วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การรับมือกับอุบัติภัยหมู่ (Mass-Casualty Incident: MCI)


                                     จากเอกสารประกอบการสอนของ นายแพทย์ภวัต  ตันประสิทธิ์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

อุบัติภัยหมู่ (Mass casualty incident, MCI) คือ ภัยหรือเหตุการณ์ที่มีผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมากจนต้องระดมกำลังความช่วยเหลือจากทุกแผนกในโรงพยาบาล โดยอาจจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่นๆทั้งในและนอกจังหวัด
·        มากกว่า 3 คนขึ้นไป
·        ขึ้นกับบริเวณที่เกิดเหตุการณ์ เมือง/ชนบท
·        ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วย trauma เสมอไป

ตัวอย่างของ MCI เช่น อุบัติเหตุรถยนต์ชนกันหลายคัน เหตุทะเลาะวิวาท ความวุ่นวายทางการเมือง ไฟไหม้อาคาร บ้านเรือน ท้องร่วงเฉียบพลันหมู่ การได้รับสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การอพยพย้ายถิ่น น้ำท่วมใหญ่

กุญแจสำคัญในการตอบสนองต่อเหตุอุบัติภัยหมู่ (MCI) คือ การเรียกร้องขอความช่วยเหลือและเตรียมพร้อมกำลังบุคลากรและทรัพยากรให้พร้อมเพรียงอย่างรวดเร็ว

ในสถานการณ์เช่นนี้ การระดมกำลังบุคคลและทรัพยากร ต้องให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนอง MCIs
·        เรียกร้องความช่วยเหลือด้นกำลังบุคลากรและทรัพยากรให้เพียงพอ
·        มีการสื่อสาร ประสานงานอย่างเหมาะสม
·        จัดเตรียมรถพยาบาลและแผนการเดินทางให้พร้อม
·        ดูแลให้การรักษาทางการแพทย์อย่างถูกต้องและเหมาะสม
·        เคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือบาดเจ็บโดยถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ
·        ติดตามการรักษาต่อเนื่องของผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ


ระบบสั่งการ Incident command system (ICS)
·        ระบบต้องมีความยืดหยุ่นและมีมาตรฐาน
·        ระบบจะจัดตั้งหน่วยงานย่อยอย่างไรขึ้นกับความซับซ้อนและชนิดของเหตุการณ์

5 หน่วยงานหลักที่จำเป็น
1.       หน่วยสั่งการ (Command): ควบคุม ประเมินสถานการณ์ ประสานงานและสั่งการทุกๆหน่วยงาน
2.       หน่วยวางแผน (Planning): รับรายละเอียดจากทุกฝ่ายแล้วทำการวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และวางแผนการทำงานเพื่อนำเสนอต่อหน่วยสั่งการ
3.       หน่วยบริหารและงบประมาณ (Finance/administration): รับผิดชอบค่าใช้จ่าย หรือจัดทำข้อตกลงเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่หน่วยสั่งการต้องการ รวมทั้งบันทึกกำลังคนที่ใช้ไป การบาดเจ็บ ความเสียหาย และค่าใช้จ่ายอื่นๆในการบริหารจัดการเหตุการณ์ คัดแยก รักษา และเคลื่อนย้ายมาทำงานร่วมกัน
4.       หน่วยระบบจัดหาทรัพยากร (Logistics): รับผิดชอบในการจัดหาบริการต่างๆ อุปกรณ์ และวัตถุดิบที่จำเป็นในการสนับสนุนผู้ปฏิบัติงาน อาจรวมถึงการติดต่อสื่อสาร อาหาร น้ำดื่ม ยา และสิ่งปลูกสร้าง
5.       หน่วยปฏิบัติการ (Operations): หน่วยนี้รับผิดชอบในการควบคุมสถานการณ์ และจัดการทรัพยากรทั้งหมด บทบาทค่อน ข้างแปรเปลี่ยนได้ง่าย อาจขยายการทำงานออกไปด้านกฎหมาย การควบคุมเพลิง และอื่นๆที่เกิดขึ้นกับเหตุการณ์
     
