วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Maritime and Aquatic Life Support (MALS)

Maritime and Aquatic Life Support (MALS)

ความรู้พื้นฐานที่น่าสนใจ เช่น
  • รู้จักอันตรายทางน้ำประเภทต่างๆ ได้แก่ 
    • น้ำวน (hydraulics) จากกระแสน้ำที่มีทิศทางต่างกันมาบรรจบกัน
    • คลื่น ได้แก่ คลื่นจากลม (wind wave), คลื่นซัดฝั่ง (แบ่งเป็น Storm surge, Monsoon surge), สึนามิ (Tsunami), คลื่นหัวแตก (breaker)
    • กระแสน้ำ ได้แก่ กระแสน้ำย้อนกลับ (Rip current) เช่น ที่หาดแม่รำพึง ระยอง, หาดทรายขาว เกาะช้าง, หาดกะตะ กระรน ภูเก็ต; สังเกตจากน้ำเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล โฟมบนผิวน้ำอยู่ไกลกว่าคลื่นหัวแตก คลื่นหัวแตกแตกออกสองด้านของ Rip
    • สภาพอากาศ ได้แก่ พายุหมุนเขตร้อน (Tropical Storm), พายุฟ้าคะนอง (Thunderstorm), มรสุมที่มีกำลังแรง (Monsoon), ร่องมรสุม (Monsoon Trough)
    • น้ำท่วมฉับพลัน
  • รู้จักประเมินกำลังของกระแสน้ำ น้ำเชี่ยว (swiftwater) ที่มีนัยสำคัญ คือ กระแสน้ำที่ไหลเร็วกว่า 1 น็อต (~ 1.85 กม./ชม. หรือ 30 เมตร/1 นาที) [ทดสอบโดยเอาวัสดุ เช่น ลูกเทนนิสลอยน้ำแล้วดูว่าไหลไปได้เร็วแค่ไหน] แรงที่มากระทำจะแปรผันไปตามพื้นที่ผิว และ ความเร็วของกระแสน้ำ เมื่อความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แรงจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า พบว่าความเร็วกระแสน้ำที่ 4.82 กม./ชม. (2.6 น็อต) มีแรงกระทำที่ขา 2.32 กก./-. และที่ลำตัว 4.62 กก.-.
  • น้ำเชี่ยวที่สูงเพียง 15 ซม.อาจทำให้ยืนไม่อยู่และไหลไปตามน้ำได้ ถ้าน้ำเชี่ยวสูง 30 ซม.สามารถทำให้รถยนต์ไหลลอยไปได้
  • หาดทะเลอาจมีอันตรายจาก
    • คลื่นที่มีความรุนแรง เช่น Dissipative beach (หาดมีพลังงานมาก คลื่นสูงกว่า 2.5 เมตร คลื่นแตกเป็นฟอง (surf zone) ตั้งแต่ระยะไกล 300-500 เมตร แตกเป็นระยะๆจาก 2-3 สันดอนทรายที่ขนานกับฝั่ง ชายหาดจะกว้างและค่อนข้างตรง มีพื้นที่หาดทรายน้อย ทรายละเอียด ไม่มีกระแสน้ำย้อนกลับ [rip current])
    • อันตรายจากกระแสน้ำย้อนกลับ (rip current) โดยเรียงตามระดับความอันตราย ได้แก่ Longshore bar and trough (คลื่นสูงเฉลี่ย 1.5-2 เมตร คลื่นแตกฟองจากสันทรายห่างฝั่ง 100-150 เมตร แล้วมีร่องน้ำลึก 2-3 เมตร กว้าง 50-100 เมตร ก่อนถึงชายหาด ชายหาดจะตรง สันทรายจะมี Rip คั่นทุก 250-500 เมตร), Bar and Rip (แบบ Rhythmic bar and beach และ Transverse bar and rip คลื่นเฉลี่ยสูง 1.5 เมตร), Low tide terrace และ Reflective
Longshore bar and trough มีร่องน้ำกว้างก่อนถึงฝั่ง; ภาพจาก ozcoasts.gov.au
  • การสื่อสารบนพื้นที่หาด
    • ธงแดง+เหลือง คือ พื้นที่ปลอดภัย; ธงเหลือง คือ ควรระมัดระวัง; ธงแดง คือ ห้ามเล่นน้ำ; ธงลายหมากลุกดำขาว คือ พื้นที่เล่นยานพาหนะทางน้ำ
    • นกหวีด เป่า 1 ครั้ง คือ เรียกความสนใจจากผู้เล่นน้ำ; เป่า 2 ครั้ง คือ เรียกความสนใจจาก lifeguard คนอื่น; เป่า 3 ครั้ง คือ เหตุฉุกเฉิน
    • สัญญาณมือ

