วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การออกแบบแผนกฉุกเฉิน (Emergency Department design)

การออกแบบแผนกฉุกเฉิน (Emergency Department design)
การออกแบบควรที่จะสามารถรองรับผู้ป่วยหลากหลายประเภท หลายระดับความรุนแรง การออกแบบที่ดีจะสามารถลดความเครียด ความวิตกกังวล มีความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย สามารถรองรับการหมุนเวียนเข้า-ออกของผู้ป่วยปริมาณมากได้ รวมถึงการพร้อมรับภาวะพิเศษ เช่น ภัยพิบัติต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้
การออกแบบโครงสร้างภายในต้องสามารถยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ในอนาคต

ตำแหน่งและขนาดของแผนกฉุกเฉิน


  • ควรอยู่ใกล้กับทางเข้าหลักของรพ. สามารถเข้า-ออกนอกเวลาทำการของรพ. และสามารถมาถึงด้วยระบบขนส่งสาธารณได้ง่าย
  • สามารถเห็นได้ง่าย ป้ายดึงดูดความสนใจ ออกแบบให้แสดงถึงความเป็นมิตรและเต็มใจที่จะให้บริการ
  • มีที่จอดรถสำรองใกล้ ER สำหรับ on-call anesthetists, obstetricians, surgeons
  • มีทางเชื่อมต่อกับแผนกอื่นๆ เช่น radiology, Helipad, angiography suite, CCU, ICU, OR, wards
  • มีพื้นที่ว่างสำหรับ ambulance, decontamination area, mass casualty incident
  • ขนาดของแผนกฉุกเฉินขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ป่วย, level ของรพ.; มีการใช้ lean-led design ในการออกแบบ และทำ stimulation model ในการวิเคราะห์เพื่อหาขนาดที่เหมาะสม


สภาพทั่วไปทางกายภาพที่ควรเป็นของแผนกฉุกเฉิน

1. มีการบอกทางและการสื่อสารที่ดี

ภาพจาก digitaldisplaytechnologies.wordpress.com
  • มีป้ายบอกทางอยู่ในทุกทางแยกใหญ่ และทุกๆ 30 เมตร หรือใช้เทคโนโลยีมาช่วย เช่น electronic wayfinding
  • มีป้ายบอกสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เครื่องดื่ม ห้องน้ำ แท็กซี่ เห็นได้ชัดจากทางเดิน
  • ป้ายมีอักษรเบลล์ ป้ายบอกหลายภาษา มีระบบสำหรับคนที่ใช้ hearing aid เช่น hearing loop system หรือ infra-red system
  • ป้ายให้ข้อมูลถึงกระบวนการของแผนกฉุกเฉิน เช่น คัดแยกความรุนแรง ลงทะเบียน ไปพื้นที่รอตรวจ เป็นต้น
2. ด้านสภาพแวดล้อม
  • พื้นผิว ต้องทำความสะอาดง่ายด้วย disinfectant และไม่เสียหาย มีตัวกันชนที่เตียงและกำแพงในจุดที่อาจโดยกระแทก
  • แสงสว่าง ใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติ ไม่ทำให้การดูสีผิวของผู้ป่วยผิดเพี้ยนไป มีทางให้แสงภายนอกเข้ามา สามารถเห็นสภาพอากาศภายนอกได้ แสงไฟควรที่จะปรับความเข้มสว่างได้ ปรับแสงให้ส่งเสริมกับ diurnal rhythm ป้องกันไม่ให้มีแสงจ้าแยงตา โดยเฉพาะไฟเพดาน บริเวณที่ต้องทำหัตถการควรมีโคมส่องสว่างระดับ 30,000 lux
  • เสียง แก้ปัญหาเรื่องเสียงดังเพื่อลดความเครียด ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ และช่วยรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย เช่น ที่ประจำการของเจ้าหน้าที่ที่นั่งพูดคุยกัน ผู้ป่วยอาจจะได้ยินได้ง่าย และควรมีบริเวณที่ใช้ส่งเวร; มีระบบเพื่อลดการใช้ลำโพงประกาศให้น้อยที่สุด เช่น การประกาศตามหาเจ้าหน้าที่
  • ความเป็นส่วนตัว ทำเป็นห้องแยกเดี่ยว
  • ศิลปะ ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล ศิลปะควรนำเสนอถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาพมีความเป็นรูปธรรมมากกว่าภาพเชิงนามธรรม เป็นภาพโดยศิลปินท้องถิ่น ศิลปะเด็ก บอร์ดจัดภาพ วาดภาพบนผนังและเพดาน
3. การควบคุมการติดเชื้อ
  • มีอ่างล้างมือแบบไม่ต้องใช้มือเปิดปิดในบริเวณที่ทำการรักษา ในทุกห้องตรวจ และในบริเวณต่างๆ เช่น ห้อง resuscitation, บริเวณที่ตรวจ POCT, ห้องเจ้าหน้าที่
  • มี alcohol-based hand rubs (ABHRs) ติดที่ผนัง ทุกๆทางเข้าออก และบริเวณที่ทำการตรวจรักษา ตำแหน่งที่ติดต้องระวังไม่อยู่ในจุดที่เด็กหรือผู้ป่วยบางกลุ่มอาจจะเอาไปรับประทานได้
4. โครงสร้างพื้นฐานทาง ICT
  • ออกแบบร่วมกับฝ่าย IT เช่น ระบบสื่อสารเสียง ภาพ nurse call ระบบความปลอดภัย กล้อง CCTV
  • อุปกรณ์ IT ต่างๆ เช่น Desktop computers อย่างน้อย 1 เครื่อง ระหว่างห้องตรวจ 2 ห้อง และมี desktop phone 1 เครื่องในจุดประจำการทุกๆ 1.2 เมตร; เครื่อง printer ให้มาตรฐานเดียวกัน การตั้งค่าให้สั่งพิมพ์ควรส่งไปที่ printer serve แทนการส่งไปที่เครื่อง printer แต่ละตัวโดยตรง เพื่อป้องกันความเสียหายเมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสีย; mobile phone มีสัญญาณเพียงพอ
  • มี Wi-Fi infrastructure เพียงพอ ทั้งสำหรับผู้ป่วยและระบบบอกตำแหน่งผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่
5. ระบบความปลอดภัย
  • เช่น ระบบ alarm แบบ fixed และ potable alarm; CCTV ทุกทางเข้าออกและจุดเสี่ยง
6. Service panels
  • ได้แก่ oxygen outlets, medical air outlet, suction outlets, power outlets, nitrous oxide outlet + scavenging unit, data outlets มีจำนวนเหมาะสมในแต่ละห้อง




