วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Wound dressing products selection


Wound dressing
การประเมินแผลเบื้องต้นที่ต้องดูคือ ปริมาณ Exudates, ชนิดของ tissue (ดำ-necrotic เหลือง-sough แดง-granulation ชมพู-epithelialisation), ขนาดแผล (กว้าง ยาว ลึก), ขอบแผล, ผิวหนังโดยรอบ
วัสดุปิดแผลมีมากมายหลายชนิดแต่ละบริษัทก็ทำผลิตภัณฑ์ออกมาหลายรุ่นหลายแบบเพื่อใช้งานต่างๆกันไป ลองสรุปง่ายๆตามนี้ครับ
  1.  ติดแผลเพื่อป้องกันการเสียดสี หรือแผล abrasion เล็กๆน้อยๆ ไม่ค่อยมี exudates ก็เลือกติดพวก Film dressing เช่น OpSite, Tegaderm, Bioclusive,  Askina

opsite

tegaderm

2.    ติดแผลผ่าตัด แผลเย็บ ซึ่งจะมี oozing จากแผลได้ใช้วัสดุติดแผลพวก Simple island dressing เช่น Primapore, Medipore, Aldress ช่วยให้ไม่ติดแผลและดูดซับ exudates อีกชนิดหนึ่งคือ Opsite Post-Op ราคาแพงกว่าแต่มีประสิทธิภาพมากกว่าในการระเหยความชื้นและกันน้ำได้ เหมาะสำหรับแผลที่มี exudates มาก หรือเพื่อป้องกัน blister ใน high risk orthopedic wound
Osite Post-op
primapore



   3.    แผลที่ต้องการความชุ่มชื้นเพื่อใช้ในกระบวนการ autolysis ในการกำจัดเนื้อตาย พวกแผล necrotic (ดำ), sloughed (เหลือง) มีวัสดุ 2 กลุ่มได้แก่
o   Hydrocolliods dressing ได้แก่ Granflex, DuoDERM Extra Thin/Signal, Comfeel, Tegasorb, Hydrocoll
ข้อดีคือ ช่วยลดโอกาสติดเชื้อเพราะมี pH เป็นกรดและเมื่อสัมผัสกับ exudates จากแผลจะกลายเป็น gel ช่วยให้เกิด bacterial barrier ยังช่วยเสริมความชุ่มชื้นใน necrotic และ sloughy wound
ใช้ได้กับแผลเกือบทุกประเภท แต่ละชนิดมีความสามารถในการดูดซึม exudates ไม่เท่ากันเช่น DuoDERM << Comfeel
เวลาใช้ต้องติดให้เลยขอบแผลเข้ามา > 2 cm สามารถปิดทิ้งไว้ได้ 7 วัน
duoderm extrathin
comfeel















o   Hydrogel dressing ได้แก่ IntraSite Gel, NU-Gel, Purilon Gel, GranuGEL; sheet gels ได้แก่ ActiForm Cool, Curagel, Gliperm, Hydrosorb
เป็นกลุ่มที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบถึง 60-80% เพราะฉะนั้นมันใช้สำหรับแผลที่ต้องการความชุ่มชื้น แต่มี exudates น้อยพวก dry, sloughy หรือ necrotic wounds และยังช่วยลดอาการปวดแผลได้อีกด้วย                                                             
 **ต้องมี Secondary dressing เช่น film หรือ hydrocolloid และระวังไม่ให้กระจายไปที่ผิวหนังเพราะทำให้ผิวหนังเปื่อยยุ่ยได้ เปลี่ยนแผลทุก 1-3 วัน และห้ามใช้กรณีสงสัย anaerobic infection
hydrosorb
intrasite gel
actiform cool






    4.    แผลที่มี exudates มากพวก granulated wound ต้องใช้วัสดุที่สามารถ  absorb ได้ดีได้แก่
o   Alginate dressing ได้แก่ Sorbsan, Kaltostat, Tegagen, SeaSorb, Algosteril 
ประกอบด้วย calcium alginate ซึ่งเมื่อสัมผัสกับ exudates จะเปลี่ยนเป็น gel ช่วยสร้างความชุ่มชื้น มี haemostatic effect ช่วยลด bleeding และสามารถละลายได้ใน NSS ทำให้ลอกออกได้ง่าย เหมาะสำหรับแผลที่มี exudates มาก เปลี่ยนแผลทุก 3-7 วัน (ถ้าแผลติดเชื้อเปลี่ยนทุกวัน) ต้องปิดด้วย secondary dressing อีกชั้นหนึ่ง