ทักษะการช่วยเหลือและการเอาชีวิตรอด
  • ฝึกการลอยตัวแบบหงาย (back float)
  • ฝึกการลอยตัวแบบคว่ำ (front float) แบบปลาดาว; แบบแมงกะพรุน (jelly fish float) หลังลอยห้อยแขนขา สำหรับแก้ตะคริวที่ขาในน้ำลึก; แบบเต่า (tuck float) ทำการกอดเข่าเพื่อรักษาอุณหภูมิกาย
  • การลอยตัวด้วยขวดพลาสติก การลอยตัวด้วยการพองลมในเสื้อ การพองลมในกางเกง (ผูกขากางเกงเข้าด้วยกัน คล้องศีรษะแล้วตีโป่งให้พองลม)
  • การเคลื่อนไหวในน้ำ โดยการพุ่ง (gliding) การตีขา (finning) การตีกรรเชียง (sculling) การลอยตัวตั้งตรงในน้ำ (threading) การเคลื่อนที่แบบผีจีน (kangaroo jump)
  • การออกจาก rip current ให้ลอยออกไปตามกระแสริป แล้วค่อยว่ายขนานไปกับฝั่ง 30-40 เมตร ในทิศทางเดียวกับคลื่น แล้วกลับคืนเข้าสู่ฝั่ง
  • การอยู่ในน้ำเย็น ถ้าใส่ชูชีพพยุงตัวและต้องรอการมาช่วย ให้อยู่ในท่า heat escape lessening posture (HELP) โดยให้หน้าอกชิดกับเข่า ใบหน้าอยู่พ้นน้ำ ต้นแขนแนบข้างและกอดอก ถ้าอยู่หลายคนให้อยู่ในท่า huddle โดยให้โอบแขนรอบเข้าหากัน ให้หน้าอกชิดกัน ถ้ามีเด็กหรือคนสูงอายุ ให้อยู่ตรงกลาง
  • การว่ายโต้คลื่น การลุยน้ำตื้นให้ยกขาสูง (high hurdle stride) โดยยกเข่าสูงและแกว่งขาไปด้านข้าง เมื่อถึงน้ำลึกและไปได้ช้าลง ให้สวมตีนกบว่าย ถ้าคลื่นหัวแตกเล็กให้ดำเหนือยอดคลื่นหรือใช้ท่าโลมา (dolphin kick) ถ้าคลื่นขนาดกลางให้ดำเอามือจิกพื้นก่อนที่น้ำขุ่นจะถึงตัว เมื่อคลื่นผ่านไปให้ดันตัวพุ่งไปด้านหน้าไปทางผิวน้ำ ถ้าคลื่นขนาดใหญ่และน้ำลึกให้ดำก่อนน้ำขุ่นขาวจะถึงตัว รอคลื่นผ่าน จึงว่ายขึ้นผิวน้ำแล้วว่ายต่อ
  • การใช้ลำตัวท่องคลื่น (body surfing) เหมาะใน spilling wave ถ้าเป็น plunging wave เมื่อคลื่นเกือบถึงตัวให้ว่ายเข้าฝั่ง จนคลื่นเริ่มยกและอุ้มเราขึ้น เมื่อคลื่นแตกให้ก้มศีรษะลงในคลื่น เตะอย่างแรงให้ทะลุไปหน้าคลื่น ท่องคลื่นบนผิวคลื่น

