australian.com.au |
Fit to fly
เวลามีคนไข้โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่มาเที่ยวแล้วเกิดเจ็บป่วยที่มาตรวจที่ ER สิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความเห็นในใบรับรองแพทย์คือ Fitness to fly หรือไม่ เมื่อไหร่ นั่ง economic class ได้หรือไม่
Physiology ที่เปลี่ยนแปลงที่ควรรู้ในการบินได้แก่ การที่ความดันอากาศในห้องผู้โดยสารจะปรับมาเท่ากับความสูง 5000-8000 feet ทำให้ PaO2 ลดลงมาที่ 75 mmHg (เท่ากับ O2 ลดจาก 21% เป็น 17%) แก๊สจะขยายตัวประมาณ 30% ความชื้นในอากาศลดลงเหลือประมาณ 10-20% การบินที่เปลี่ยน time zone ทำให้เกิดปัญหา jet lag และต้องปรับเวลาในการใช้ยาตามปกติ สุดท้ายคือการที่ต้องนั่งอยู่ในที่แคบๆนานๆ ทำให้มีปัญหาเรื่อง venous return ทำให้เกิด thrombosis ได้
Contraindication สำหรับ cardiac condition ในการบินพานิชดังนี้
· Uncomplicated MI ภายใน 7 วัน
· Complicated MI ภายใน 4-6 สัปดาห์
· Unstable angina
· Decompensated CHF
· CABG ภายใน 10 วัน
· Stroke ภายใน 3 วัน
· Uncontrolled cardiac arrhythmia
· Severe symptomatic valvular heart disease (ต้องรับการประเมินก่อนเดินทาง)
สำหรับโรคหัวใจอื่นๆ ถ้าอาการคงที่ก็สามารถเดินทางได้ แต่ต้องมียาติดตัวไปด้วย
โรคหัวใจบางอย่างที่อาจทนต่อ hypoxia ได้ไม่เท่าคนปกติ แนะนำให้มี oxygen ระหว่างเดินทางได้แก่
· คนที่ต้องใช้ oxygen อยู่เดิม
· CHF NYHA class III - IV หรือ baseline PaO2 < 70 mmHg
· Angina CCS class III - IV
· Cyanotic congenital heart disease
· Primary pulmonary hypertension
· โรคหัวใจอื่นๆ ที่มี hypoxemia อยู่เดิม
Respiratory disease สามารถตรวจง่ายๆว่าจะทนต่อ hypoxia ในห้องโดยสารได้หรือไม่ คือการให้เดิน 50 เมตรด้วยความเร็วปกติหรือขึ้นบันได 1 ชั้นโดยไม่เหนื่อยมากก็น่าจะทนต่อ hypoxia ได้
คนที่ทดสอบแล้วเหนื่อย ก็แสดงว่าต้องการ oxygen เสริมระหว่างเดินทาง ต้องติดต่อสายการบินว่าอาจใช้ oxygen ของสายการบินหรือนำถัง oxygen ไปเองหรือใช้ oxygen concentrator
Bronchiectasis & cystic fibrosis นอกจากการได้ oxygen เสริม แล้วยังต้องระวังเรื่อง secretion (เพราะอากาศแห้ง) คนที่เป็นโรคนี้ต้องได้ ATB ที่เหมาะสม (ถ้ามี infection) ดื่มน้ำเพียงพอและยาละลายเสมหะ
Respiratory infection ถ้าอยู่ในระยะแพร่กระจาย ต้องเลื่อนเที่ยวบินจนกว่าจะหายเช่น influenza
Pneumothorax ต้องรอ 2 สัปดาห์หลัง drain ลมออกและ full expansion แล้ว ถ้ามีความจำเป็นต้องเดินทางอาจใช้ one-way Heimlich valve
Pregnancy ห้ามบินตั้งแต่ GA 36 wk หรือ GA 32 wk ในครรภ์แฝด และต้องการใบรับรองแพทย์ถ้า GA > 28 wk เพื่อยืนยันว่าการตั้งครรภ์พัฒนาไปตามปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนและทราบเวลาที่คาดว่าจะคลอด
Surgical conditions
· Abdominal surgery หลีกเลี่ยงการเดินทาง 10 วัน
· Colonoscopy หลีกเลี่ยงการเดินทาง 24 ชั่วโมง
· Laparoscopy หลีกเลี่ยงการเดินทาง 24 ชั่วโมง
· Neurosurgery หลีกเลี่ยงการเดินทาง 7 วัน