การออกแบบบริเวณต่างๆในแผนกฉุกเฉิน

พื้นที่สำหรับรถพยาบาล (Ambulance zone)
ภาพจาก news.christianacare.org
  • เป็นบริเวณขนส่งผู้ป่วยที่มากับรถพยาบาล มีทางเข้าทางออกแยกกัน พื้นที่จอดขนาดอย่างน้อย 4 x 6 เมตรต่อคัน (พอสำหรับนำ stretcher ลงจากรถ)  ด้านหน้ามีพื้นที่พอให้กลับรถได้ มีความเป็นส่วนตัวจากสายตาคนภายนอก สามารถเข้าถึงห้อง resuscitation ได้อย่างรวดเร็ว อยู่ใกล้กับห้องเก็บอุปกรณ์ ambulance และอุปกรณ์ทำความสะอาด
  • สิ่งจำเป็น เช่น ป้าย สัญลักษณ์ที่พื้น แสงเพียงพอ CCTV หลังคา พื้นกันลื่น ระบบระบายน้ำ รถเข็น มี anti-soiling system (เท้า ล้อ) ที่ล้างมือ ล้างรถเข็น 
  • พื้นที่นี้สามารถใช้ประโยชน์อื่นๆได้ เช่น ใช้เป็นจุด decontamination, เป็นจุด triage ในกรณี mass casualty incidents, ใช้เป็นจุดจอดรถในกรณีฉุกเฉิน (ตำรวจ ดับเพลิง)


พื้นที่สำหรับขจัดการปนเปื้อน (Decontamination area)
ภาพจาก mja.com.au
  • อาจใช้พื้นที่เดียวกับที่จอดรถพยาบาล แยกโซนผู้ป่วยเดินได้และเปล กันเป็นที่ถอดเสื้อผ้า ที่ล้างตัว ที่เช็ดตัว และจุดเข้าห้องฉุกเฉิน
  • มีสายยางและฝักบัว อาจมีระบบกักเก็บน้ำเสีย ดูแลเรื่องการหมุนเวียนอากาศ ความเป็นส่วนตัวจากสายตาคนภายนอก