 การดำรงชีพในทะเล
  • พยายามไม่ให้ตัวแช่น้ำ ใส่เสื้อชูชีพ ควรเตรียมเสื้อผ้าเพิ่มเติม หมวกคลุม ผ้าห่ม เสื้อผ้าเปียกควรบิดน้ำออกและใส่กลับ
  • ในการเอาชีวิตรอดกลางทะเลเวลานาน อาจลดการดื่มน้ำเหลือ 150-450 ซีซีต่อวัน ซึ่งใน survival pack จะมีน้ำให้ 0.5 ลิตร สำหรับ 5 วันต่อคน
  • สามารถประหยัดน้ำได้โดยการไม่ดื่มน้ำใน 24 ชั่วโมงแรก ยกเว้นผู้บาดเจ็บ ห้ามดื่มน้ำทะเลหรือน้ำปัสสาวะ กินอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรต (การสลายจะได้น้ำเพิ่มเติม) งดโปรตีน  งดกิจกรรมช่วงอากาศร้อน พยายามอยู่ในร่มเงา กินยาแก้เมาคลื่นให้เร็วที่สุด
  • พยายามเก็บน้ำจืดเพิ่มเติมจากน้ำฝน ละอองน้ำที่กลั่นตัว จากเนื้อปลาที่คั้นน้ำจากเนื้อ เลือดของนกหรือเต่าทะเล หรืออาจมีอุปกรณ์พิเศษ เช่น solar stills, reverse-osmosis desalinator
  • มีทัศนคติทางบวก มีขวัญกำลังใจ




แนวทางการช่วยชีวิตทางน้ำ

การดูลักษณะของผู้กำลังประสบภัย: ดู clip ด้านล่าง
  • คนกำลังลำบาก (distress) คือ พยายามว่ายน้ำแต่เคลื่อนที่ไปด้านหน้าน้อยมาก ยังสามารถลอยตัวและร้องขอความช่วยเหลือได้
  • คนที่กำลังจะจม (active drowning) หน้าจะแหงนไปทางด้านหลัง ลำตัวตั้งตรงในน้ำ จะยกแขนขึ้นลงด้านข้างลำตัว ไม่มีการเตะขาช่วย ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ ไม่สามารถร้องขอความช่วยเหลือได้ ช่วงนี้มีเวลาประมาณ 20 วินาที
  • คนกำลังจมน้ำ (passive drowning) หน้าอยู่ในน้ำ อาจดิ้นรนอยู่ไม่กี่วินาที หลังจากนั้นจะไม่มีการเคลื่อนไหว

 การช่วยขั้นต้น (ใน active drowning อาจไม่สามารถจับอุปกรณ์ช่วยได้): ดู clip ด้านล่าง
  • ตะโกนขอความช่วยเหลือหรือเป่านกหวีดสั้นๆ 3 ครั้งแสดงว่ามีเหตุฉุกเฉิน ชี้ตำแหน่งผู้ประสบภัยบอกคนอื่นๆ
  • ตะโกนบอกผู้ประสบภัย ผู้ช่วยอาจอยู่บนบก หรือ เดินลุยน้ำตื้นไปใกล้ๆ (ไม่ลึกกว่าหน้าอก)
  • ช่วยโดยวิธีโยน ให้โยนอุปกรณ์ลอยน้ำออกไป หรือโยนอุปกรณ์ที่มีเชือกผูก โดยยืนแบบให้มีเท้านำ-เท้าตาม ใช้มือข้างไม่ถนัดจับปลายเชือก มือข้างถนัดโยนอุปกรณ์ข้ามศีรษะผู้ประสบภัย แล้วสาวเชือกกลับให้อุปกรณ์มาสัมผัสผู้ประสบภัย เมื่อจับได้ ให้ดึงกลับ โดยให้โน้มตัวออกห่างจากน้ำขณะดึง
  • ช่วยโดยวิธียื่น ถ้าผู้ช่วยเป็นเด็กให้นอนราบลงกับพื้น ถ้าผู้ใหญ่ให้ย่อตัวต่ำ เท้าหน้ายันพื้นให้มั่นคง ผู้ช่วยจับอุปกรณ์นั้นให้แน่น วาดเข้าหาผู้จมทางด้านข้าง เมื่อผู้จมจับอุปกรณ์ได้แล้วให้ผู้ช่วยถอยหลัง 1 ก้าวแล้วค่อยๆดึงกลับ เมื่อมาถึงขอบสระให้จับมือผู้ประสบภัยวางบนขอบสระ แล้วถามว่าขึ้นได้เองหรือไม่; ถ้าไม่มีอุปกรณ์อาจลงน้ำจับสิ่งมั่นคงแล้วยื่นมือหรือขาไปให้จับ



