Acute fever at risk for serious bacterial
illness
ภาวะไข้ที่มีความสำคัญทางคลินิกขึ้นอยู่กับระดับอุณหภูมิกายดังนี้
- อายุ < 3 เดือน rectal temp. > 38oC
- อายุ 3-36 เดือน rectal temp. > 39oC
- อายุ > 36 เดือน จะขึ้นอยู่กับอาการและอาการแสดง
วัดทาง axillary <
oral < rectal แตกต่างกันที่ละ 0.6oC; ส่วนการวัดด้วย infrared thermometer ทาง tympanic
membrane จะได้ค่าที่ไม่แน่นอน โดยเฉลี่ยจะสูงกว่า rectal
temp. ~ 0.1oC ( -0.9oC
ถึง 1.1oC)
สาเหตุที่พบบ่อยของ
serious bacterial illness ในเด็กที่ต้องคิดถึงเพราะอาการและอาการแสดงอาจจะไม่ชัดเจนได้แก่
- UTI พบอุบัติการณ์ประมาณ 5% ในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายอายุ < 24 (เด็กผู้ชายที่ขลิบ < 12 เดือน) อาจจะมาด้วยไข้อย่างเดียว (เด็กผู้หญิง > 24 เดือน ยังพบ UTI ได้บ่อยแต่จะมี urinary symptoms ร่วมด้วย) ให้ตรวจ UA เป็น screening test ก่อน (เช่น bag collection ในเด็กที่ยังบอกปัสสาวะไม่ได้) ถ้า WBC > 5-10/HPF หรือ leukocyte หรือ nitrite positive จึงส่งตรวจ U/C ต่อไป (suprapubic aspirate หรือ clean-catch midstream) **มีการศึกษาที่ขัดแย้งกัน แนะนำว่าในกลุ่มเสี่ยงต่อ UTI ให้ส่ง U/C ไปด้วยเสมอ
- Bacteremia/sepsis พบอุบัติการณ์ประมาณ 2-3% ในเด็กอายุ < 3 เดือน ในชุมชนที่ไม่ได้มีการให้ pneumococcal conjugated vaccine ในเด็กอายุ 3-36 เดือนกันอย่างแพร่หลาย ถ้ามีไข้ > 39oC ร่วมกับ WBC > 15,000 และ neutrophil > 10,000 จะมีโอกาสเป็น bacteremia สูง (8-17%) ส่วนในรายที่ได้ pneumococcal conjugated vaccine และ H. influenza type b vaccine จะพบอุบัติการณ์ของ occult bacteremia ลดลงอย่างมาก (< 0.5-0.7%)
- Pneumonia และ sinusitis มักเกิดตามหลัง URI (sinusitis พบได้น้อยในเด็กอายุ < 3 เดือน) ทำ CXR เพื่อวินิจฉัย pneumonia เฉพาะในรายที่มีอาการสงสัยได้แก่ respiratory distress, rales, grunting, tachypnea, hypoxemia; ในเด็กโตที่มี chronic medical problems (เช่น cystic fibrosis, congenital heart disease, malignancy) ที่มาด้วยไข้ + URI ให้คิดถึง pneumonia ด้วย แม้ว่าจะไม่มีอาการ LRI
- Meningitis พบอุบัติการณ์ประมาณ 1% ในเด็ก < 3 เดือน ส่วนใหญ่มาด้วยไข้อย่างเดียว ตรวจ CSF พบ WBC > 30 cell/mm3 (neonate) และ > 10 cell/mm3 (อายุ > 1 เดือน)
ในเด็กที่ well-appearing และได้รับ immunization ครบตามเกณฑ์และตรวจไม่พบสาเหตุของไข้ชัดเจน
(ยกเว้นในเด็ก < 3 เดือนที่อาจพบ source
of infection ที่หนึ่งแล้ว ยังแนะนำให้ตรวจ lab อื่นๆเพิ่มเติมเพื่อหา occult infection) แนวทางการตรวจและรักษาให้แยกตามอายุและความสูงของไข้ดังนี้
(ในเด็กที่ ill-appearing ให้ตรวจและรักษาเหมือน
sepsis)
**well-appearing คือเด็กที่มองสบตา
เล่นได้ปกติ มีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น ท่าทางตื่นตัว
เมื่อร้องไห้สามารถปลอบได้ง่าย
อายุ
0-28
วัน ไข้ > 38oC
อายุ
29-56
วัน ไข้ > 38.2oC
อายุ
57
วัน-6 เดือน ไข้ > 38oC
อายุ
6-36
เดือน
|
**ใน preterm หลังคลอดภายใน
90 วัน ให้นับอายุจาก post conceptual date (ไม่นับจากวันคลอด)
Lumber puncture:
ใช้ LP needle no.22, needle length คำนวณได้จากสูตร
cm = 1 + [17 x (BW kg/ Height cm)]; แทงเข็มระหว่าง L4-L5
(ระหว่าง iliac crest) midline ชี้ไปที่ umbilicus
หันปลายเข็มด้านเอียงขึ้น ดึง stylet ออกหลังเข้าสู่ชั้น
subarachnoid space หรือเอาออกหลังผ่านชั้น skin ก็ได้ (Cincinnati method) เก็บ CSF 3 ขวด > 0.5 mL/ขวด (ขวดแรกส่ง
cell count, cell diff.; ขวดที่สองส่ง protein,
glucose; ขวดสามส่ง C/S, G/S) อาจเก็บขวดที่ 4
ส่ง PCR for virus (enterovirus, HSV) หรือ bacteria
Serum biomarker:
มีการศึกษาว่าอาจเหนือกว่าการวินิจฉัย SBI ด้วย
clinical impression ในเด็กอายุ 1-36 เดือน
ที่ไม่พบ source of infection ได้แก่การตรวจ WBC >
14,000, ANC > 5,200, procalcitonin > 0.2 nanograms/mL, CRP > 17.7 mg/L
Ref: Tintinalli ed8th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น