วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การปฏิเสธการรักษา (Refusal of medical care)

การปฏิเสธการรักษา
สิทธิในการปฏิเสธการรักษาเป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์ก็มีหน้าที่ที่จะไม่ขัดขวางความต้องการของผู้ป่วย แต่สิทธิก็ไม่ได้ให้อำนาจอย่างสมบูรณ์ เช่น ไม่ได้ให้สิทธิในการเร่งการตายหรือฆ่าตัวตาย
เมื่อผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาแพทย์ต้องดูว่าผู้ป่วยมีสภาพจิตใจและสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีหรือไม่ และเหตุผลในการปฏิเสธคืออะไรเช่น ความกลัว ความโกรธ ความไม่เข้าใจหรือเป็นปัญหาในการสื่อสาร แพทย์ควรพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้เสียก่อน

กระบวนการในการปฏิเสธการรักษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
  1.        ผู้ป่วยมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดี ต้องประเมินสภาพจิต (MSE) ว่าปกติหรือไม่ สามารถตัดสินใจได้หรือไม่ และบันทึกเหตุผลของการปฏิเสธการรักษาด้วย (แม้ว่าจะฟังดูไม่สมเหตุสมผลก็ตาม 
  2.        แพทย์ได้บอกข้อมูลที่จำเป็นในการตัดสินใจ ได้แก่ ความรุนแรงของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้ ทางเลือกในการรักษาอื่นๆ โดยใช้ศัพท์ที่ผู้ป่วยเข้าใจและผู้ป่วยมีโอกาสได้ถามข้อสงสัย ผู้ป่วยเข้าใจความเสี่ยงจากการไม่รักษา
  3.        พยานรู้เห็น ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน หรือแพทย์ส่วนตัวของผู้ป่วย โดยคนเหล่านี้ได้ควรได้รับข้อมูลเดียวกันกับผู้ป่วย ซึ่งคนเหล่านี้อาจจะช่วยพูดให้ผู้ป่วยยอมรับการรักษาได้ แต่ถ้าผู้ป่วยแสดงความต้องการไม่ให้แพทย์บอกบุคคลอื่น ก็เป็นสิทธิของผู้ป่วยที่จะทำได้และควรได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนด้วย
  4.        บันทึกในแบบฟอร์มการปฏิเสธการรักษา ตั้งแต่สติสัมปชัญญะของผู้ป่วย ข้อมูลที่ได้บอกผู้ป่วย พยามรู้เห็น เหตุผลในการปฏิเสธ และคำแนะนำว่าให้กลับมาตรวจรักษาใหม่เมื่อไหร่ก็ได้ ลายเซ็นของผู้เกี่ยวข้อง


เมื่อผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาที่แพทย์แนะนำแล้ว ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาอื่นๆด้วย เช่น ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบปฏิเสธการผ่าตัด ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยปฏิเสธยาแก้ปวดด้วยและแพทย์ต้องเสนอการรักษาวิธีที่รองลงมาเช่นฉีดยาปฏิชีวนะแทน (แม้ว่าจะไม่เป็นมาตรฐานที่ดีที่สุดในการรักษาโรคนั้นๆก็ตาม)
ผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งคือคนที่กลับก่อนที่จะได้รับการตรวจ เช่นรอตรวจไม่ไหว รพ.ควรที่จะมีระบบให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการคัดกรองก่อนที่จะต้องรอที่จุดรอตรวจและต้องประกาศและตามหา (หลายครั้งให้แน่ใจก่อนที่จะตัดสินว่าผู้ป่วยกลับไปก่อนแล้ว ถ้าแพทย์พบทีหลังว่าผู้ป่วยมีอาการที่น่าเป็นห่วงจากข้อมูลที่จุดคัดกรองต้องพยายามติดต่อและแนะนำให้กลับมาตรวจที่รพ.


กรณีพิเศษอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยเด็กที่พ่อแม่ (ผู้แทนโดยชอบธรรมปฏิเสธการรักษา ถ้าเป็นกรณีจำเป็นถึงชีวิตแพทย์สามารถให้การรักษาได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ แต่ถ้าไม่ใช่อันตรายถึงชีวิตแพทย์ก็ต้องยอมรับการตัดสินใจของพ่อแม่ (เช่นกรณีนิกายพยานพระยะโฮวาห์ปฏิเสธการให้เลือด)

2 ความคิดเห็น:

  1. อยากทราบค๋ะว่าถ้าเราปฏิเสธการรักษาแล้วกลับไปบ้านหากอาการทรุดลงแล้วกับมาใหม่โรงพยาบาลจะรับหรือจะรักษาเราอีกไหมค๋ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ4 พฤษภาคม 2567 เวลา 20:26

    รับค่ะ

    ตอบลบ