· Ophthalmological procedure เช่น Intraocular gas injection หลีกเลี่ยงการเดินทาง 2 สัปดาห์สำหรับ sulphur hexafluoride, 6 สัปดาห์สำหรับ perfluoropropene ;สำหรับ intraocular procedure อื่นๆหรือ penetrating eye injuries หลีกเลี่ยงการเดินทาง 1 สัปดาห์
Diabetes คนเป็นโรคเบาหวานต้องพก insulin ติดตัวเสมอใน cool bag
ถ้าเดินทางไปทางตะวันออก เวลาจะสั้นลง ถ้าเวลาสั้นลงมากกว่า 2 ชั่วโมงให้ลดจำนวน unit ของ intermediate หรือ long-acting insulin ลง
ถ้าเดินทางไปทางตะวันตก เวลาจะยาวขึ้น ถ้าเวลายาวขึ้นมากกว่า 2 ชั่วโมงให้เสริม short-acting insulin หรือเพิ่มจำนวน unit ของ intermediate-acting insulin
Hematological disorders ถ้า Hb > 8 g/dl ร่วมกับไม่มีโรคปอดหรือโรคหัวใจ สามารถบินได้โดยไม่มีปัญหาอะไร ถ้า Hb < 7.5 g/dl อาจจะต้องพิจารณาใช้ oxygen เสริม (ว่าเป็น acute หรือ chronic)
Sickle cell anemia ควรได้ oxygen เสริมระหว่างเดินทางและเลื่อนการเดินทาง 10 วันหลังเกิด sickling crisis
Trauma/orthopedics หลังใส่ cast ให้งดบิน 24 ชั่วโมงถ้าใช้เวลาบินน้อยกว่า 2 ชั่วโมงหรือ 48 ชั่วโมงถ้าบินนานกว่านั้น ถ้ามีความจำเป็นต้องบินให้ทำเป็น bi-valve; สำหรับ pneumatic splint ให้ปล่อยแก๊สบางส่วนออก เพื่อให้เหลือที่สำหรับให้แก๊สขยายตัว
Psychiatric conditions ถ้ามีพฤติกรรมไม่แน่นอน ก้าวร้าว สับสนก็ไม่สามารถบินได้ ถ้าอาการคงที่และกินยาสม่ำเสมอ (ถ้าต้องกินยา) ก็สามารถบินได้ อาจจะต้องการคนไปเป็นเพื่อนเพื่อช่วยดูแลการกินยาและช่วยเหลือถ้ามีปัญหา ในบางรายอาจต้องการใบรับรองจากแพทย์ การซักประวัติว่าเคยเกิดพฤติกรรมสับสน วุ่นวายหรือไม่และติดต่อแพทย์ที่ทำการรักษาและสายการบินเป็นสิ่งสำคัญ การอนุญาตให้บินอาจจะทำผ่านการโทรศัพท์หรือ med IF form
DVT prophylaxis การป้องกันมีตั้งแต่การบริหารขา hydration การใส่ anti-embolism stocking การให้ anticoagulant (LMWH) ซึ่งจะดูตาม risk factor ต่างๆในแต่ละ guideline ก็มีความแตกต่างกัน
High risk ควรได้รับการป้องกัน DVT อย่างเต็มที่ ได้แก่ ประวัติเคยเป็น VTE/stroke, known thrombophilia, recent major surgery (ภายใน 6 สัปดาห์), active malignancy
Moderate risk ควรใช้ ใส่ anti-embolism stocking ได้แก่ คนในครอบครัวหรือในอดีตเคยเป็น provoked VTE, thrombophilia, อ้วน (BMI > 30 kg/m2), สูง > 1.9 mหรือ < 1.6 m, ประวัติโรคทางอายุรกรรมที่สำคัญ (เช่น CHF, recent MI (6 สัปดาห์),
polycythemia), คนที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น paralysis; คนตั้งครรภ์, estrogen therapy, หลังคลอดใน 2 สัปดาห์
polycythemia), คนที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น paralysis; คนตั้งครรภ์, estrogen therapy, หลังคลอดใน 2 สัปดาห์
Low risk แนะนำให้บริหารขาและ hydration ให้เพียงพอ ได้แก่ อายุ > 40 ปี, อ้วน, active inflammation, recent minor surgery (ภายใน 3 วัน)
**คนที่เป็น VTE ไม่ควรเดินทางภายใน 4 สัปดาห์ภายหลังอาการเป็นปกติ
อื่นๆ เช่น คนที่ใส่ contact lens หรือ ตาแห้งจากสาเหตุอื่นอาจต้องใช้น้ำตาเทียมเสริมเนื่องจากอากาศแห้ง โรคติดเชื้ออื่นๆควรรอให้พ้นช่วงแพร่เชื้อเสียก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น