วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561

Basic Slit lamp for ER

Basic Slit lamp exam (SLE) for ER

ข้อบ่งชี้
  • ช่วยในการตรวจและวินิจฉัยความผิดปกติที่อยู่ใน anterior segment ของตา (lids, lash, conjunctiva, cornea, anterior chamber, iris, lens)
  • ช่วยในการ remove ocular FB ทำได้ประณีตมากขึ้น

ข้อควรระวัง
  • ในรายที่สงสัย open globe injury ควรตรวจด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ไม่ให้เกิดแรงกดไปบนดวงตา
  • ในรายที่เป็น ocular chemical burn ต้องทำ irrigation จน pH กลับมาเป็นปกติก่อนตรวจ SLE
  • ขณะ remove FB ต้องระวังผู้ป่วยเคลื่อนศีรษะอย่างฉับพลัน และการสับสนทิศทางหรือตำแหน่งของเครื่องมือ (เช่นปลายเข็ม)

เตรียมการ
  • ให้ topical anesthesia (ถ้าปวดหรือมี blepharospasm) ปรับห้องให้มืด ทำให้ผู้ป่วยวางใจ แนะนำขั้นตอนต่างๆ
  • เตรียมอุปกรณ์ เช่น topical anesthesia, fluorescein strip, saline drop, alcohol pad, cotton swabs, 18 gauge needle หรือ burr drill, gloves

ขั้นตอน
ปรับตำแหน่งให้เหมาะสม
  • ปรับความสูงเก้าอี้ตรวจให้พอดี
  • ปลด lock ที่ฐานของ slit lamp แล้วลองใช้มือขยับฐาน slit lamp ไปมาดู

ตัว lock ฐาน
ขยับซ้ายขวา
  • ปรับเลนส์ของผู้ตรวจไปที่ “0” และปรับความห่างของที่มองตา ข้างให้พอดี
  • ปรับกำลังขยายเริ่มจาก 10x

  • ปรับโต๊ะตรวจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ให้ผู้ป่วยวางคางบน chin rest และหน้าผากติด headrest เสมอขณะตรวจ หมุนปรับ chin rest ให้ lateral canthus อยู่ระดับเดียวกับขีดดำ



ปรับ focus ของ slit lamp
  • ปรับความกว้างของแสงให้แคบที่สุดเท่าที่ไม่ทำให้ความสว่างลดลง ให้แสงอยู่ที่สันจมูกผู้ป่วย เอียงทำมุม 45o ขยับฐาน slit lamp เข้าออกให้แสงคมชัดที่สุด
  • ปรับ joy stick (fine focus) ให้แสงคมชัด ปรับเลนส์ของผู้ตรวจโดยปิดตาทีละข้าง

   

ทำการตรวจ
  • ขยับฐาน slit lamp มาด้านข้างเพื่อตรวจตาแต่ละข้าง ปรับความสว่างต่ำ
  • ปรับแสงกว้าง เพื่อตรวจภายนอกทั้งหมด ได้แก่
    • Lower lid, lashes ใช้ไม่พันสำลีวางใต้เปลือกตาล่างและม้วนลง พร้อมกับให้ผู้ป่วยมองขึ้น ช่วยเปิด lower lid ตรวจ palpebral conjunctiva
    • Upper lid, lashes ให้ผู้ป่วยมองลง พลิกเปลือกตาบน (ใช้ไม้พันสำลีวางบน palpebral fold หมุนให้ขนตาชี้ออก ใช้อีกมือจับขนตาดึงออกและพลิกขึ้น โดยใช้ไม้พันสำลีเป็นจุดหมุน) แล้วจับเปลือกตาที่พลิกไว้ด้วยนิ้วโป้งขณะตรวจ slit lamp
    • Cornea epithelium ภายนอก ถ้าพบความผิดปกติให้เพิ่มกำลังขยาย ปรับ joy stick ดูขนาด ความลึก
  • ปรับแสงเป็น thin slit ปรับกำลังแสง (medium-high) และกำลังขยาย (16x-25x) คงมุมเอียง 450 ตรวจดูชั้นต่างๆของ cornea ได้แก่ corneal epithelium, stroma, และ endothelium เพื่อดู infiltration และ corneal edema [รอยย่นบน endothelium]
ปรับเป็น thin beam
  • ดู cells และ flare ต้องปิดไฟให้มืดสนิท ปรับกำลังขยายและแสง (high) ปรับแสงให้สั้นและกว้างขึ้น คงมุมเอียง 450 ปรับ joy stick มาด้านหน้าให้ focus ที่ iris แล้วปรับถอยหลังให้ focus ที่ corneal epithelium ทำกลับไปกลับมาเพื่อที่จะทราบระยะในการปรับ joy stick แล้วปรับมาครึ่งหนึ่งจะอยู่ตรงกลาง anterior chamber ให้สังเกต flare (แสงส่องในหมอก) และ cells (ประกายเล็กๆ) ลอยอยู่ภายใน anterior chamber
ปรับ focus ดู anterior chamber: ในภาพมี cell & flare ใน AC
  • ย้อม fluorescein (หยด saline บนแผ่น fluorescein แล้วไปสัมผัสที่ lower conjunctiva fornix แล้วให้ผู้ป่วยกระพริบตาหลายๆครั้ง) ปรับแสงเป็น cobalt blue filer (ด้านบน) และปรับแสงให้กว้าง ใช้กำลังขยายต่ำ ถ้าพบความผิดปกติให้เพิ่มกำลังขยายเช่นเดียวกับข้างต้น
  • Seidel’s test ในกรณีสงสัย microperforation ของ globe โดยย้อม fluorescein (แต่หยด saline หลายๆหยด แล้วทาไปที่ตาโดยตรง) จะเห็น fluid ไหลชะ fluorescein ออกมา




Ref: picture from ITIMEinEM in Youtube

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น