ห้องเก็บอุปกรณ์สำหรับอุบัติภัยและขจัดการปนเปื้อน
  • อยู่ติดกับ decontamination zone และ ambulance; มีพื้นที่ด้านนอกห้องสำหรับให้สวมชุด PPE
  • พื้นที่ใหญ่พอสำหรับศักยภาพของแผนกฉุกเฉินของรพ.ในการรับภัยพิบัติ
  • เก็บอุปกรณ์ที่ต้องใช้เมื่อเกิดภัยพิบัติ ทั้ง mass casualty incident, CBR (chemical, biological, radiation) incident และอื่นๆ เช่น ที่นั่งตรวจเช็คอุปกรณ์ ปลั๊กชาร์ตไฟ ที่แขวนเสื้อที่ต้องใช้ ต้องแน่ใจว่า PPE ไม่เสียหายจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ หรือ แสงแดด



ห้องเก็บอุปกรณ์สำหรับรถพยาบาล
  • เก็บเวชภัณฑ์ที่ต้องหมุนเวียนใช้ มีพื้นที่สำหรับทำความสะอาดอุปกรณ์ บริเวณที่ทิ้งขยะพิษและวัตถุแหลมคม
  • อาจสร้างรวมเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนของเจ้าหน้าที่ ambulance


จุดคัดแยกผู้ป่วย (triage)

ภาพจาก arup.com
ภาพจาก hfma.org
  • ตำแหน่งอยู่ที่ทางเข้า มีป้ายบอกชัดเจน เช่น มาตรงนี้เป็นจุดแรก”; รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย
  • มีอุปกรณ์จำเป็น เช่น monitoring equipment, อุปกรณ์และยารักษาเบื้องต้น (ทำแผล ที่ดาม ยาแก้ปวด), ที่ชั่งน้ำหนัก (รวมถึงของเด็กทารก), รถเข็น, ระบบสื่อสาร, pneumatic tube system, ระบบรักษาความปลอดภัย (กดขอความช่วยเหลือ, CCTV)
  • สามารถทำเป็น Fast Track area ได้ โดยมีแพทย์ประจำที่จุด triage ทำการประเมินเบื้องต้น ส่งเอ็กซเรย์ ตรวจเลือด สั่งการรักษาที่จำเป็นไปก่อนจะส่งไปที่อื่นต่อไป
  • อาจมีระบบอื่นๆ เช่น self-triage (self-check-in)


จุดลงทะเบียนและต้อนรับ
  • อยู่ในบริเวณเดียวกับ triage
  • อาจทำเป็น mobile registration ที่ bedside


พื้นที่สำหรับรอตรวจ (waiting area)

  • ออกแบบเพื่อลดความกลัว ความวิตกกังวล ทำให้สะดวกสบาย มีสิ่งที่ช่วยฆ่าเวลาระหว่างรอ ได้แก่
    • ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะ  
    • ขนาดพื้นที่เพียงพอสำหรับผู้ป่วย ญาติ และเพื่อนของผู้ป่วย
    • สีที่ทำให้รู้สึกสงบ แสงใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติ
    • เพลงที่ทำให้รู้สึกสงบ ไม่ซ้ำไปมา
    • เสียง ควบคุมไม่ให้ดังเกินไป มีความเป็นส่วนตัว
    • อาหารและน้ำดื่ม
    • ห้องน้ำมีเพียงพอ มีป้ายบอกชัดเจน และมีสำหรับคนพิการ
    • เก้าอี้สะดวกสบาย เพียงพอ ยึดกับพื้น จัดไว้เป็นกลุ่มๆ ไม่หันหน้าชนกัน
    • มีพื้นที่สำหรับให้นม พื้นที่เปลี่ยนผ้าอ้อม
    • มีที่สำหรับชาร์ตมือถือ
    • ที่เล่นสำหรับเด็ก โดยต้องสะอาดและปลอดภัย
    • ต้นไม้ ศิลปะ วาดภาพบนผนังและเพดาน หรือมีจอภาพแบบ interactive
    • มีสิ่งใช้ฆ่าเวลา เช่น ทีวี ตู้ปลา นิตยสาร หนัง
    • มีความรู้สุขภาพให้อ่าน/ดูระหว่างรอ เช่น การสูบบุหรี่ การติดแอลกอฮอล์
    • มีจอแสดงคิว อาจมีระบบ electronic เพื่อตามผู้ป่วยเมื่อถึงคิว สำหรับคนที่ไม่ต้องการรอในห้องรอตรวจ
  • ออกแบบเพิ่มเติมสำหรับคนกลุ่มพิเศษ เช่น
    • คนอ้วนให้มีเฟอร์นิเจอร์ 20% สำหรับคนตัวใหญ่ โดยจัดวางผสานไปกับเฟอร์นิเจอร์ปกติ ห้องน้ำ ใช้สุขภัณฑ์แบบตั้งกับพื้น มีที่ให้คนเข้าไปช่วยได้ทั้ง 2 ข้าง กำแพงต้องแข็งแรงที่จะติดราวจับได้ อ่างล้างมือต้องรองรับแรงกดได้
    • เด็กเล็ก จัดพื้นที่รอตรวจแยกออกมาจากที่รอตรวจหลัก ตบแต่งให้เหมาะกับเด็กเล็ก มีพื้นที่เล่น ทีวี วีดีโอ ขนาดพื้นที่ใหญ่พอสำหรับรถเข็นเด็ก พ่อแม่ พี่น้องที่มาด้วย
    • คนสูงอายุ มีที่จอดรถใกล้ทางเข้าอาคาร มีรถเข็นบริการโดยไม่ต้องร้องขอ อาจต้องจัดพื้นที่เป็นส่วนตัว เช่น ในคนที่มีปัญหาทางการได้ยินอาจต้องพูดเสียงดังกว่าปกติ สามารถเข้าถึงห้องน้ำได้ง่าย เก้ามีพนักพิงสูง