วิธีการช่วยขั้นสูง

การขึ้น-ลงน้ำ ตามองผู้ประสบภัย เลือกวิธีตามความเหมาะสม ได้แก่
  • ถ้าน้ำตื้น คนเล่นน้ำเยอะ ให้ใช้วิธีเลื่อนลง (slide-in entry) พร้อม rescue tube
  • ถ้าน้ำลึกกว่า 5 ฟุต และอยู่สูงไม่เกิน 3 ฟุต ให้ใช้วิธีก้าวกระโดด (stride jump entry) พร้อม rescue tube
  • ถ้ากระโดดลงมาจากที่สูงกว่า 3 ฟุต ให้ใช้วิธีกระโดดลงกระทบ (compact jump) พร้อม rescue tube
  • ถ้าลงน้ำที่เป็นทางลาด น้ำไม่เกินเข่า ให้ใช้การวิ่งและว่ายเข้าหา (run-and-swim entry) พร้อม rescue tube


วิธีการเข้าช่วยผู้ประสบภัยและการหนีจากการถูกกอดรัด
  • ให้ว่ายท่าฟรีสไตล์คอตั้ง (Tarzan stroke) หรือท่ากบคอตั้ง (breast stroke head-up) โดยให้ rescue tube อยู่ใต้รักแร้หรือลำตัว
  • ถ้าระยะ 30-150 เมตร อาจเลือกใช้กระดานช่วยชีวิตแทน ถ้าระยะ 100-300 เมตร อาจใช้เรือยาง ถ้าระยะ > 250 เมตร อาจใช้เรือยางหรือเรือสนับสนุน ถ้าระยะ > 450 เมตร ควรใช้เรือเร็วขึ้นไป
  • ช่วยผู้ประสบภัยบริเวณผิวน้ำทางด้านหน้า (active victim front rescue): กด rescue tube ลงน้ำเล็กน้อย ไปยังหน้าอกของผู้ประสบภัย
  • ช่วยผู้ประสบภัยบริเวณผิวน้ำทางด้านหลัง (active/passive victim rear rescue): ใช้มือ 2 ข้างเข้าใต้รักแร้ผู้ประสบภัย จับหัวไหล่ให้แน่น ใช้หน้าอกของผู้ช่วยดันให้ rescue tube อยู่ระหว่างหน้าอกผู้ช่วยและหลังของผู้ประสบภัย โน้มไปทางด้านหลัง ระวังศีรษะของผู้ประสบภัยมากระแทก ให้หลบศีรษะไปทางด้านข้าง
  • ช่วยผู้ประสบภัยหลายคนที่กอดรัดกันบริเวณผิวน้ำ (multiple victim rescue): ให้เข้าหาผู้ประสบภัยคนหนึ่งทางด้านหลัง ทำเช่นเดียวกับการช่วยทางด้านหลัง แต่พยุงผู้ประสบภัยทั้งสองพร้อมกัน



วิธีช่วยผู้ประสบภัยจมใต้น้ำ: สามารถดำลงจากผิวน้ำโดยใช้เท้านำ (Feet-first surface dive) หรือดำโดยใช้ศีรษะนำ (Head-first surface dive)


