อุบัติภัยสารเคมี (Chemical disaster)
ค้นหาข้อมูลสารเคมีและผลิตภัณฑ์
ได้ที่ www.chemtrack.org
Unitedstates Environmental Protective Agency (EPA)
ทำการแบ่งประเภทความรุนแรงของวัตถุอันตรายตามชนิด ความเข้มข้นและระยะเวลาที่ได้รับสารเคมีออกเป็น
3 ระดับ
(Acute Exposure
Guideline Level-AEGL-1, 2, 3) ได้แก่
- AEGL-1 ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายหรือระคายเคืองเพียงชั่วคราว
- AEGL-2 ส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรงหรือไม่หายเป็นปกติ
- AEGL-3 มีอันตรายถึงชีวิต
โดยระดับ AEGL-1 เพียงให้คำแนะนำแก่ประชาชนเพื่อป้องกันการตื่นตระหนก
ส่วนระดับ AEGL-2,3
แนะนำให้ประชาชนอยู่แต่ในที่พัก ปิดช่องว่างประตูหน้าต่าง
ล้างตัวถ้าเกิดการปนเปื้อน ส่วนในประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น คนสูงอายุที่เป็นโรคปอด
เด็กเล็ก หรือสารเคมีมีอันตราย (> AEGL-3) อาจต้องทำการอพยพออกจากพื้นที่
แผนการตอบสนองต่อวัตถุอันตราย
ประเมินความเสี่ยงในชุมชน
ได้แก่ การสำรวจข้อมูลชนิด ปริมาณ พื้นที่จัดเก็บของสารเคมีของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัด
สัญญาณเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น
สำหรับสารบางอย่างสามารถรู้สึกได้ทันทีจากกลิ่น
หรือความรู้สึกระคายเคืองที่เกิดขึ้นกับตาหรือทางเดินหายใจ
แต่สำหรับสารที่ไม่สามารถรู้สึกได้ทันที
ต้องมีอุปกรณ์ตรวจวัดการรั่วไหลภายในโรงงานอุตสาหกรรม
การบ่งชี้ชนิดของสารเคมี สิ่งสำคัญคือดูจากอาการและอาการแสดงว่าเข้าได้กับ
clinical syndrome อะไรมากกว่าจะระบุชื่อที่เฉพาะเจาะจง แม้ว่าทีม
HAZMAT จะมีเทคนิควิธีในการระบุชนิดของสารเคมีที่จุดเกิดเหตุ
แต่อาจจะระบุผิดพลาดได้ในระยะแรก
การจัดการที่จุดเกิดเหตุ
เริ่มจากการประเมิน จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ และแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ลำดับชั้น ได้แก่ hot, warm, cold zone
- Hot zone: บุคลากรที่ได้รับการฝึกสวมชุดป้องกัน PPE level A นำผู้ป่วยออกจาก hot zone ไปยัง warm zone
- Warm zone: ทำการ decontamination (solid, liquid, mist, vapor) โดยการปัดฝุ่นผงสารเคมีออก ล้างด้วยน้ำอุ่น 5 นาที เน้นบริเวณผม ตา ซอกพับ ขาหนีบ รักแร้ นิ้วเท้า และอาจทำการรักษาที่จำเป็นเร่งด่วนไปพร้อมๆกัน เช่น การช่วยเปิดทางเดินหายใจ แล้วย้ายผู้ป่วยไปยัง cold zone
ผู้ปฏิบัติงานในโซนนี้ต้องระวังตัวเองไม่ให้เกิดการปนเปื้อนจากผู้ป่วยหรือสิ่งแวดล้อม (secondary contamination) โดยการใส่ PPE ที่เหมาะสม ขจัดสิ่งปนเปื้อนที่ติดอยู่ออก เครื่องมือ เสื้อผ้าที่อาจมีการปนเปื้อน (สารพวก organophosphate เมื่อได้รับแล้วสามารถขับออกทางเหงื่อ ซึ่งจะไปติดอยู่กับเสื้อผ้า เข็มขัด รองเท้า ซองปืนได้) ไม่ให้ใช้งานจนกว่าจะได้รับการขจัดสิ่งปนเปื้อนแล้ว
decontamination; ภาพจาก Vandenbergfire.us |
- Cold zone: โซนนี้ให้ตั้งอยู่บริเวณที่สูงกว่า hot zone และอยู่เหนือลม (upwind, uphill) ทำการประเมินผู้ป่วย คัดแยก (triage) และทำการรักษาตามอาการ ได้แก่ airway mx, O2, bronchodilator; IV จะพิจารณาให้เฉพาะในรายที่จำเป็น เช่น IV resuscitation, critical IV medication
อาจจะมีประชาชนจำนวนมากที่ไม่ได้ผ่านการ
decontaminate ที่จุดเกิดเหตุ แต่เดินทางมาที่โรงพยาบาลเองโดยตรง
เพราะฉะนั้นโรงพยาบาลต้องมีแผนรองรับ ตั้งโซน decontaminate เช่นเดียวกับ warm zone และเจ้าหน้าที่สวมชุด PPE level C ป้องกัน
(ผู้ป่วยที่เดินทางมาโรงพยาบาลยู่ห่างไกลจากจุดเกิดเหตุ
เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องใส่ PPE level A)
สารเคมีอันตรายแบ่งออกเป็น (อ่านเรื่องการรักษาเพิ่มเติมได้ที่
Antidote)
