Tracheostomy tubes, Laryngectomy
associated emergencies
Tracheostomy tubes (TT)
- ขนาดของ TT ดูจาก inner diameter (ผู้ใหญ่ 5-10 mm; เด็ก 2.5-6.5 mm) และส่วนของ respiratory connector ขนาดมาตรฐานคือ 15 mm
- Fenestrated TT จะมีรูทางด้าน dorsal ซึ่งลมสามารถขึ้นไปที่ vocal cord เพื่อใช้พูดได้ ซึ่งรูนี้อาจทำให้เกิดการระคายเคือง และมี granulation growth เข้ามา ทำให้เกิด obstruction, bleeding หรือจะดึงเอา TT ออกลำบาก ในกรณีนี้ต้อง consult ENT
- Adult TT สามารถถอด inner tube มาทำความสะอาดโดยใช้แปรงขนาดเล็กจุ่มใน hydrogen peroxide แล้วล้างด้วย warm tap water; ใน pediatric TT จะไม่มี inner tube เพราะฉะนั้นต้องดึงออกมาทำความสะอาดทั้งตัว TT
TT
with respiratory distress
|
Complications
- Tracheostomy tube obstruction: ดูในตาราง
- Tracheostomy dislodgement: TT หลุดออกมาจาก tracheostomy แต่ยังอยู่ในคอ จะใส่สาย suction ไม่เข้า และเมื่อทำ x-ray อาจเห็น TT กด trachea จากภายนอก; เมื่อเอา TT ออก อาจจะดูไม่ออกว่าอันไหนเป็น tracheal stoma ให้ใส่ nasopharyngoscopy หรือ bronchoscope ทาง stoma ดู ถ้ายังบอกไม่ได้ให้ consult ENT; ถ้ามีปัญหาเรื่อง airway ให้ทำ oral intubation
- Tracheostomy site infection: ถ้าอาการคงที่ให้ amoxicillin-clavulanate 875 mg PO BID; ถ้าอาการไม่คงที่ให้ piperacillin-tazobactam 3.375 gm IV + vancomycin 1000 mg IV; local wound infection ให้ dressing ด้วย gauze ชุบด้วย 0.25% acetic acid
- Tracheostomy site bleeding
- Stoma bleeding: ถ้า bleed ช้าๆ ให้ pack ด้วย saline-soaked gauze, ถ้าไม่สำเร็จให้เอา TT ออก แล้วจี้ด้วย silver nitrate (ถ้า electrocautery ควรทำโดย surgeon), ถ้า bleed เร็ว ให้ใส่ ETT แทน TT โดยให้ cuff อยู่ต่ำกว่า bleeding site
- Tracheoinnominate artery fistula: ส่วนใหญ่จะเกิดใน 3 สัปดาห์แรกหลังทำ tracheostomy; ถ้ามาด้วย massive bleeding ให้ 1) hyperinflation ของ cuff, consult ENT หรือ CVT ทันที; 2) ถ้าเลือดยังออกต่อเนื่อง ให้ค่อยๆถอย TT และกด trachea ทางด้านหน้า; 3) ถ้ายังควบคุม bleeding ไม่ได้ ให้ใส่ oral ETT เพื่อป้องกัน aspiration และใช้นิ้วกด innominate artery กับ manubrium (Utley maneuver) ไว้ตลอดขณะที่ย้ายผู้ป่วยไป OR
ภาพจาก christem.com |
- Tracheal stenosis: มีอาการเหนื่อย มี wheezing, stridor และไอเอาเสมหะออกมาไม่ได้, CXR จะเห็น tracheal narrowing; Tx: humidified O2, epinephrine NB, steroids, rigid bronchoscopy with laser excision
การต่อ mechanical
ventilation กับ TT
- ถ้าใส่เป็น uncuffed ให้เปลี่ยนเป็น cuffed tube ถ้าไม่มี TT ให้ใส่ ETT ใน stoma แทน ถ้าใส่ ETT ทาง stoma ไม่ได้ให้ใส่เป็น oral ETT (ยกเว้น laryngectomy)
การเปลี่ยน TT
- ถ้า tracheostomy มา < 7 วัน และไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน ควรเปลี่ยน TT โดย surgeon ที่มีความคุ้นเคยกับหัตถการนี้
- ในรายที่ decannulation มาหลายชั่วโมง และ stoma เริ่มปิด อาจต้องทำ dilation ควร consult ENT หรือ surgeon
- วิธีการทำ ได้แก่
- เตรียมอุปกรณ์ และผู้ช่วย ให้ผู้ป่วยนอนราบ มี shoulder roll รองให้คอแหงน
- อาจใช้ cricoid hook เกี่ยวใต้ cricoid เพื่อให้ trachea อยู่นิ่ง
