วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Prison medicine

Prison medicine

ปี 2558 มีผู้ต้องขังทั่วประเทศกว่า 330,000 คน เป็นผู้ชายประมาณ 85% เป็นคดียาเสพติด 70% (จาก amphetamine 90%) ส่วนหนึ่งต้องโทษจากการเสพยาเสพติด (30%) ที่เหลือเป็นประเภทจำหน่าย (70%)
ประชากรผู้ต้องขังจะพบปัญหาโรคเรื้อรังและการใช้ยาเสพติดได้บ่อย ปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ โรคติดเชื้อ (hepatitis, TB, HIV), ระบบหัวใจและหลอดเลือด (IHD, HT), ระบบหายใจ (asthma, COPD), ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และโรคทางจิตเวช
อีกกลุ่มหนึ่งคือ ผู้ต้องหาที่อยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ อาจถูกส่งมาตรวจด้วยปัญหา เรื่องการบาดเจ็บ (ก่อนหรือระหว่างการจับกุมตัว) ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาเสพติด หรือปัญหาความผิดปกติของพฤติกรรม

ปัญหาทางการแพทย์
  • Acute medical emergencies ให้รักษาไปตามมาตรฐานวิชาชีพ ถ้าต้องรับตัวไว้ในรพ.ให้แจ้งเจ้าพนักงานเรือนจำเพื่อการดำเนินการเรื่องความปลอดภัย
  • Trauma พบการทะเลาะวิวาทระหว่างผู้ต้องขังได้บ่อย หรือการบาดเจ็บในระหว่างการจับกุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่น neuropathy (superficial branch ของ radial nerve) หรือ ulnar styloid fracture จากการใส่กุญแจมือ, bruise จากการโดนตี; อันตรายจากปืนไฟฟ้า (TASER®) เช่น ลูกดอกแทงเข้าหลอดลม สมอง ตา หน้าอก อาจทำให้เป็น pneumothorax ได้ และมีรายงานว่าสามารถทำให้เกิด atrial fibrillation ได้
  • Drug abuse ประมาณกันว่า 70-80% ของผู้ต้องขังเคยเกี่ยวข้องกับการใช้ยาในทางที่ผิด อาจกำลังบำบัดภาวะติดยาโดยใช้ methadone ในกลุ่มนี้จึงอาจมี opioid tolerance เพราะฉะนั้นการระงับปวดจึงจะต้องใช้ยาในขนาดที่สูงกว่าปกติ ถ้าผู้ป่วยใช้ naltrexone อยู่ ซึ่งเป็น long-acting opioid receptor blocker (ใน opiate detoxification program) การให้ยากลุ่ม opioid จะไม่ได้ผล ต้องไปใช้ยากลุ่มอื่นๆในการระงับปวดแทน เช่น NSAIDs, ketamine
  • Psychiatric conditions ปัญหาความผิดปกติทางจิตมีความชุกสูงกว่าในประชากรทั่วไป ที่พบบ่อยที่สุดคือ เรื่องบุคลิกภาพแปรปรวน (personality disorder) นอกจากนี้ยังมีเรื่องซึมเศร้า นอนไม่หลับ วิตกกังวล และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท (schizophrenia) ประมาณ 7%; ปัญหาที่ผู้ต้องขังมักจะถูกส่งตัวมาจะเกี่ยวกับปัญหาบุคลิกภาพแปรปรวนและการทำร้ายตัวเอง อาจมาด้วย manipulative behavior (ใช้วิธีต่างๆในการให้ได้สิ่งที่ต้องการโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของบุคคลอื่น), แกล้งป่วย (fictitious illness, Munchausen-type behavior), อาจมาด้วย การสอดใส่หรือการกลืนสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย     
  • Excited delirium syndrome ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน อาจเกิดจาก stimulant drug อาจเป็นอาการของคนที่ใกล้เสียชีวิต จะมีลักษณะเพ้อคลั่ง ตัวร้อน ชีพจรเร็ว เหงื่อแตก ไม่มีท่าทีเหนื่อยอ่อน การรักษาต้องพยายามให้ผู้ป่วยสงบโดยเร็ว การผูกมัด (physical restraint) ควรใช้ให้สั้นที่สุด ให้ BZD เป็นยาตัวแรก อาจให้ antipsychotic (ถ้าไม่สงสัย long QT syndrome) หรือ ketamine; รักษาตามอาการ ได้แก่ cooled IVF, whole-body cooling, แก้ไข rhabdomyolysis, hyperkalemia, metabolic acidosis, hypoglycemia
  • Hepatitis C บางการศึกษาพบอุบัติการณ์สูงถึง 25-39% บุคลากรที่อาจต้องสัมผัสสารคัดหลั่งหรือเลือดของผู้ป่วยต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ประเด็นที่น่าสนใจ
  • Safety รพ.มีความรับผิดชอบในการทำให้บุคลากรไม่ตกอยู่ในอันตราย อาจจัดสถานที่ตรวจในบริเวณที่มีคนไม่มาก เพื่อลดความตื่นตระหนกของผู้ป่วยรายอื่น การที่มีผู้ต้องขังที่มีเครื่องพันธนาการจะช่วยลดโอกาสเกิดความรุนแรงได้ แต่ก็อาจทำให้ผู้ต้องขังถูกเข้าใจผิดว่าเป็นบุคคลอันตราย การบริหารจัดการควรทำด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้เจ้าพนักงานจะสามารถนำผู้ต้องขังกลับไปอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมได้โดยเร็ว
  • Restraints เมื่อผู้ต้องขังถูกคุมตัวออกนอกเรือนจำจะต้องใช้เครื่องพันธนาการ (ตรวน กุญแจมือ กุญแจเท้า โซ่ล่าม) อาจทำให้แพทย์ผู้ตรวจรู้สึกไม่สบายใจในการตรวจ แพทย์สามารถร้องขอให้เจ้าหน้าที่เรือนจำถอดเครื่องพันธนาการออกเพื่อความสะดวกในการตรวจรักษา ถ้าไม่เสี่ยงต่อการหลบหนีหรืออาจก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้น   
  • Medical confidentiality ปกติค่านิยมนี้ถือว่าเป็นอภิสิทธิ์ในการรักษาความลับระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ แต่บางครั้งการตรวจรักษาไม่อาจทำเป็นการส่วนตัวได้ เพราะไปขัดกับความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานเรือนจำในการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น ผู้ต้องขังอาจใช้สิทธิเรียกร้องประเด็นนี้ในศาลได้ ซึ่งการโต้แย้งควรตกเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายต่อไป
  • Communication ถ้าผู้ต้องขังถูกส่งตัวมาด้วยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของเรือนจำ ควรที่จะมีใบส่งตัว ข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วย เมื่อตรวจรักษาเสร็จสิ้นควรให้คำแนะนำเจ้าหน้าที่ถึงผลการตรวจ และพิจารณาถึงความปลอดภัยของผู้ต้องขังเมื่อกลับไปเรือนจำหรือกลับไปอยู่ในการควบคุมของตำรวจ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจะมาสังเกตอาการหรือบริหารยาให้แก่ผู้ต้องหาได้


Ref: Tintinalli ed8th  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น