 การเคลื่อนผู้ประสบภัยในน้ำ (Towing a victim)
  • ถ้าผู้ประสบภัยไม่หายใจ ให้วาง rescue tube ใต้หลังของผู้ประสบภัย แล้วช่วยหายใจแบบ mouth-to-nose, mouth-to-mouth หรือใช้ resuscitation mask
  • ถ้าสงสัยผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บที่คอ ให้ดามศีรษะ (head splint) โดยจับแขนท่อนบนของผู้ประสบภัยมาวางนาบข้างศีรษะและบีบกระชับเข้ากับศีรษะ หรือ ใช้วิธีพยุงศีรษะและคาง (head and chin support)
  • การนำพาด้วยท่าเฉียงอก (cross-chest tow) โดยใช้มือข้างที่ไม่ถนัดสอดใต้รักแร้ กอดเฉียงผ่านหน้าอก ว่ายท่า side stroke ใช้สะโพกของผู้เข้าช่วยอยู่ที่แผ่นหลังของผู้ประสบภัย
  • การนำพาด้วยท่าลากข้อมือ (wrist tow) ใช้กับผู้ประสบภัยที่รู้สติ สามารถช่วยตนเองให้ปากและจมูกพ้นน้ำได้
  • การนำพาด้วยท่าลากคางเหยียด โน้มตัวไปด้านหลัง ใช้มือ 2 ข้างประคองคางให้ใบหน้าพ้นน้ำในลักษณะนอนหงาย
  • การนำพาด้วยท่าลากแบบคางประชิด จะสามารถประเมินผู้ประสบภัยได้อย่างใกล้ชิด หรือต้องนำพาผู้ประสบภัยภัยผ่านคลื่นใหญ่ โดยผู้เข้าช่วยอยู่ด้านหลัง ใช้มือข้างหน้าอยู่เหนือไหล่ประคองคางผู้ประสบภัย และมืออีกข้างสอดใต้รักแร้จับกระชับผู้ประสบภัยให้แน่น ให้ศีรษะผู้ประสบภัยวางตรงไหล่ของผู้เข้าช่วย

 การเคลื่อนผู้ประสบภัยขึ้นจากน้ำ
  • วิธีพยุงเดิน (walking assist) เอาแขนผู้ประสบภัยคล้องคอ ผู้ช่วยจับที่ข้อมือ แขนผู้ช่วยอีกข้างโอบรอบหลังหรือเอว
  • วิธีการลากที่หาด (beach drag) ผู้ช่วยยืนด้านหลังจับใต้รักแร้ 2 ข้าง ประคองศีรษะด้วยแขนท่องล่าง
ภาพจาก marydonahue.org
  • วิธีอุ้มทาบหลัง (pack-strap carry) ผู้ประสบภัยอยู่ทางด้านหลัง ไหล่ผู้เข้าช่วยอยู่พอดีกับรักแร้ผู้ประสบภัย ไขว้แขนมาทางด้านหน้าและจับข้อมือของผู้ประสบภัย
  • วิธีลากเสื้อผ้า (clothes drag) เป็นการย้ายแบบฉุกเฉินในคนที่สงสัยการบาดเจ็บของศีรษะ คอ หรือไขสันหลัง โดยจับเสื้อผ้าทางด้านหลังคอ ประคองศีรษะ แล้วดึงมาที่ปลอดภัย ระวังให้ยกด้วยกำลังขาไม่ใช้หลัง
  • วิธีลากข้อเท้า (ankle drag) สำหรับผู้ประสบภัยตัวใหญ่เกินกว่าจะอุ้ม ให้ดึงเป็นเส้นตรง
  • วิธีอุ้มหน้าหลัง (front-and-back carry) โดยคนหนึ่งเข้าใต้รักแร้ ไขว้แขนของผู้ประสบภัยที่หน้าอก จับข้อมือขวาด้วยมือขวา และจับข้อมือซ้ายด้วยมือซ้าย อีกคนยืนระหว่างขาของผู้ประสบภัย หันหน้าไปทางเท้า จับที่ใต้เข่า
  • วิธีอุ้มคู่ (two-person seat carry) สำหรับผู้ประสบภัยบาดเจ็บที่ขา ผู้ช่วยยืน 2 ข้าง สอดแขนใต้ต้นขา อีกข้างโอบหลัง แล้วล็อคแขนกัน ให้ผู้ประสบภัยวางแขนบนไหล่ของผู้เข้าช่วยทั้งสอง
  • การย้ายขึ้นจากขอบสระโดยไม่ใช้อุปกรณ์ โดยใช้มือผู้ช่วยข้างหนึ่งจับมือ 2 ข้างของผู้ประสบภัยวางกดไว้ที่ขอบสระ ผู้ช่วยสปริงตัวขึ้นบนสระ หันหน้าเข้าหา จับข้อมือ 2 ข้างของผู้ประสบภัย โดยมือของผู้ช่วยจะไขว้กัน เพื่อที่เวลาดึงจะหมุนให้ผู้ประสบภัยนั่งบนขอบสระได้ แล้วลากไปที่ปลอดภัย
  • การย้ายจากน้ำสู่เรือ กรณีของเรือสูงอาจประยุกต์หลายวิธี เช่น ใช้เชือกดึง การใช้ไหล่ของผู้เข้าช่วยเป็นที่เหยียบ
  • วิธีเชือกโยงลักษณะรอก (parbucking) เช่นใช้ Jason’s cradle

 การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยโดยใช้กระดานรองหลัง
 




แนวทางการดูแลผู้ป่วยเจ็บจากน้ำและทะเล

หลักการดูแล
  • ตรวจสอบสถานการณ์: เกิดเหตุ? มีความปลอดภัย? จำนวนผู้ป่วย? ผู้ป่วยรู้สติ? ต้องการอุปกรณ์ยึดตรึงศีรษะ กระดานรองหลัง?
  • ประเมิน ABCDE, ซักประวัติ + AMPLE Hx, Head-to-Toe evaluation
  • พิจารณาความเร่งด่วนในการส่งต่อจากความรุนแรงของผู้ป่วย เครื่องมือที่มี สภาพอากาศ ระยะทาง สภาพภูมิประเทศเป็นต้น
  • การป่วยเจ็บจากน้ำ (aquatic casualties) ให้ศึกษาจากลิงค์ในเรื่องนั้น ได้แก่ BLS, ACLS, Drowning, hypothermia, marine envenomation, barotrauma and decompression sickness, trauma
  • คำนวณระยะเวลาในการใช้ถังออกซิเจน มี O2 (L) = gauge pressure (psi) x duration of flow pressure (L/psi) แล้วคำนวณว่าต้องเปิด O2 กี่ L/min จะเปิดได้กี่นาที แต่ควรลดค่า gauge pressure จากที่อ่านได้จริง 500 psi เพื่อสำรองไว้; duration of flow pressure ของถังแต่ละขนาดเท่ากับ D = 0.16, E = 0.28, G = 2.41, H = 3.14
  • ในกรณีที่ปราศจากอุปกรณ์และเครื่องมือมาตรฐาน ต้องรู้จักประยุกต์ตามสถานการณ์ เช่น การใช้ modified lateral recovery position (HAINES) เพื่อให้ spine อยู่ใน neutral alignment, การประยุกต์ใช้ผ้าสามเหลี่ยม, การตัดเสื้อยืดเป็นผ้าพัน, การเย็บลิ้นหรือกลัดลิ้นเพื่อป้องกันลิ้นตก, การใช้ถุงมือยางตัดปลายนิ้วกลางแทน face shield, การใช้เสื้อชูชีพดามกระดูกเชิงกราน