ความปลอดภัย

ภาพจาก umc.edu
  • ไม่ให้มีที่สำหรับหลบซ่อนตัว มี CCTV ติดตั้งที่เห็นได้ชัดเจน มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้เห็นตลอดเวลา มีตัวกั้นทางกายภาพ เช่น กระจกกั้นที่จุด triage ของใช้ไม่ควรให้มีของแหลม
  • ควบคุมการเข้า ER เช่นใช้ป้ายผ่าน


ห้องผู้ป่วยวิกฤต (trauma and resuscitation room)

ภาพาจาก regionstraumapro.com
  • Trauma room ขนาดอย่างน้อย 30 ตารางเมตร และห้อง resuscitation room ขนาดอย่างน้อย 25 ตารางเมตร; เข้าได้จาก waiting area, ambulance และ helipad; อยู่ใกล้ CT room, ICU, OR; รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย
  • มีอุปกรณ์และยาพร้อมใช้ สามารถเข้าหาผู้ป่วยได้รอบเตียง มีพื้นที่เหลือรองรับคนและเครื่องมือได้เต็มที่ (เช่นเครื่อง US, ECMO), มี workstation (computer, phone, PACs), มี emergency alarm/nurse call, รางน้ำเกลือติดเพดาน, ไฟผ่าตัด เป็นต้น


ห้องแยก (isolation rooms)

ภาพจาก rayatbahrahospital.com
  • ควรมีอย่างน้อย 1 ห้อง มี anteroom ใช้เก็บ PPE, linen, supplies และขยะภายในห้อง; สามารถเข้าจาก triage area ได้โดยตรง; มีอุปกรณ์พร้อมเท่าเทียมกับห้องที่ใช้ตรวจรักษา
  • สามารถเปลี่ยนระหว่าง positive pressure กับ negative pressure สำหรับ respiratory isolation ได้และต้องเชื่อมกับระบบไฟฉุกเฉินของรพ.
  • มีระบบสื่อสารออกมานอกห้องได้ โดยไม่ต้องออกจากห้อง; อาจใช้เครื่อง macerator ในการกำจัดของเสียและอุปกรณ์ขจัดเชื้อแยกเป็นส่วนตัว


