ่งชี้ในการทำ upper endoscopy หรืออาการกลับเป็นซ้ำภายใน 3 เดือนหลังหยุดยา
  • Pregnancy และ lactation แนะนำให้เลือกการรักษาเรียงไปตามลำดับ ดังนี้ life style modification, antacid (ที่ไม่มี sodium bicarbonate และ magnesium trisilicate), sucralfate (1 g PO TID), H2RA (cimetidine), PPI (omeprazole, lansoprazole, pantoprazole)

 

Ref: ACG GERD 2013, Thailand GERD guideline 2020, UpToDate

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น