kaltostat


sorbsan












o   Hydrofiber dressing ได้แก่ Aquacel  
คล้าย hydrocolloid แต่ดูด exudates ได้ดีมาก เมื่อโดนน้ำจะเปลี่ยนเป็น gel ซึ่งจะเลือกใช้เมื่อ Alginate ไม่สามารถดูดซึม exudates ได้พอ เพราะมีราคาแพง ให้ติดเลยขอบแผล 1 cm แล้วปิด secondary dressing ทับ
aquacel

o   Foam (polyurethane, hydrocellular, soft silicone, hydropolymer) dressings ได้แก่ Allevyn – hydrocellular; Biatain – polyurethane; Lyofoam – polyurethane;  Mepilex – soft silicone;  Tielle – hydropolymer มีทั้งแบบ adhesive และ non adhesive
biatain
allevyn
 5.     แผล granulating หรือ epithelialising wound ที่ไม่ได้มี exudates มากต้องการวัสดุปิดแผลเพื่อป้องกัน secondary dressing ติดแผลเท่านั้น ได้แก่ Low-adherent dressings เช่น Bactigras (ผสม chlorhexidine), Sofra-tulle (ผสม framycetin sulfate), NA Ultra, Tricotex, Release, Melolin, Exu-Dry, Mesorb, Mepitel, Tegapore, Urgotul

urgotul
bactigras

Antibacterial dressing
ในกลุ่มนี้จะมีผลิตภัณฑ์หลายชนิดมี silver มาเป็นองค์ประกอบเช่น Aquacel Ag, Acticoat, Urgotul SSD, Flamazine, Contreet สำหรับแผลติดเชื้อหรือมี bacterial colonization มาก สำหรับใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ 2-3 อาทิตย์
อีกกลุ่มหนึ่งได้แก่พวกที่มี providone iodine เป็นองค์ประกอบได้แก่ Inadine, Iodoflex/Iodosorb เหมาะสำหรับแผลตื้น แผลไฟไหม้ขนาดเล็ก เปลี่ยนแผลทุก 2-3 วันหรือ dressing เปลี่ยนจากสีน้ำตาลส้มเป็นสีขาว

Deodorising dressings ได้แก่ CarboFlex, Actisorb Silver 200, CliniSorb, Lyofoam C, Carbonet ใช้เป็น secondary dressing เท่านั้น สามารถดูดกลิ่นเหม็นเพราะมี activated charcoal ภายใน สำหรับแผลที่มีกลิ่นเหม็น เช่น แผลมะเร็ง ให้ติดเลยจากขอบแผล 3 cm ติดได้นาน 7 วัน ถ้าไม่เปียก exudate


6 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ7 สิงหาคม 2555 เวลา 04:06

    เว็บดีๆแบบนี้ควรเผยแพร่ให้เป็นที่กว้างขวางนะครับ
    ผมหลงเข้ามาเจอขุมทรัพย์ทางความรู้แห่งนี้แบบบังเอิญมากๆ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ3 มกราคม 2557 เวลา 21:02

    good information ,thank you so much.

    ตอบลบ
  3. Opsite Post-Op ราคาแพงกว่าแต่มีประสิทธิภาพมากกว่าในการระเหยความชื้นและกันน้ำได้ เหมาะสำหรับแผลที่มี exudates มาก หรือเพื่อป้องกัน blister ใน high risk orthopedic wound hydrocoll

    ตอบลบ
  4. อาจารย์ครับ Durafiber จัดเป็นอุปกรณ์ล้างแผลประเภทไหนครับ

    ตอบลบ
  5. เรียนถาม คุณหมอค่ะ
    แผลกดทับ ของคนไข้อัมพาตนอนติดเตียง ยังไม่เกิดหลุมลึก ควรใช้แผ่นปิดแบบไหนคะ ?
    ขณะนี้ ลักษณะแผลแดงตอนแรกมีเลือดซึมเล็กน้อย ทำแผลโดยล้างแผลด้วยน้ำเกลือ ทายา solcoseryl jelly 10% แล้วปิดทับด้วยแผ่น tegaderm 3M ไม่ได้รองผ้ากอซ ทำแผลทุก ๆ 2-3 ชม.ที่เปลี่ยนผ้าอ้อม (แผ่นtegaderm ก็มักจะหลุด)ควรใช้ DuoDERM ปิดทับอีกหรือไม่คะ ?
    ขอบคุณมากค่ะ
    mai

    ตอบลบ