พื้นที่ตรวจรักษาทั่วไป

ภาพจาก robinsmorton.com
ภาพจาก architecmagazine.com
ภาพจาก Ref. guideline
  • มีพื้นที่อย่างน้อย 12 ตารางเมตรในแต่ละห้อง พอสำหรับเตียง อุปกรณ์ คนที่มาด้วยอย่างน้อย 2 คน; ใน 1 ER จำนวนเตียงดีที่สุดคือ 12-13 เตียง
  • มีการออกแบบที่นิยม 2 แบบ คือ linear และ curvilinear (ribbon design) โดย curvilinear (40 foot radius) จะเรียงเป็นแนวโค้ง ข้อดีคือ จากจุดหนึ่งจะสามารถ observe ได้ถึง 8 ห้อง (แบบ linear ดูได้ 4 ห้อง) แต่เสียความ flexibility เมื่อต้องการปรับเปลี่ยน
  • มีกำแพงกั้นถึงเพดาน ด้านหน้าเป็นประตูบานเลื่อน (หรือผ้าม่าน) เจ้าหน้าที่สามารถสังเกตอาการได้ง่าย
  • อุปกรณ์ภายในห้อง เช่น nurse call/emergency alarm, ophthalmoscope/otoscope, monitoring equipment, examination light, disposable bin, gowns, bedside equipment อื่นๆ
  • อื่นๆ เช่น แสงไฟสีธรรมชาติ ไฟหรี่ได้ ตบแต่งภายใน


พื้นที่ดูแลภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช (Acute mental health area)
  • ควรมีพื้นที่แยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วน interview และส่วน examination; มีพื้นที่อย่างน้อย 16 ตารางเมตรในแต่ละส่วน รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย ตั้งอยู่ห่างออกไปจากจุดรักษาอื่นๆ
  • การออกแบบให้รู้สึกสงบ สุขสบาย กันเสียงจากภายนอก มีทางให้คนเข้ามาช่วยได้ง่าย สามารถเฝ้าระวังได้ง่าย มีอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น smoke detector, alarm button; ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึง medical gases หรือ electrical outlets ได้ ไม่มีจุดที่จะ hanging ไม่มีของใช้ขว้างปาหรือของแหลมคม ประตูแบบเปิดออกนอก ถ้ามี CCTV ต้องซ้อนไว้เพื่อลดความวิตกกังวล
  • อื่นๆ เช่น รพ.อาจทำ mental health assessment units ที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง


Behavioral assessment room (BAR)/Safe assessment room
  • สำหรับคนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ห้องอยู่ติดกับจุด triage และห้อง resuscitation มีพื้นที่อย่างน้อย 16 ตารางเมตร เมื่อผู้ป่วยสงบลงจึงพาออกมาอยู่ในบริเวณปกติ ต้องรักษาความเป็นส่วนตัวและให้เกียรติผู้ป่วย
  • ต้องมีเจ้าหน้าที่อยู่ด้วยตลอดเวลา มีเตียงและอุปกรณ์สำหรับผูกยึด



Fast Track area/consultation area

ภาพจาก smmcnj.com
  • เป็นพื้นที่สำหรับดูแลผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย ไม่ต้องการ resuscitation หรือ monitoring; พื้นที่ต่อจากจุด triage/reception และ waiting room; สามารถไปห้องเอ็กซเรย์ได้ง่าย
  • มีเวชภัณฑ์ใช้ร่วมกัน ไม่แยกเป็นแต่ละห้อง เช่น ทำแผล เย็บแผล เปิดเส้น
  • เป็นพื้นที่ใหญ่รวมห้องตรวจและรักษาเฉพาะอื่นๆ ได้แก่
    • ห้องตรวจตา (Eye room) มีพื้นที่อย่างน้อย 12 ตารางเมตร มี Snell chart; มี slit lamp, fundoscopy; หรี่ไฟได้ ปิดไฟมืดได้ มีอ่างใช้ล้างตาได้ มีที่เป่าผม มีตู้เย็นเก็บยา มี computer สั่งการรักษาและ discharge ได้จากในห้อง
    • ห้องตรวจหูคอจมูก (ENT room) มีพื้นที่อย่างน้อย 12 ตารางเมตร มี suction, ENT microscope, head lamp; ทำ aural toilet ได้; สามารถรวมกับ eye room ได้
    • ห้องเฝือก (plaster room) มีพื้นที่อย่างน้อย 20 ตารางเมตร มีอุปกรณ์สำหรับทำ procedural sedation ได้, workstation (computer, phone, PACs), X-ray viewing; plaster equipment, plaster saw, และอื่นๆ; อาจรวมกับ procedure room
ภาพจาก Ref. guideline
  • ห้องทำหัตถการ (procedure room) อาจอยู่ใน Fast track area มีพื้นที่อย่างน้อย 20 ตารางเมตร ใช้เย็บแผล เจาะเลือดเด็กเล็ก เจาะหลัง เจาะปอด/ท้อง ใส่ ICD/Foley’s catheter; ถ้าต้องทำ procedural sedation บ่อย ควรอยู่ใกล้กับห้องฉุกเฉิน

