สารบัญ

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561

Spontaneous vertex delivery

Spontaneous vertex delivery

แบ่งเป็น 3 ขั้น คือ คลอดหัว คลอดไหล่ คลอดลำตัวและเท้า

  • จัดท่า dorsal lithotomy (หรือ ถ้าไม่ได้อยู่บนเตียงสำหรับคลอด ให้นอนงอสะโพกและเข่าเล็กน้อย อ้าต้นขาออก ให้ส้นเท้าวางบนเตียง ใส่ bedpan ไว้ใต้ก้น)
  • ใช้ complete sterile technique (ถ้าไม่มีเวลาก็ไม่จำเป็น) ได้แก่ sterile gloves, gown, mask, eye protection
  • ทำความสะอาด perineum ด้วยน้ำกับสบู่อ่อน ทาด้วย povidone-iodine ปูผ้าปราศจากเชื้อ สวนปัสสาวะ
  • เมื่อ cervix เปิด 10 cm แล้วให้เริ่มเบ่ง

คลอดหัว:
  • เมื่อหัวเด็กมาตุงที่ perineum (crowning) อาจใช้นิ้วช่วยขยาย inferior portion ของ perineum เพื่อช่วยคลอด
  • เมื่อรูเปิดช่องคลอดขยาย > 5 ซม. ใช้มือข้างหนึ่ง save perineum (มือจับ sterile towel วางเหนือต่อ coccyx) และมืออีกข้างหนึ่งกดเบาๆที่ส่วนหลังของศีรษะทารก เพื่อควบคุมการคลอดให้ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ให้ทารกแหงนหน้าเร็วเกินไป (modified Ritgen maneuver)

 Modified Ritgen maneuver; F.Gary Cunningham, et al. normal labour and delivery. Williams Obstetrics. 23 ed.  Mc Graw Hill; 2010. p. 374-409.
  • ถ้าแรงเบ่งคลอดไม่พอ อาจพิจารณาทำ episiotomy ในระยะนี้
  • เมื่อคลอดหัวแล้ว ให้ทำ external rotate โดยหมุนศีรษะกลับมาอยู่ใน transverse (ไหล่ 2 ข้างจะมาอยู่แนว AP)
  • คลำดูว่ามี cord พันคอหรือไม่ ถ้ามีพยายามทำให้ cord หลวม ถ้า cord พันแน่นให้ clamp แล้วตัด cord ก่อนทำคลอดไหล่

คลอดไหล่:
  • ส่วนใหญ่ไหล่มักจะคลอดออกมาได้เอง สามารถช่วยคลอดโดยใช้มือจับด้านข้างของศีรษะทารกบนและล่าง แล้วดึงศีรษะลงล่างด้วยความนุ่มนวล เพื่อคลอดไหล่หน้า เมื่อไหล่หน้าคลอดจนเห็นรักแร้ ให้ดึงศีรษะขึ้นบนเพื่อคลอดไหล่หลัง

คลอดลำตัวและเท้า:
  • หลังการคลอดไหล่แล้วการคลอดลำตัวมักจะทำได้โดยง่าย ถ้าต้องช่วยคลอดลำตัวให้ดึงตามยาวของทารก ออกแรงดึงปานกลาง ไม่ใช้นิ้วเกี่ยวใต้รักแร้เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บต่อ brachial plexus
  • เมื่อคลอดออกมาแล้วให้จับทารกโดยใช้มือล่างรองสอดใต้รักแร้ และมือบนจับข้อเท้า 2 ข้างให้มั่น ระวังอย่าให้เด็กหลุดมือ
  • หลังจากทารกคลอดแล้วให้ประเมินทารกตาม neonatal resuscitation guideline (“ครบกำหนด? ร้องดัง? Tone ดี?”) ถ้าทารกร้องเองได้ดี มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อปกติ เคลื่อนไหวแขนขาได้ดี ให้ส่งคืนแม่ ให้ทารกสัมผัสแนบเนื้อแม่ รอ > 30 วินาที (> 1-3 นาทีหลังคลอด) จึงค่อย clamp cord โดยทำ double-clamp 3 cm ห่างจาก umbilicus ตัดด้วย sterile scissors
  • ไม่แนะนำให้ทำ oropharyngeal และ nasopharyngeal suctioning เป็น routine จะพิจารณาทำในรายที่มีลักษณะการอุดกั้นทางเดินหายใจหรือต้องทำ PPV
  • ไม่แนะนำให้ทำ endotracheal suctioning ในทารกที่มี meconium-stain amniotic fluid แต่อาจพิจารณาทำ oropharyngeal และ nasopharyngeal suctioning ตามความจำเป็นได้

คลอดรก:
  • ดู sign ของรกลอกตัว คือ มดลูกจะกลมและแข็ง (uterine sign) มีเลือดไหลบ่าออกมา (vulvar sign) สายสะดือยาวยื่นออกมาก (cord sign) มักเกิดขึ้นภายใน 5 นาที ให้แม่เบ่ง รกมักคลอดออกมาเอง
  • ถ้าแรงเบ่งไม่พอ ให้แน่ใจว่ามี sign ของรกลอกตัวแล้ว ให้ช่วยคลอดโดยใช้มือหนึ่งกดที่ผนังหน้าท้องดันมดลูกขึ้นบน และอีกมือจับสายสะดือไว้ให้พอตึงๆ ทำซ้ำๆจนรกคลอดออกมา ตรวจสอบว่ารกคลอดออกมาครบหรือไม่

  • ตรวจ vulva, vagina, และ cervix ว่ามี laceration หรือไม่
  • คอยนวดมดลูกเพื่อช่วยให้มดลูกแข็งตัว และให้ oxytocin 20 units in NSS 1 L IV load 600 mL/h ในช่วงนาทีแรกๆจนกว่ามดลูกจะหดตัวดี จึงค่อยลด rate เหลือ 60-120 mL/h

Ref: Robert Clinical Procedure 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น