แล้วส่วนใหญ่เราจะทำงานฝ่ายไหน !!!
คำตอบก็คือ เราจะอยู่ในฝ่ายปฏิบัติการ ก็คือ หน่วยกู้ชีพ หรือ EMS นั่นเอง ซึ่งเราจะต้องไปจัดแบ่งทีมงานของเราเป็นหน่วยงานย่อยอีก 5 หน่วยงานย่อย แต่โดยทั่วไปอย่างน้อยต้องมี 3 หน่วยงานแรกก่อนได้แก่
1.       หน่วยคัดแยก (Triage unit)
o   คัดแยกผู้ป่วยออกเป็นกลุ่ม เพื่อส่งต่อให้การดูแลรักษาและเคลื่อนย้ายตามลำดับ
2.       หน่วยดูแลรักษาพยาบาล (Treatment unit)
o   ให้การดูแลรักษาให้เหมาะสม
o   ดูแลรักษาตามที่หน่วยคัดแยกผู้ป่วยส่งมา : แดง เหลือง เขียว
3.       หน่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (Transport unit)
o   เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยหรือส่งต่อไปรักษาที่รพ.อื่น
4.       หน่วยกำลังและทรัพยากร (Staging unit)
o   ดูแล จัดการ แจกจ่ายทรัพยากร รถพยาบาล ที่ต้องใช้
5.       หน่วยรักษาศพ (Morgue unit)
o   ดูแล จัดการ รักษาศพ

แนวคิดสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยนสำหรับทีมกู้ชีพ
·        ทีมกู้ชีพทีมแรกต้องไม่ด่วนเข้าช่วยผู้ป่วย
·        ทีมกู้ชีพทุกคนต้องไม่ลืมกฎข้อที่หนึ่ง คือ ที่เกิดเหตุและทีมงานทุกคนต้องมีความปลอดภัยเป็นอันดับแรกก่อนเสมอ
·        จะต้องกำหนดให้มีพื้นที่สำคัญเพื่อปฏิบัติการในการควบคุมสถานการณ์
·        ต้องนำคนบาดเจ็บมารวมกันที่หน่วยดูแลรักษาพยาบาล
·        ต้องคัดแยกก่อนการให้การช่วยเหลือและเคลื่อนย้าย
·        ต้องกำหนดให้มีผู้ทำหน้าที่ field commander
·        ต้องมีข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อส่งคนไข้ไปยังโรงพยาบาลปลายทาง
     ·        ผู้บริหารระดับสูงสามารถบัญชาการเหตุการณ์ได้ โดยไม่ต้องมาที่เกิดเหตุ

         การเตรียมการก่อนเกิดเหตุ (Preparedness)
ก่อนเกิดเหตุอุบัติภัยเราต้องเตรียมการ 3 เรื่อง ได้แก่
1.                   การวางแผนบริหารจัดการ (Planning)
2.                   การเตรียมอุปกรณ์ (Equipment)
3.                   การฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ (Training)
วงจรการวางแผน
·                    ทำแผน : ประชุม จัดทำ ทบทวนแผนอย่างสม่ำเสมอ
·                    สื่อแผน : สร้างสื่อที่อธิบายแผนให้จำและเข้าใจง่ายในทุกระดับ
·                    ซ้อมแผน : ซ้อมสถานการณ์หลายครั้งจนเกิดความคุ้นเคย
·                    ปรับแผน : ปรับปรุงแก้ไขข้อเสีย ข้อจำกัดของแผนให้ดียิ่งขึ้น


โครงสร้างศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ

การเตรียมอุปกรณ์ (Equipment)
     ·         อุปกรณ์ป้องกันตนเอง
ตัวอย่างอันตรายที่อาจเกิด
อุปกรณ์ป้องกันตนเอง
อุบัติเหตุจราจร
เสื้อสะท้อนแสง
ฝนหรือลม
เสื้อกันฝน เสื้อคลุม
การบาดเจ็บที่ศีรษะ
หมวกนิรภัยที่มีสายรัดคางและสีเด่นชัด
การบาดเจ็บที่ตา
แว่นตา
การบาดเจ็บใบหน้า
กระบังหน้า
การบาดเจ็บที่มือ
ถุงมือชนิดหนา
       ·        อุปกรณ์ด้านการสื่อสารได้แก่ วิทยุสื่อสาร โทรศัพท์มือถือ นกหวีด โทรโข่ง และหากมีระบบการประชุมทางไกล อาจจำเป็นต้องมีระบบติดตั้งและดำเนินการ teleconference
การฝึกอบรม (Training)
       ·        การเรียนทฤษฎี
       ·        การฝึกปฏิบัติ
o   การทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ (Paper exercises)
o   การฝึกสถานการณ์จำลองบนโต๊ะ (Table top exercises)
o   การฝึกปฏิบัติตามโจทย์สถานการณ์ (Practical exercises without casualties)
o   การฝึกปฏิบัติจริงในสถานการณ์จำลอง (Practical exercises with casualties)
การแบ่งพื้นที่