ภาพจาก mcdmag.com

ห้องสัมภาษณ์พิเศษ (Interview room)
  • มีพื้นที่อย่างน้อย 12 ตารางเมตร สามารถอยู่ได้ 3 คนโดยไม่รู้สึกอึดอัด ใช้สัมภาษณ์คนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมได้อย่างปลอดภัย
  • กันเสียงภายนอก ภายนอกสามารถเฝ้าระวังได้ง่าย (มีกระจกมองได้ด้านเดียว หรือ CCTV) ไม่มีของใช้ขว้างปา ไม่มีของแหลมคม มีปุ่มขอความช่วยเหลือ ประตู 2 ทางเปิดออกด้านนอก ล็อคจากด้านนอก ห้องเป็นรูปสี่เหลี่ยม ไม่มีมุมแคบที่อาจโดนผู้ป่วยต้อนเข้ามุม มี smoke detector มีสิ่งเร้าน้อย


ห้องสำหรับญาติผู้ป่วยวิกฤต (Distressed relatives’ room)
  • ขนาดอย่างน้อยให้ญาติและเพื่อนอยู่ได้ 4 คน (ตามบริบททางสังคมนั้นๆ) ใช้สำหรับซักประวัติเพิ่ม ใช้แจ้งข่าว
  • มีความเป็นส่วนตัว เงียบ มีที่นั่งสบาย รู้สึกสงบ อยู่ใกล้ห้อง resuscitation แต่ไม่ใกล้เกินไปจนสามารถเห็นหรือได้ยินการรักษา อยู่ใกล้ห้องน้ำ มีน้ำดื่ม โทรศัพท์ ที่ชาร์ตมือถือ


ฐานปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ (Staff work stations)

ภาพจาก staugustine.com
  • มีโต๊ะทำงานที่ฐานและกระจายไปตามจุดต่างๆ เช่น อยู่ระหว่างห้องตรวจ ทำให้ไม่ต้องทิ้งผู้ป่วยไปไกล
  • โต๊ะทำงานกว้างอย่างน้อย 1.2 เมตร ลึก 0.6 เมตร จำนวนโต๊ะ = 1.5 x (จำนวนแพทย์โดยเฉลี่ยในเวรเช้า + จำนวนพยาบาลโดยเฉลี่ยในเวรเช้า) อาจมีโต๊ะเฉพาะสำหรับ in charge, clerk; ออกแบบคำนึงถึง ergonomic
  • มีระบบที่ทำให้หัวหน้าในเวรรู้ถึง ambulance notification phone/radio; โทรศัพท์ภายนอก การสื่อสารเมื่อเกิดภัยพิบัติ วิทยุ โทรทัศน์เพื่อรับข่าวสารภายนอก
  • มีอุปกรณ์และเครื่องสำนักงานที่จำเป็นครบถ้วน

ทางเดินในแผนก (Department corridors)
ภาพจาก Ref. guideline
  • พื้นที่ตรวจรักษาทางเดินต้องกว้างอย่างน้อย 3 เมตร เตียงพร้อมอุปกรณ์สามารถผ่านพร้อมกันได้ 2 เตียง ส่วนพื้นที่อื่นๆขนาดตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
  • มีที่จอดสำหรับรถต่างๆ เช่น รถ ECG, ultrasound และมีปลั๊กสำหรับชาร์ตไฟ; รถเครื่องดื่ม รถอาหาร รถผ้า เป็นต้น

Dirty utility/Disposal room
  • มีพื้นที่อย่างน้อย 12 ตารางเมตร
  • มีอ่างล้าง (stainless steel), urinal/pan rack, bowel/basin rack, อุปกรณ์ทำความสะอาด, macerator

ห้องเก็บเวชภัณฑ์ (Store room)
  • จำกัดการเข้าได้สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ ขนาดเพียงพอที่จะเก็บของที่ใช้ได้สำหรับ 1 สัปดาห์ หรือใช้ระบบ barcode เพื่อเติมของทุกวัน
  • มีที่สำหรับชาร์ตอุปกรณ์เพียงพอ (infusion pumps)