- Simple Asphyxiants คือกลุ่มของก๊าซที่เข้าไปแทนที่ O2 ในอากาศ ได้แก่ CO2, H2, N2, พวกก๊าซหมู่ 8 (Noble gas: He, Ne, Ar, Kr, Xe, Ra), simple hydrocarbon (methane, butane, propane) มักเกิดในที่ที่อับอากาศ ทำให้เกิดอาการ air hunger, tachypnea, confusion, seizure (FiO2 < 10%) รักษาโดยการให้ O2
- Irritant agents แบ่งตามความสามารถในการละลายน้ำออกเป็น
- Highly water-soluble agents มีอาการระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบน แสบตา ได้แก่ ammonia (NH3 อุตสาหกรรมทำความเย็น), Gas chloramine (เอา NH3 ผสมกับสารฟอกขาว (hypochlorite)), SO2, HCl, HF (ทำให้เกิด severe hypocalcaemia เกิด cardiac arrhythmia) รักษาโดยการให้ humidified O2, monitor pulmonary status; HF ต้อง monitor iCa และให้ Ca IV
- Intermediate water-soluble agents ทำให้เกิดอาการแสบตา คอ หลอดลม เกิด bronchospasm, lower pulmonary injury, delayed pulmonary edema ได้แก่ Chlorine (สระว่ายน้ำ), Hydrogen sulfide (H2S)
- Minimally water-soluble agents ได้แก่ Phosgene กลุ่มนี้อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองเพียงเล็กน้อย มีกลิ่นเหมือนหญ้าตัดใหม่ แต่ทำให้เกิด delayed onset ของ severe acute lung injury ในรายที่มี noncardiogenic pulmonary edema อาจต้องให้ ventilation with PEEP
- Systemic Asphyxiants ได้แก่
- กลุ่มที่แย่งจับกับ Hb ได้แก่ carbon monoxide (CO), methylene chloride (CH2Cl2) ซึ่งสันดาปเป็น CO จับกับ Hb เป็น carboxyhemoglobin
- กลุ่มที่ทำให้ Hb จับกับ O2 ไม่ได้ โดยการเปลี่ยน Fe2+ เป็น Fe3+ (methemoglobinemia) ได้แก่ nitrites, benzocaine, phenazopyridine (Pyridium); ให้ตรวจวัด carboxyhemoglobin และ methemoglobin จากเครื่อง pulse co-oximeters หรือ co-oximetry จาก ABG; รักษาโดยการให้ O2, ให้ methylene blue ใน methymoglobinemia
- กลุ่มที่ทำให้ cell ใช้ O2 ไม่ได้ ได้แก่ cyanide, hydrogen sulfide (H2S), phosphine (PH3), sodium azide (NaN3) เกิดอาการปวดศีรษะ สับสน ชัก มี severe acidosis รักษา cyanide toxicity โดยการให้ hydroxycobalamin
- Nerve agents ได้แก่ GA (tabun), GB (sarin), GD (soman), VX, GF เป็นสารกลุ่ม organophophates (อ่านเรื่อง organophosphate) รักษาโดยการให้ atropine, 2-PAM (ก่อนที่จะเกิด aging phenomenon เช่น VX 24 hr, soman 5-8 min) ในสถานการณ์ที่มีผู้ป่วยจำนวนมากอาจให้ยาในขนานครึ่งเดียวเพื่อที่จะสามารถให้กับจำนวนคนได้มากที่สุด; seizure ให้ BZD การให้ phenytoin จะไม่ได้ผล
- Incapacitating agents เป็นสารที่ทำให้ไร้สมรรถภาพชั่วคราว เช่น Mace, nacrotic vapors (fentanyl derivative), LSD, BZD, vomiting agents (Da, Dc, Dm adamsite)
- Vesicants เช่น sulfur mustard ทำให้เกิด blister ภายใน 2-18 ชั่วโมง; phosgene oxime, Lewisite ทำให้เกิดอาการ severe skin erythema ทันที; ทุกตัวจะทำให้เกิด ocular damage (corneal vesicle, sloughing of epithelium); รักษาโดยการล้างน้ำมากๆ serial eye examination, skin care; ทำให้เกิดการลดลงของ WBC ช่วง 3-5 วัน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- Biotoxins ได้แก่ botulinum toxin, tetanus toxin, staphylococcal enterotoxin B, Diphtheria toxin, Ciguatoxin, Ricin, Tetrodotoxin, Saxitoxin, Trichothecene toxin เบาะแสที่จะทำให้สงสัยว่ามีการใช้ biotoxin เป็นอาวุธ เช่น ถ้าเกิดโรคที่พบได้น้อยในธรรมชาติ มีผู้ป่วยหลายรายที่มาด้วยอาการคล้ายคลึงกัน ผู้ป่วยเป็นคนสุขภาพแข็งแรงมาก่อน คนหรือสัตว์เจ็บป่วยในบริเวณเดียวกัน ตรวจสอบพบสถานที่ระบาด
Ref: Tintinalli ed8th
ขอบคุณคับ ^^
ตอบลบขอบคุณคับ ^^
ตอบลบขออนุญาตนำข้อมูลบ้างส่วนไปเผยแพร่เพื่อการฝึกอบรม และใช้ในการทำงาน ขอขอบคุรครับ
ตอบลบวีระพล สนง.สสจ.โคราช