การจัดลำดับชั้นของพื้นที่


·       Hot zone : พื้นที่อันตราย คัดแยกผู้ป่วยครั้งที่ 1 ผู้ปฏิบัติการต้องชำนาญสูง เนื่องจากต้องเข้าออกพื้นที่อย่างรวดเร็วและเท่าที่จำเป็น

·        Warm zone : พื้นที่ต้องระวัง คัดแยกผู้ป่วยครั้งที่ 2 ดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น และเป็นจุดรับผู้ป่วยโดยรถพยาบาล พื้นที่นี้ต้องควบคุมการจราจรและเข้าออกอย่างเคร่งครัด ดังนั้นต้องมีเครื่องหมาย เสื้อหรือบัตรแสดงตัวชัดเจน ตามหลักผู้บัญชาการจุดเกิดเหตุ (field commander) จะปฏิบัติงานในพื้นที่นี้
·        Cold zone : พื้นที่ปลอดภัย สำหรับเจ้าหน้าที่สนับสนุนและผู้บริหารระดับสูง ผู้สื่อข่าวเพื่อติดตามสถานการณ์

การใช้ธงสีเพื่อแสดงหน่วยดูแลรักษาพยาบาล

       แนวทางการรายงานเหตุการณ์มายังศูนย์สั่งการ         
M : Major incident : เป็นเหตุการณ์สาธารณภัยหรือไม่
E : Exact location : สถานที่เกิดเหตุที่ชัดเจน
T : Type of accident : ประเภทของสาธารณภัย
H : Hazard : มีอันตราย หรือเกิดอันตรายอะไรบ้าง
A : Access : ข้อมูลการเดินทางเข้า-ออกจากที่เกิดเหตุ
N : Number of casualties : จำนวนและความรุนแรงของผู้บาดเจ็บ
E : Emergency service : หน่วยฉุกเฉินไปถึงหรือยัง และต้องการความช่วยเหลืออะไรอีกบ้าง

สรุปบทบาทของทีมกู้ชีพชุดแรกเมื่อไปถึง ณ จุดเกิดเหตุ
หัวหน้าทีม
-          ประเมินสถานการณ์ ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ และรายงาน METHANE มายังศูนย์สั่งการ
-          สวมเสื้อคลุมและอุปกรณ์ป้องกันตนเอง
-          เลือกพื้นที่ ที่จะเป็นที่จอดรถพยาบาลฉุกเฉิน
-          พิจารณา ตัดสินใจว่าจะต้องระดมทรัพยากรมากน้อยแค่ไหนมาสนับสนุน
-          กำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ
ผู้ช่วย/สมาชิกทีม
-          จอดรถพยาบาลใกล้จุดเกิดเหตุมากที่สุด ตามหลักความปลอดภัย โดยหันหน้าออกจากที่เกิดเหตุ
-          สวมเสื้อคลุมและอุปกรณ์ป้องกันตนเอง
-          เปิดสัญญาณไฟรถพยาบาลแสดงตำแหน่งจุดสั่งการ เพื่อเป็นจุดสังเกตให้ทีมสนับสนุนอื่นๆที่จะมาช่วยเหลือ
-          แจ้งศูนย์สั่งการว่ามาถึงที่เกิดเหตุแล้ว คอยประสานกับหัวหน้าทีมกับศูนย์สั่งการ
          -          อยู่ประจำรถพยาบาล ห้ามนำกุญแจออกจากรถพยาบาล ไม่ควรดับเครื่อง พร้อมเคลื่อนย้ายตลอดเวลา เมื่อเกิดเหตุไม่ปลอดภัย 

