Mass gathering (ภาวะฝูงชน)
คือการรวมตัวกันของคนจำนวนมากกว่าปกติ
(> 1,000 คน) มาทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในสถานที่และในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
ยังอาจประยุกต์ถึงสถานการณ์ที่คนมารวมกันอย่างหนาแน่นในพื้นที่จำกัดซึ่งจะเข้าไปให้การช่วยเหลือได้ยากลำบาก
ยกตัวอย่างเช่น
งานชุมนุมทางการเมือง/ศาสนา การแข่งขันกีฬาระดับชาติ/นานาชาติ คอนเสิร์ต
เป็นต้น
ส่วนประกอบของแผนปฏิบัติการทางการแพทย์
(Medical action plan)
1.
หัวหน้าฝ่ายการแพทย์
(medical director)
เริ่มจากการระบุว่าจะให้ใครเป็นหัวหน้าในการกำกับดูแลทางการแพทย์
(medical oversight) ซึ่งควรที่จะเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
และมีประสบการณ์ในการกำกับงานบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)
มีทักษะในการดูแลผู้ป่วยภายนอกโรงพยาบาล
มีความระแวดระวังสภาพแวดล้อม โดยหัวหน้าฝ่ายการแพทย์จะเป็นคนทำแผนปฏิบัติการทางการแพทย์
รวมถึงเขียนระเบียบการปฏิบัติดูแลรักษาให้เจ้าหน้าที่การแพทย์ที่ปฏิบัติงานด้วย
ซึ่งควรที่จะสอดคล้องกับ
EMS protocol ในท้องถิ่นนั้นๆ
2.
ระบบการบัญชาการและการควบคุม
(Command
and Control)
ใช้ระบบสั่งการ Incident
command system (ICS) โดยแบ่งออกเป็น 5
ส่วน
ได้แก่ ส่วนบัญชาการ (Command) ส่วนแผนงาน (Planning) ส่วนการบริหาร (Finance/Administration) ส่วนสนับสนุน
(Logistics) และส่วนปฏิบัติการ (Operations) โดยผู้บัญชาการเหตุการณ์ (incident
commander) ควรที่จะเป็นคนที่มีประสบการณ์และมีความเชียวชาญในการบัญชาเหตุการณ์
เช่น หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น
ICS structure; ภาพจาก osha.gov |
ส่วนทีมแพทย์มีบทบาทโดยเป็นสาขาหนึ่งในส่วนปฏิบัติงาน
โดยหัวหน้าฝ่ายแพทย์มีหน้าที่รับมอบงานและรายงานกลับตามสายการบังคับบัญชา
(สู่หัวหน้าส่วนปฏิบัติการและสู่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ตามลำดับ)
ส่วนสนับสนุน (Logistics)
เป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งใน
ICS ซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับฝ่ายการแพทย์ให้พร้อมใช้เสมอ
เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย
(The Safety Officer: SO) จะทำหน้าที่ติดตาม
ดูแลด้านความปลอดภัยแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน รวมถึงมีมาตรการป้องกันเหตุการณ์ร้าย
และมีการติดต่อกับฝ่ายตำรวจในการเตรียมพร้อมให้การสนับสนุนทันทีเมื่อมีความต้องการ
3. การสำรวจเพื่อวางแผน
(Reconnaissance)
- ตำแหน่งที่จัดงาน: ต้องไปสำรวจสถานที่จริง ดูสภาพภูมิประเทศ ดูสิ่งกีดขวางต่างๆ การระบายอากาศ การสาธารณสุขเพียงพอหรือไม่ สิ่งก่อสร้างแข็งแรงมั่นคง จะพังทลายได้หรือไม่ ป้ายบอกทางเข้า-ออกฉุกเฉิน ความปลอดภัยต่างๆ การป้องกันไฟไหม้ ปัญหามลพิษ คนมีโอกาสเหยียบกันตายหรือไม่
- ตั้งจุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ใดบ้าง (จุดช่วยเหลือใช้เวลาเดินประมาณ 5 นาทีหรือ200 เมตร; ทำ BLS ได้ภายใน 4 นาทีและทำ ALS ภายใน 8 นาที) การเดินทางและการย้ายผู้ป่วยภายในงานด้วยวิธีใด จุดสั่งการอยู่ที่ไหน ต้องใช้จำนวนคนปฏิบัติงานระดับใด จำนวนเท่าไหร่ ปัญหาความอ่อนล้าในการทำงาน (2 คนต่อ 8 ชั่วโมงโดยแบ่งทำงานคนละ 4 ชั่วโมง) ความสามารถในการรองรับงานที่มากกว่าที่คาดไว้ วางแผนอุบัติเหตุ ซักซ้อม ติดต่อกับผู้จัดงาน ติดต่อกับระบบบริการแพทย์ฉุกเฉินในท้องถิ่น ติดต่อกับทีมรักษาความปลอดภัย ตำรวจ หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลถ้ามีอุบัติภัยหมู่เกิดขึ้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใครเป็นคนรับผิดชอบ
- ฤดู: ระวังโรคที่ระบาดตามฤดูกาล เช่น ไข้หวัดใหญ่ หน้าร้อนอาจจะมีปัญหาโรคที่เกิดจากความร้อนได้ ปัญหาการขาดน้ำ หน้าฝนอาจจะมีอุบัติเหตุมากกว่าปกติได้
