อุดมคติของความเป็นแพทย์
เมื่อกล่าวถึงคุณธรรม จริยธรรมของแพทย์ มักมีการอ้างอิงธรรมะต่างๆมากมายเช่นพรหมวิหาร ๔ อิทธิบาท ๔ หิริโอตตัปปะ ขันติโสรัจจะ มรรค ๘ อิทธิบาท ๔ กุศลกรรมบถ ๑๐ และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นจริงถ้ามองในแง่ที่ว่า “แพทย์ที่สมบูรณ์ = มนุษย์ที่สมบูรณ์” นั่นเอง
แต่ถ้ามองในความเป็นจริง “แพทย์ที่สมบูรณ์ ≠ มนุษย์ที่สมบูรณ์” ไม่ใช่คนที่มีจุดหมายสูงสุดในชีวิตเพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในอุดมคติทางศาสนา แต่เมื่อทำใจให้เป็นกลางแล้วคิดว่าแพทย์ควรที่จะมีคุณธรรมอะไรบ้างเพื่อที่จะทำหน้าที่รักษาคนในยามเจ็บป่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากหนังสือชื่อ “พระ-ครู-แพทย์” มีการกล่าวถึงอุดมคติของแพทย์ว่าประกอบด้วย 3 อย่างคือ
- ต้องชนะความรู้สึกฝ่ายต่ำ
- มีกรุณาเป็นเบื้องหน้า
- รอบรู้ในหน้าที่ของตน
ก็เข้าใจได้ทันทีว่าจริงๆแพทย์ประกอบด้วยคุณธรรมที่จำเป็นเพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอ “ต้องชนะความรู้สึกฝ่ายต่ำ” บรรดากิเลสต่ำๆทั้งหลาย ไม่ใช้สถานะของแพทย์ในการไปเอาเปรียบคนอื่น แม้ว่าจะมีคนรู้หรือไม่ “มีกรุณาเป็นเบื้องหน้า” มีความปรารถนาให้คนป่วยพ้นจากทุกข์ที่กำลังเผชิญอยู่ “รอบรู้ในหน้าที่ของตน” ข้อนี้ก็เป็นวัตถุประสงค์หลักของแพทย์เลยก็ว่าได้ เพราะว่าถ้าแพทย์ไม่เก่งอาการก็ไม่ดีขึ้นหรืออาจจะแย่ลง แพทย์ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่องแค่รู้ในขอบเขตงานของตนก็เพียงพอ แล้วส่งต่อให้แพทย์ท่านอื่นที่รู้เรื่องนั้นๆดีกว่า แต่แพทย์จำเป็นที่จะต้องหาความรู้ในงานของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ความรู้ของตนทันสมัยและถูกต้องตามกาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น