หลักการคัดแยกในอุบัติภัยหมู่
มีหลักการสำคัญ คือ บริหารจัดการทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้จำนวนมากที่สุด
ดังนั้นผู้ป่วยที่เกิด cardiac arrest ในที่เกิดเหตุที่มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก เราจึงจำเป็นต้องติดป้าย ดำ

การคัดแยกครั้งที่ 1 (Primary triage)
·        นิยมใช้บัตรหรือแถบริบบิ้นสีแดง เหลือง เขียว และดำ ในการคัดแยกผู้ป่วยเพื่อความสะดวกในการตัดสินใจเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามลำดับ
·        กระทำใน Hot zone
·        ต้องอาศัยผู้ชำนาญการและผู้ช่วยในการคัดแยกอย่างรวดเร็ว
·        ต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยพื้นที่จุดเกิดเหตุแล้ว (Scene size up) จึงเข้าไปคัดแยกได้ 



การแบ่งประเภทสีและระดับความรุนแรง
Color
Category
Priority status
Red
Immediate care and transport necessary
Priority 1 (P-1)
Yellow
Delayed emergency acre and transport
Priority 2 (P-2)
Green
Minor injuries and ambulatory patients
Priority 3 (P-3)
Black
Deceased or fatal injuries
Priority 4 (P-4)

การคัดแยกครั้งที่ 2 (Secondary triage)
·        กระทำเมื่อผู้ป่วยเคลื่อนย้ายจากจุดเกิดเหตุมายังบริเวณจุดดูแลรักษาพยาบาล
·       ทำเพื่อประเมินผู้ป่วยให้ละเอียดมากขึ้นกว่าเดิม โดยผู้ป่วยอาจเปลี่ยนระดับสี เปลี่ยนระดับความรุนแรงได้ เช่น แย่ลง ดีขึ้นหรือเท่าเดิม
·        หน่วยรถพยาบาลกู้ชีพจำเป็นต้องมีอุปกรณ์การคัดแยกที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา

การคัดแยกครั้งที่ 1 นิยมใช้ START Triage system

·       ระบบนี้ได้รับการยอมรับใช้แพร่หลาย มีกำเนิดจากสหรัฐอเมริกา
·      START = Simple Triage And Rapid Transport
·      สามารถใช้ได้กับผู้ใหญ่และเด็กที่มากกว่า 8 ปีขึ้นไป ถ้าไม่ทราบอายุเด็ก ให้ประมาณว่าน้ำหนักมากกว่า 45 กิโลกรัมก็ใช้ระบบการคัดแยกนี้ได้
***START triage ทำเป็นลำดับแรกที่จุดเกิดเหตุ เพื่อคัดแยกเพื่อป่วยก่อนย้ายมาจุดคัดแยกที่ 2 หน้าจุดดูแลรักษาพยาบาล
***การคัดแยกครั้งที่ 1 นี้ให้ใช้เวลาไม่เกิน 30 วินาทีต่อผู้ป่วย 1 ราย