- จำนวนผู้ร่วมงาน ประเภทของงานจะมีจำนวนผู้ป่วยไม่เท่ากัน (งานกีฬา (0.3-1.6:1,000) marathons (24:1,000) Rock concert (0.96-17:1,000)) มักจะมีปัญหาเรื่องยาเสพติดและการดื่มสุรา พฤติกรรมรุนแรง; งานชุมนุมทางศาสนามักจะมีคนป่วยและคนที่ไม่แข็งแรงมาร่วมงานหรืองานที่มีคนสูงอายุมามากๆซึ่งอาจต้องการหน่วยพยาบาลมากกว่าปกติ การชุมนุมทางการเมืองอาจจะมีความรุนแรงเกิดขึ้นได้ อาจจะมีการใช้แก๊สน้ำตา
- อายุ: มีเด็กและคนสูงอายุหรือไม่ เพราะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและอุบัติเหตุ มีปัญหาสุขภาพอะไรที่ต้องระวังเป็นพิเศษหรือไม่ ต้องเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์พิเศษหรือไม่
- สัญชาติ ศาสนา: งานมีคนหลายชาติหลายภาษาอาจต้องการบริการล่าม บริการอาหารชนิดพิเศษ ป้าย แผ่นพับและการประกาศต้องพูดหลายภาษา ปัญหาการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศหรือการเปลี่ยน time zone การฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับชาวต่างชาติ ปัญหากรุ๊ปเลือดบางชนิดที่พบน้อยในคนต่างชาติ อาจต้องใส่กรุ๊ปเลือดตอนลงทะเบียนหรือไม่
- เพศหญิงจะมีปัญหาโดยเฉพาะเช่น ตั้งครรภ์ ประจำเดือน สุขอนามัย
- มีคนสำคัญ (VIP) มาร่วมงานหรือไม่ ต้องแยกทีมดูแลเป็นพิเศษหรือไม่
4.
ทีมทำงานในสถานที่จัดงาน (Field team)
- คาดการณ์ปริมาณผู้ป่วย
- จำนวนบุคลากรโดยประมาณได้แก่ แพทย์ 1-2 คน:50,000 ; paramedic/EMT 1 คน:10,000 ; สอนบุคลากรทำ CPR/AED; RN และ EMT สามารถทำการคัดแยกผู้ป่วยและรักษาได้; จัดการดูแลอาสาสมัคร
5. อุปกรณ์การแพทย์
การเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้นอกจากจะขึ้นกับระดับของผู้ปฏิบัติงานแล้วยังต้องพิจารณาเป้าหมายของภารกิจ
เช่น การรีบส่งผู้ป่วยอาการหนักออกไปยังโรงพยาบาลโดยเร็วอาจจะเป็นการดีกว่าการพยายามรักษาเอง
เพราะจะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรในการดูแลผู้ป่วยรายอื่นๆอีกปริมาณมาก การสำรองอุปกรณ์ของใช้ควรให้ความสนใจแก่อาการเจ็บป่วยที่จะมีโอกาสจะพบได้มากกว่า
เช่น ปวดกล้ามเนื้อ แผลพุพอง ปวดศีรษะ เป็นต้น มากกว่าอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงแต่มีโอกาสเกิดได้น้อย
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับ
mobile unit ตามระดับของผู้ปฏิบัติงาน
สำหรับ
Fixed units จะมีอุปกรณ์เพิ่มสำหรับการทำแผลและเย็บแผล
รวมถึงยาสำหรับรักษาอาการที่พบได้บ่อยๆเพิ่มเติม เช่น analgesic
(paracetamol, NSAIDs, morphine), antacids, antiemetic, prednisolone,
activated charcoal, ATB (PO/ointment), RSI
|
6. ระบบสื่อสาร (Communications) เลือกวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม
เช่น ใช้ธงสัญญาณ, walkie-talkie (ระยะ 1-3 กม.), โทรศัพท์ (ถูก
แต่อาจใช้ไม่ได้ในภาวะฉุกเฉิน), วิทยุสื่อสาร
7. ระบบบริการสุขภาพ (Local health care system) และระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency
medical services)
- อาจต้องมีการเฝ้าระวังโรค การฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า
- จะส่งผู้ป่วยไปรพ.อย่างไร ด้วยวิธีใด โรงพยาบาลใกล้เคียงมีที่ใดบ้าง มีความสามารถระดับใดเช่น เป็นศูนย์อุบัติเหตุ มีศัลยแพทย์ทั่วไป/ทรวงอก เปิดห้องผ่าตัดได้ตลอดเวลา มีธนาคารเลือด ไอซียูรับได้กี่เตียง จะส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลอย่างไรเส้นทางใด ใช้เวลาเท่าไหร่ จะสื่อสารระหว่างทีมในสถานที่จัดงานและโรงพยาบาลอย่างไร
8. ระบบเอกสาร (documentation) ต้องมีแบบฟอร์มการบันทึก
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็น แต่ไม่มากเกินไป สามารถบันทึกได้ในหน้าเดียว
9. ประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์
(Medical liability coverage) อาจจะทำในรูปประกันกลุ่ม
ควรปรึกษากับผู้จัดงาน
10. การพัฒนาคุณภาพ
ทบทวนพิจารณาองค์ประกอบแต่ละอย่าง
ว่าสิ่งไหนทำดีดีแล้วและสิ่งไหนต้องการการพัฒนา
สรุปข้อมูลที่ต้องมีในการทำแผนปฏิบัติการทางการแพทย์
|
Ref: Tintinalli ed8th, เอกสารประกอบการสอน พญ.สมจินตนา เอี่ยมสรรพางค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น