ห้องเตรียมยา

ภาพจาก Ref. guideline
  • มีพื้นที่อย่างน้อย 12 ตารางเมตร ใช้สำหรับเก็บยา เตรียมยา
  • มีของใช้ที่จำเป็น เช่น ชั้นวางต่างๆ กล้องวางของคืนห้องยา กล้องใส่วัตถุแหลมคม ถังขยะ อ่างล้างมือ computer (ใช้ดู reference, guideline, electronic medical chart); ที่เก็บและชาร์ต infusion pump; ตู้เย็นควบคุมอุณหภูมิ รถเข็นจ่ายยา เป็นต้น

หอดูแลผู้ป่วยระยะสั้น (Short Stay Unit)
  • มีเกณฑ์ในการ admission และ discharge ออกแบบมาให้สังเกตอาการ ตรวจเพิ่มเติม หรือรักษาไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  • แยกออกจากพื้นที่ที่ภายในห้องฉุกเฉิน มีจำนวนเตียงคงที่ เป็นเตียงแบบผู้ป่วยใน มี O2, suction, monitoring มีห้องอาบน้ำสำหรับผู้ป่วย
  • ไม่ใช้พื้นที่เพื่อระบายความแออัดในห้องฉุกเฉิน ไม่ใช้พื้นที่สำหรับนอนรอเตียง admit

พื้นที่สำนักงาน (administration area)
  • สำนักงานต่างๆควรอยู่ใกล้กัน จำกัดการเข้าออกพื้นที่เฉพาะคนที่เกี่ยวข้อง แบ่งพื้นที่สำหรับฝ่ายต่างๆ เช่น director, deputy director, director ฝ่ายต่างๆ (training, research), registrar, nurse manager, nurse educator, administrative staff, social worker, mental health worker, data manager เป็นต้น
  • มีห้องย่อยๆเพื่อใช้สำหรับ private meeting มี Wi-Fi และอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็น เช่น โต๊ะ, computer, โทรศัพท์, printer, scanner, photocopy

พื้นที่สำหรับการเรียนการสอน (teaching facility)
  • อยู่โซนใกล้เคียงกับห้องเจ้าหน้าที่และสำนักงาน แยกจากบริเวณที่ใช้รักษาผู้ป่วย แสงธรรมชาติ พื้นที่ใหญ่พอกับจำนวนคนที่จะใช้พร้อมกันครั้งหนึ่ง อาจแบ่งเป็นหลายห้อง แต่สามารถขยายรวมกันเป็นห้องใหญ่ได้เมื่อจำเป็น
  • อุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น โต๊ะ เก้าอี้พับ กระดาน whiteboard โทรศัพท์ จอที่สามารถเชื่อมต่อกับ smartphone/laptop และทำ videoconference ได้ หน้าจอ projector เลื่อนขึ้นลงจากเพดาน มี networked computer และ Wi-Fi มีชั้นวางหนังสือ หนังสืออ้างอิง วารสาร อุปกรณ์ช่วยสอนต่างๆ เช่น หุ่นจำลอง

ห้องพักเจ้าหน้าที่ (staff room)

Google office; ภาพจาก tech.thaivisa.com
  • เป็นพื้นที่ให้เจ้าหน้าที่ได้ผ่อนคลายจากการทำงาน ใช้พบปะสังสรรค์ แสงไฟสีธรรมชาติ อยู่พื้นที่แยกจากบริเวณที่ใช้รักษาผู้ป่วย มีความปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก เพลง ทีวี โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ Wi-Fi ชา-กาแฟ ห้องน้ำ อาจจะสามารถเปิดออกสู่ภายนอกรพ.ได้
  • มีโซนครัว เตรียมอาหาร อุ่นอาหารได้ มีน้ำร้อน-น้ำเย็น ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ อ่างล้าง มีพื้นที่ใหญ่พอ โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอสำหรับทุกคนในเวรที่จะมากินอาหาร

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่ (staff amenities) (แยกจากห้องเจ้าหน้าที่)
  • ห้องน้ำเฉพาะสำหรับเจ้าหน้าที่เพียงพอ อยู่ในพื้นที่เฉพาะ ต้องกดรหัส หรือใช้ keycard เข้า
  • ห้องอาบน้ำแยกระหว่างชาย หญิง
  • ที่จอดรถจักรยาน พร้อมที่ล็อค
  • มีตู้ล็อกเกอร์เพียงพอ
  • ห้องพักเวรดึก มีโต๊ะ คอมพิวเตอร์ หรือ Wi-Fi ให้ใช้ เงียบและไม่มีแสงรบกวน
  • บอร์ดประกาศ ตู้จดหมายเจ้าหน้าที่