- นำ TT เก่าออก, suction และตรวจดู stoma
- ใส่ deflated balloon TT with obturator ใส่ลงไปตาม curve ลงไปที่ trachea ช้าๆ และเอา obturator ออกทันทีเมื่อใส่เข้าไปแล้ว
- ถ้าใส่ไม่เข้าอาจเปลี่ยน TT ขนาดที่เล็กลง หรือใส่ suction catheter/NG tube ขนาดเล็กลงใน trachea แล้วร้อย TT ลงตาม (modified Seldinger technique)
- ยืนยันตำแหน่งโดยใส่ suction catheter ลงไป หรือต่อ ETCO2 detector; ถ้ามีข้อสงสัยให้ใส่ nasopharyngoscopy หรือ flexible bronchoscopy หรือทำ x-ray
Laryngectomy patients
- ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่สามารถใส่ oral ETT ได้ เมื่ออุด laryngectomy tube จะไม่สามารถออกเสียงหรือหายใจได้
- ผู้ป่วยที่ทำ laryngectomy สามารถใส่ ETT ทาง tracheostoma แต่ไม่ให้ใส่ลึก เพราะ carina อาจจะอยู่ตื้นแค่ 4-6 cm จาก tracheostoma
Laryngeal stents
- ใช้ในการรักษา severe laryngotracheal stenosis มีหลายชนิด เช่น the Aboulker stent complex, the Montgomery T-tube stent
- Complications เช่น stent dislodged ให้ consult ENT (การ remove stent ควรทำโดย surgeon ที่มีความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ชนิดนี้), T-tube stent obstruction ให้ humidification และ suction ทั้ง upper และ lower limbs ถ้าไม่สำเร็จให้ remove T-tube ออกและใส่ TT หรือ ETT แทน (ทำใน OR โดย surgeon ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน ต้องใช้แรงดึงมากต่อเนื่อง และไม่ทำ BVM ผ่าน T-tube เพราะไม่ใช่ 15-mm standard connector)
Speech devices
- Passy-Muir valve เป็น one-way valve ที่ต่อกับ uncuffed TT เมื่อหายใจเข้า valve จะเปิดให้ลมเข้ามาทาง TT แต่เมื่อต้องการพูดจะหายใจออกแรงพอให้ valve ปิด ลมจะออกผ่าน vocal cords แทน เพราะฉะนั้น Passy-Muir valve ไม่ควรใช้กับ cuffed tube; ถ้ามีอาการของ airway obstruction หรือไม่สามารถพูดได้ ให้ถอด valve ออก ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นให้ตรวจสอบดูว่า TT มี obstruction หรือไม่ (ดังข้างต้น)
- Tracheoesophageal prosthesis เป็น one-way valve ที่ใส่ระหว่าง posterior wall ของ tracheal stoma และ anterior wall ของ cervical esophagus, ในผู้ป่วย postlaryngectomy เมื่อต้องการพูดผู้ป่วยจะหายใจออก ร่วมกับเอามือปิด stoma ไว้ ลมจะออกผ่านไปทาง esophagus แทน เกิดการสั่นสะเทือนเป็นเสียงได้; complication ได้แก่
- Valve leakage (ดูขณะดื่มน้ำที่มีสี อาจรั่วผ่าน prosthesis หรือออกมารอบๆ prosthesis) จะเสี่ยงต่อ aspiration pneumonia ให้เอา prosthesis ออกแล้วใส่ Foley catheter ขนาดที่ใหญ่กว่า (เพื่อป้องกัน fistula ปิด ซึ่งเกิดภายใน 24-48 ชั่วโมง) ไม่ต้อง inflate balloon และนัด F/U ENT วันรุ่งขึ้น
- Prosthesis aspiration หรือ valve extrusion ทำให้เกิดอาการไอ เหนื่อย ให้ทำ CXR และ consult ENT; ส่วน fistula ให้ใส่ Foley หรือ red rubber catheter ไว้ แต่ห้ามใส่ใน tract ที่ < 2 สัปดาห์ เพราะอาจเกิด false passage ได้
- Pharyngeal stricture, stomal stenosis เกิดจาก granulation tissue ที่ขึ้นรอบๆ prosthesis ให้จี้ด้วย silver nitrate และส่งตรวจ histopathology
Ref: Tintinalli ed8th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น