แนวทางการลำเลียงและการส่งต่อทางน้ำ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
  • ประเมินสถานการณ์ (scene size up) (ภูมิประเทศ สภาพอากาศ ยานพาหนะ) บุคลากรมีความพร้อม สภาวะของผู้ป่วย (ABC)
  • ซักซ้อมขั้นตอนในการเคลื่อนย้าย ซักซ้อมความเข้าใจถ้าเกิดอุบัติเหตุ ทีมและผู้ป่วยสวมชูชีพ อุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุ
  • ผู้ป่วยนอนให้ลงพาหนะหลังสุด จัดให้นอนราบ หันศีรษะไปทางหัวเรือ ไม่ผูกรัดตรึงกับยานพาหนะ ดูแลเรื่องความหนาวเย็น พิจารณาให้ยาแก้เมาเรือ
  • ย้ายจากเรือเล็กขึ้นเรือใหญ่ ต้องระวังเมื่อเอาเรือเข้าใกล้เรือใหญ่ ให้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เทคนิคประจำเรือ อาจใช้เครน หลักเดวิด หรือ บันไดด้านข้างของเรือ ตามความเหมาะสม
  • ย้ายจากเรือขึ้นเฮลิคอปเตอร์ เจ้าหน้าที่จะลงมาทางดิ่ง ใช้ Hoist collar ยึดกับอุปกรณ์เคลื่อนย้าย (เช่น Basket stretcher, เปล SKED, Hose Collar, Net Stretcher) ขึ้นโดยวิธี Hoist
  • ย้ายจากเรือใหญ่ขึ้นท่าเทียบเรือ จะใช้บันไดเรือซึ่งปกติจะแคบและลาดเอียง ให้ยก 2 คน โดยให้ปลายเท้าผู้ป่วยลงก่อนและศีรษะอยู่ด้านบน
  • เคลื่อนย้ายภายในเรือ ถ้าเดินที่ราบให้ใช้วิธีหิ้วเปล 4 คน มีคนออกคำสั่ง (ประจำตำแหน่ง ยก เดิน วางเปล) ให้เท้าผู้ป่วยไปด้านหน้า ถ้าพื้นที่แคบจะใช้วิธีแบกเปล 4 คน ยืนสลับฟันปลา (สั่ง เตรียมยก ยก เตรียมแบกเปล แบก) แบกใส่บ่า มีคนคอยให้สัญญาณขึ้นลงบันไดทีละขั้นช้าๆ
  • เคลื่อนย้ายขึ้นลงบันไดแคบและชัน ที่ผ่านได้คนเดียว ให้วางผู้ป่วยลงกับพื้นก่อน แล้วให้คนเปล 2 คนขึ้นหรือลงบันไดไปก่อน มีคนหิ้วเปล 2 คน อีกคนอยู่ด้านบนใช้มือหนึ่งดึงเข็มขัดคนข้างล่าง และมืออีกข้างจับราวบันไดไว้ให้มั่นคง ส่วนคนที่อยู่ด้านล่างให้มือหนึ่งคอยดันหลังและและอีกมือหนึ่งจับราวบันไดไว้ให้มั่นคง

การใช้ SKED with floatation device


ขั้นตอนการปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำ
  • โทร 1669 แล้วศูนย์ 1669 จว.ทำการประสานสั่งการให้ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำออกปฏิบัติการ

ขั้นตอนการปฏิบัติการฉุกเฉินด้วยอากาศยาน
  • โทร 1669 แล้วศูนย์ 1669 จว.จะแจ้งให้ประสานกับแพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน (พอป.) และทำการประสานเตรียมทีมลำเลียงและอุปกรณ์จากรพ.ต้นทางหรือปลายทาง พร้อมทั้งจะแจ้งศูนย์นเรนทร (สพฉ.) เพื่อประสานหน่วยสนับสนุนอากาศยานต่อไป
  • พอป.ระดับพื้นที่อาจปรึกษาพอป.ระดับชาติ และพอป.จะพิจารณาความเหมาะสม ถ้าเห็นว่าเหมาะสมจะแจ้งนายแพทย์สสจ./ผอก.รพ.เพื่อทราบ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น