สิ่งจำเป็นสำหรับคนเฉพาะกลุ่ม

คนอ้วน วางแผนเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์สำหรับคนอ้วนมากๆ อาจถึง 400 กก. ได้แก่
  • รถพยาบาลและเตียงสามารถรองรับได้ ทางเข้า ทางเดินขนาดเพียงพอ มีราวจับ
  • พื้นที่รอคอยควรมีเฟอร์นิเจอร์ 20% สำหรับคนตัวใหญ่ โดยจัดวางผสานไปกับเฟอร์นิเจอร์ปกติ
  • พื้นที่รักษา ให้มีอย่างน้อย 1 ตำแหน่งที่สามารถรองรับคนตัวใหญ่มากๆได้ มีอุปกรณ์ช่วยยกแบบเคลื่อนย้ายได้ หรือติดตั้ง (ceiling mounted lifting device) แผ่นสไลด์
  • เครื่องชั่งน้ำหนัก และเครื่องยก
  • ห้องน้ำ ใช้สุขภัณฑ์แบบตั้งกับพื้น มีที่ให้คนเข้าไปช่วยได้ทั้ง 2 ข้าง กำแพงต้องแข็งแรงที่จะติดราวจับได้ อ่างล้างมือต้องรองรับแรงกดได้
  • พิจารณาเรื่องทางที่ต้องย้ายผู้ป่วยไปที่ต่างๆ เช่น ไปแผนกรังสี ดูเรื่องทางลาด ทางเลี้ยวอาจมีกระจกช่วยมอง
เด็กเล็ก
  • จัดพื้นที่รอตรวจแยกออกมาจากที่รอตรวจหลัก ตบแต่งให้เหมาะกับเด็กเล็ก มีพื้นที่เล่น ทีวี วีดีโอ ขนาดพื้นที่ใหญ่พอสำหรับรถเข็นเด็ก พ่อแม่ พี่น้องที่มาด้วย
  • ห้องตรวจเข้าจากพื้นที่รอตรวจ ห้อง resuscitation ควรอยู่ติดกับ resuscitation facility อื่นๆ พื้นที่พอสำหรับรถเข็นเด็ก
  • ห้องที่เด็กอาจเข้าออกได้ให้ราวเปิดประตูอยู่ต่ำๆ เพื่อป้องกันเด็กติดอยู่ในห้อง ส่วนห้องที่ไม่ให้เข้าได้ให้ติดราวเปิดประตูไว้สูงและเป็นประตูที่ปิดเองอัตโนมัติ
  • อุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เครื่องชั่งน้ำหนัก อุปกรณ์การแพทย์สำหรับเด็ก เก้าอี้สำหรับแม่และเด็กภายในห้องตรวจ ห้องน้ำสำหรับเด็ก
  • ที่สำหรับเปลี่ยนผ้า ที่สำหรับให้นม
  • อาจมีพื้นที่ประเมินเฉพาะสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางจิตเวช
คนสูงอายุ
  • สิ่งที่พิจารณาเป็นพิเศษ เช่น มีที่จอดรถใกล้ทางเข้าอาคาร มีรถเข็นบริการโดยไม่ต้องร้องขอ อาจต้องจัดพื้นที่เป็นส่วนตัว เช่น ในคนที่มีปัญหาทางการได้ยินอาจต้องพูดเสียงดังกว่าปกติ สามารถเข้าถึงห้องน้ำได้ง่าย
  • อุปกรณ์พิเศษ เช่น เก้ามีพนักพิงสูง เตียงที่ปรับขึ้นลงได้ โถสุขภัณฑ์ที่ปรับให้สูงได้ ที่นอนที่ป้องกันแผลกดทับ อุปกรณ์ให้ความอบอุ่น เช่น ผ้าห่มอุ่น ทำให้อากาศอุ่นชื้น
  • สามารถเห็นแสงธรรมชาติได้ แสงสีช่วยในการมองเห็น ไม่จ้า พื้นกันลื่น ราวจับ ป้ายตัวใหญ่ชัดเจน มีนาฬิกาบอกวันเวลา ประตูไม่เปิดยากหรือหนักเกินไป



1 ความคิดเห็น: