ศูนย์ประสานการส่งต่อ มีแนวทางปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับ
เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการส่งต่อผู้ป่วย
มีระเบียบ เอกสารและเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในเครือข่าย
ทรัพยากรในการส่งต่อผู้ป่วย
1. บุคคลที่เดินทางไปกับผู้ป่วย
(Accompanying the patient)
โรงพยาบาลต้องมีประกับภัยที่ครอบคลุมให้แก่บุคลากร
และมั่นใจว่าเมื่อต้องใช้บุคลากรในการไปส่งต่อผู้ป่วยจะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานอย่างอื่นในโรงพยาบาล
ตามคู่มือการปฏิบัติส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
2557 (สพฉ.)
จะระบุคุณสมบัติของแพทย์
(เป็นแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
หรือผ่านการอบรม basic interfacility ground transport +
ACLS/PALS/ATLS ที่เกี่ยวข้อง)
และคุณสมบัติของพยาบาลดังตาราง
มีการแบ่งความความรุนแรงของผู้ป่วย (ตัดสินใจโดยแพทย์อาวุโส)
และพิจารณาว่าต้องใช้บุคลากรระดับใด (ตารางด้านล่าง)
ดังนี้
- U: Unstable
คือ
มี unstable V/S หรือกลุ่มที่ต้องดูแลเฉพาะขั้นสูง
เช่น post cardiac arrest, IABP, multiple trauma
- H: Stable with High risk of deterioration คือ ผู้ป่วยที่ unstable มาก่อน แต่ขณะนี้ stable หลังให้การรักษาอย่างเต็มที่
- M: Stable with Medium risk
of deterioration คือ
ต้องการ closed monitoring ทุก
5-15 นาที หรือได้ยา high
risk เช่น heparin, NTG drip
- L: Stable with Low risk of
deterioration คือ
ต้องได้ IV fluid
- N: Stable with No risk of deterioration คือ ไม่จำเป็นต้องได้ IV fluid
ส่วนตัวผู้เขียนใช้แนวทางปฏิบัติของ
AAGBI
2009 ที่แบ่งผู้ป่วยออกเป็น
level
และพิจารณาว่าควรใช้บุคลากรระดับใดดังนี้
|
2. รถพยาบาลและเครื่องมือ
ดูคุณสมบัติของรถพยาบาลฉุกเฉินได้จากคู่มือการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
2557 และแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน
2557 มีจุดเน้นที่สำคัญ เช่น
- ต้องมี O2 supply และกำลังไฟฟ้าที่เพียงพอ
- ยึดตรึงอุปกรณ์ทุกอย่าง เปลต้องติดแน่นกับรถ
(ทนแรงได้ถึง 10
G ในทุกทิศทาง)
- เครื่องมือต่างๆต้องมีความแข็งแรงมั่นคง ทนทาน น้ำหนักเบา อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างต้องมีแบตเตอรี่ในตัวและมีแบตเตอรี่สำรอง
- อุปกรณ์ monitor ที่เคลื่อนย้ายได้ต้องมีจอแสดงผลและวางอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจน เช่น ECG, SaO2, NIBP, capnography, temperature และสัญญาณเตือนต้องเห็นและได้ยินอย่างชัดเจน
- เครื่องช่วยหายใจแบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable mechanical ventilators) อย่างน้อยต้องมี disconnection และ high pressure alarms สามารถปรับ mode PCV, CPAP ได้ และสามารถตั้ง PEEP, FiO2, I:E ratio, RR, TV ได้
- ถ้าเป็นไปได้อุปกรณ์ต่างๆควรเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้การส่งต่อผู้ป่วยไม่มีการหยุดชะงัก เช่น ต้องหยุดยาเพื่อเปลี่ยนชนิดของสายน้ำเกลือให้เข้ากับยี่ห้อของ infusion pump หรือ สาย monitoring ไม่เข้ากัน
3. อุปกรณ์และยา
ดูภาคผนวกในคู่มือการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
2557 นอกจากยาและอุปกรณ์ตามมาตรฐานที่ต้องมีแล้วให้พิจารณาจากอาการทางคลินิกและโรคประจำตัวของผู้ป่วยว่าอาจต้องใช้ยาหรืออุปกรณ์ใดเพิ่มเติมเป็นพิเศษ
กระบวนการส่งต่อผู้ป่วย
1. การตัดสินใจในการส่งต่อผู้ป่วย
(Decision to transfer)
สาเหตุของการส่งต่อ (refer
out) มีหลายสาเหตุ เช่น เกินศักยภาพ
ขาดเครื่องมือในการวินิจฉัย/รักษา ขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เตียง ICU เต็ม
ปัญหาเรื่อง insurance
หรือ
finance เป็นต้น
การตัดสินใจต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่ เหตุผลในการส่งต่อ
(clinical หรือ non-clinical
[ซึ่งไม่ควรเดินทางกลางคืน])
ความเสี่ยงของผู้ป่วยและบุคลากรจากการเคลื่อนย้าย
ต้องอาศัยบุคลากรที่มีประสบการณ์ เครื่องมือพิเศษ ยานพาหนะ
และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น รวมถึงปัจจัยด้านญาติและผู้ดูแล
ทำเอกสารในการส่งต่อ ประกอบด้วย
ชื่อแพทย์ที่ตัดสินใจ ระดับอาการของผู้ป่วย เบอร์ติดต่อ วัน-เวลาที่ทำการตัดสินใจ
ถ้าเป็นผู้ป่วยที่ต้องนอน ICU หรือ
unstable แพทย์ควรที่จะติดต่อกันโดยตรง
และต้องมี informed consent (ยกเว้นกรณี
life-threatening)
ศูนย์ประสานงาน
อาจต้องติดต่อเรื่องเตียงกับหน่วยจัดการเตียง
(bed service) ของรพ.ปลายทางก่อน
หลังจากที่ทำการติดต่อเรื่องเตียงแล้ว
ต้องทำการติดต่อแพทย์สาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย กระบวนการต่างๆต้องมีการบันทึก
(ชื่อแพทย์ เบอร์ติดต่อ คำแนะนำต่างๆ)
ซึ่งกระบวนการทั้งหมดอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง
2. การทำให้อาการคงที่ก่อนทำการส่งต่อผู้ป่วย
(Stabilization before transfer)
ต้องจัดการเรื่อง Airway
Breathing Circulation ให้เรียบร้อย เช่น ETT,
tracheostomy, ETCO2 monitoring, venous access, BP monitoring
(invasive) เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนของปัญหาและศักยภาพในการรักษา
อาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหลังจากที่ตัดสินใจในการส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งการรักษาต่างๆไม่ควรหยุดชะงักเมื่อตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยแล้ว
3. การดูแลผู้ป่วยในการส่งต่อ
การเตรียมตัวก่อนออกเดินทาง (Pre-departure)
ได้แก่
- Morning brief & Shift
check: ตรวจสอบสภาพอากาศ ยานพาหนะ
เครื่องมืออุปกรณ์และยาต่างๆพร้อมใช้งาน ตรวจสอบคู่มือการปฏิบัติงาน ระบบอำนวยการทางการแพทย์
(medical control) ทั้งทางตรง (online)
และทางอ้อม
(offline)
- Pre-departure brief:
ตำแหน่งของผู้ป่วย
อาการ ปัญหาที่คาดว่าจะพบ อาจต้องใช้เครื่องมือหรือยาพิเศษอะไรบ้าง ยาที่ได้อยู่ต้องเตรียมให้เพียงพอ เช่น inotropes,
sedatives, analgesics, muscle relaxant
ประเมินก่อนเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากหอผู้ป่วย
- ตรวจสอบเอกสารใบส่งตัว ประวัติการเจ็บป่วย การรักษา ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลตรวจพิเศษอื่นๆ เหตุผลในการส่งต่อ ชื่อของแพทย์ผู้ส่งและรับ รวมทั้งเอกสารแบบประเมินการดูแลผู้ป่วยระหว่างการนำส่ง
- Airway & C-spine protection: ประเมินทางเดินหายใจ ต้องดูดเสมหะหรือใส่ ETT ก่อนหรือไม่ ถ้าใส่ ETT แล้วให้ดูว่ายืนยันตำแหน่งแล้วหรือไม่ เบอร์อะไร ลึกเท่าไหร่ ยึดตรึง ไม่หักงอ ไม่มี cuff leak ต้องทำ spine immobilization หรือไม่
- Breathing:
ประเมิน
oxygenation & ventilation ต้องให้
O2 therapy หรือไม่
ต้อง assisted ventilation หรือไม่
ต้องใส่ ICD/Heimlich valve หรือไม่
และทำการยึดตรึงให้เหมาะสม ถ้าต้องใช้ portable mechanical
ventilator ให้ทดลองติดตั้งกับผู้ป่วยก่อน
และคำนวณปริมาณ O2 ให้เพียงพอ
อุปกรณ์อื่นๆพร้อมใช้งานหรือไม่ เช่น suction,
ventilator, pulse oximetry, ETCO2
- Circulation:
ประเมิน
hemodynamic มีภาวะ shock
หรือ
bleeding หรือไม่ ประเมิน venous
access เบอร์อะไร ใช้งานได้ดีหรือไม่ กี่ตำแหน่ง
ยึดตรึงไว้ดีแล้วหรือไม่ ใช้ inotrope อะไร
dose เท่าไหร่ ทำการ monitor
ECG, NIBP
- Disability, Deformity, Drain, Drug: ประเมินระดับความรู้สึกตัว ต้องดามกระดูกแขนขาที่บาดเจ็บหรือไม่ ต้องใส่ NG tube/Foley’s catheter หรือไม่ ตรวจสอบตำแหน่งและการทำงานของท่อระบายต่างๆ และยึดตรึงให้แน่นหนา ไม่ควร clamp สาย drain เพราะอาจลืมปลดสาย clamp ได้ ต้อง restraints หรือไม่ ตรวจสอบยาทั้งชนิดและปริมาณ ให้ยา high alert ผ่านทาง syringe หรือ infusion pump เท่านั้น
ประเมินผู้ป่วยเมื่อย้ายขึ้น Stretcher
– ขึ้นรถ และระหว่างเดินทาง
- ดูอาการของผู้ป่วย ตรวจสอบ airway
breathing circulation disability drain drug
- บน stretcher
ให้ระวัง
pressure area ตำแหน่งแขน-ขา
ทำการ secure ผู้ป่วยกับ
stretcher
- ตรวจสอบ ETT, line ต่างๆปลอดภัยดีหรือไม่ IV ต่างๆไม่โดยบัง สามารถใช้ได้
- ตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ สามารถใช้งานได้ (ECG, BP, SpO2, ETCO2, +/- temperature monitoring; infusion pump) และยึดตรึงแล้ว
- ยามีเพียงพอ ตรวจเช็คระบบไฟและ O2 ในรถพยาบาล
- Ventilator ดู setting ของเครื่อง ทำงานได้ดีหรือไม่ pressure และ tidal volume ที่ได้
- Staff safety equipment
(life jacket, ทางออก,
seat belt)
การเดินทาง
- การขับรถไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วสูง เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน และเปิดเสียงไซเลนเมื่อเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต เป้าหมายอยู่ที่การเดินทางอย่างราบรื่นและรวดเร็วโดยหลีกเลี่ยงการเร่งหรือการเบรกโดยไม่จำเป็น
- บุคลากรต้องนั่งอยู่กับที่นั่งและสวมเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา ถ้าเกิดภาวะฉุกเฉินกับผู้ป่วยเช่นต้องเตรียมยาหรือทำหัตถการบางอย่าง ควรที่จะหยุดรถในที่ที่ปลอดภัยเสียก่อน ถ้าต้องออกนอกรถต้องใส่เสื้อที่เห็นได้ง่าย
- การส่งต่อทาง air transport สำหรับกรณีที่ระยะทางไกล ที่ถนนเข้าถึงได้ยาก และต้องการบุคคลากรที่ผ่านการอบรมเป็นพิเศษ
- ติดต่อประสานโรงพยาบาลปลายทางเป็นระยะ
เพื่อแจ้งกำหนดและเตรียมความพร้อม ตรวจสอบผู้ป่วย สัญญาณชีพ อาการ เอกสาร
เครื่องมือ อุปกรณ์ ก่อนถึงรพ.ปลายทาง
- ประเมินความพร้อมและความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนส่งมอบสถานพยาบาลปลายทาง
- ส่งมอบประวัติการเจ็บป่วย การดูแลรักษาเบื้องต้น อาการแสดงที่เปลี่ยนแปลง และการดูแลรักษาระหว่างการส่งต่อ อาการปัจจุบัน พร้อมส่งมอบเอกสาร เช่น แบบฟอร์มการบันทึกการดูแลระหว่างส่งต่อ เอกสารประจำตัว
- ผู้ป่วย เช่น ผล LAB, EKG และ Film X-Ray เป็นต้น ให้กับแพทย์หรือพยาบาลสถานพยาบาลปลายทาง
- มีระบบการจัดการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าบุคลากรและเครื่องมือต่างๆกลับมาสู่โรงพยาบาลโดยปลอดภัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น