วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Drowning

Drowning

ในรายที่ สับสน หมดสติ จำเหตุการณ์ไม่ได้ มีช่วงที่หยุดหายใจ หรือมีการช่วยหายใจ ต้องนำส่งรพ.เพื่อประเมินอาการ

Resuscitation: ABCD ระวังเรื่อง hypothermia ตรวจหาการบาดเจ็บหรือโรคร่วมที่เกิดขึ้น
  • ไม่จำเป็นต้องทำ c-spine immobilization หรือ CT brain เพราะโอกาสที่จะมี  c-spine injury ร่วมด้วยน้อยมาก ~ 0.5% ยกเว้นในรายที่มีประวัติอุบัติเหตุ เช่น กระโดดน้ำจากที่สูง หรือพบการบาดเจ็บจากการตรวจร่างกาย

แนวทางการดูแล
  1. ถ้า GCS > 13 และ SaO2 > 95% ให้สังเกตอาการ 4-6 ชั่วโมง ถ้า O2 saturation และ pulmonary examination ปกติ สามารถ D/C ได้ แนะนำสังเกตอาการเรื่องไข้และปัญหาทางเดินหายใจ
  2. ถ้า GCS < 13 หรือ SaO2 < 95%
    • O2 supplement ให้ O2 saturation > 95%
    • ETT with (supernormal) PEEP โดยเฉพาะในรายที่ให้ high-flow O2 (FiO2 0.4-0.6) แล้วยังไม่สามารถทำให้ PaO2 > 60 mmHg ในผู้ใหญ่ หรือ > 80 mmHg ในเด็ก
    • Ix พิจารณาตรวจ CBC, electrolytes, glucose, troponin I, PT/aPTT, CPK; UA, urine myoglobulin, urine drug screen; CXR
    • Monitor: acid-base status, temperature, volume status (UO, CVP)
    • ไม่มีหลักฐานในการให้ ATB เพื่อป้องกัน pulmonary infection
  3. ในรายที่เป็น normothermic cardiac arrest ที่จมน้ำนานหรือใช้เวลานานในการเดินทางมารพ. พิจารณาไม่ทำการ resuscitation เพราะพยากรณ์โรคจะแย่มาก มีภาวะทุพพลภาพที่รุนแรง

การดูแลต่อเนื่อง
  • เรื่อง oxygenation มักจะดีขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงแรก ในรายที่ไม่ได้ทำ CPR อาการมักหายเป็นปกติภายใน 48 ชั่วโมง ยกเว้นในรายที่สำลักน้ำปริมาณมากหรือมี cardiac arrest จะเสี่ยงต่อการเกิด ARDS
  • Delayed pulmonary infection โดยเฉพาะในรายที่ on mechanical ventilation จะเสี่ยงต่อเชื้อที่พบไม่บ่อย เช่น Aeromonas
  • Post cardiac arrest ส่วนใหญ่ต้อง drip dopamine หรือ epinephrine ต่อเนื่อง และทำการประเมิน ventricular function (echocardiography, pulmonary artery catheter) โดยส่วนหนึ่ง hemodynamic จะกลับมาคงที่ภายใน 48 ชั่วโมง ในรายที่ hemodynamic ยังไม่ recovery อาจจะค่อยๆดีขึ้นในสัปดาห์แรก แต่มักจะมี long-term neurological damage


Ref: Tintinalli ed8th 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น