สูตรท่องจำ “ARPM”
          Ability to get up and walk (Ambulatory)
          Respiratory status
          Perfusion status
          Mental status
Ability to walk (ambulatory or “walking wounded”)
·        ผู้ป่วยที่สามารถลุกเดินได้ในที่เกิดเหตุ แม้ว่าจะมีการบาดเจ็บใดๆก็ตามà ประกาศและแจ้งให้ผู้ป่วยเดินไปที่จุดดูแลรักษาธงสีเขียว
·        ถือว่าเป็นระดับที่รุนแรงน้อยที่สุด
·        ไม่ควรให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้เดินไปเดินมาในที่เกิดเหตุ
Respirations
เริ่มต้นประเมินผู้ป่วยที่เดินไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม ตามลำดับดังนี้
·        looking, listening and feeling สำหรับการหายใจ นับ 1-6 ว่าหายใจได้กี่ครั้ง คูณด้วย 10 เป็นอัตราการหายใจต่อนาที
·        if RR > 30 , ติดป้ายแดงและเคลื่อนไปประเมินผู้ป่วยคนต่อไป
·        if RR < 30 , ประเมิน perfusion
·        ถ้าไม่พบการหายใจà open airway à ถ้าเริ่มหายใจ à นับอัตราการหายใจโดยนับ 1-6
·        กรณีที่หายใจได้ช้า ตื้น ไม่เพียงพอหรือต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจใดๆ à ติดป้ายแดง
·        ถ้าเปิดทางเดินหายใจแล้ว ผู้ป่วยยังไม่หายใจà ติดป้ายดำ
Perfusion
ประเมิน capillary refill and radial pulse ถ้าแขนขาดประเมินข้างที่ไม่ขาด ถ้าขาดสองข้างให้ติดป้าย แดง
·        if capillary refill < 2 sec และ radial pulse is present à ประเมิน mental status เป็นลำดับต่อไป
·        if capillary refill > 2 sec หรือ radial pulse is absent à ติดป้ายแดง
·        keep in mind à capillary refill time ขึ้นกับหลายๆปัจจัย : age, sex, environment ดังนั้น radial pulse อาจเป็นตัวบ่งชี้สภาวะการไหลเวียนโลหิตที่ดีกว่า
Mental status
·        พึงระลึกไว้ว่า ถ้ามาถึงขั้นตอนนี้ได้ ผู้ป่วยต้องมีอัตราการหายใจ < 30, หายใจเองได้เพียงพอ, คลำ radial pulse ได้ และมี capillary refill < 2 sec
·        ประเมินผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยทำตามสั่ง คือ กำนิ้วมือผู้ตรวจ
·        ถ้าผู้ป่วยทำตามได้ à ติดป้ายเหลือง
·        ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทำตามได้ ไม่ alert หรือไม่ตอบสนอง à ติดป้ายแดง

JumpSTART Pediatric Triage system
·        START triage อาจเกิดข้อผิดพลาดในเด็กได้ เพราะเด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ปีมีสรีรวิทยาการหายใจ การไหลเวียนโลหิตแตกต่างจากผู้ใหญ่
·        JumpSTART : พัฒนามาเพื่อคัดแยกผู้ป่วยเด็กโดยเฉพาะ
-          สำหรับเด็กอายุ 1-8 ปี
-          ในเหตุการณ์สาธารณภัยที่ผู้บาดเจ็บมีจำนวนมาก การแยกและประเมินอายุเด็กค่อนข้างยาก ถ้าผู้ป่วยใดก็ตามที่ผู้ประเมินจากภายนอกแล้วคิดว่าเป็นเด็กก็ให้ใช้การคัดแยกนี้ได้

จุดแตกต่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่
·        ผู้ใหญ่ : severe head injury/severe blood loss àcirculatory failure à respiratory arrest
·        เด็ก : respiratory arrest à circulatory failure and cardiac arrest
·        ดังนั้น Respiratory arrest ในเด็กจึงเกิดขึ้นในระยะเวลาที่น้อยกว่าผู้ใหญ่มาก
·        ทารก (อายุน้อยกว่า12 เดือน) มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่รวดเร็วและแตกต่างจากเด็กโตมาก
·        การคัดแยกทารกโดยใช้ JumpSTART system จึงต้องตั้งใจและประเมินให้แม่นยำà โดยทั่วไป ถ้าเราไม่พบการบาดเจ็บภายนอกใดๆที่ตัวทารก à ติดป้าย เขียว

JumpSTART ใช้เกณฑ์เช่นเดียวกันกับ START
Ability to walk around the scene (Ambulatory)
Respiratory status
Perfusion status
Mental status
***สำหรับเด็ก เวลาที่ใช้ประเมินจะลดลงเหลือเพียง 15 วินาทีต่อผู้ป่วย 1 ราย
JumpSTART Ambulatory
·        ให้คัดแยกโดยรวมเด็กที่มีความผิดปกติเดินไม่ได้หรือพิการมาตั้งแต่เด็กด้วย
·        โดยถ้าไม่พบลักษณะความรุนแรงต่อสัญญาณชีพà ติดป้ายเขียว
JumpSTART Breathing
·        If RR  15-45 à ประเมิน pulse
·        If RR <15>45 à ติดป้าย แดง
·        ถ้าไม่หายใจหรือหายใจเฮือก ไม่สม่ำเสมอ à open airway à ถ้าเริ่มหายใจด้วยตนเอง à ติดป้าย แดง
·        ถ้าเปิดทางเดินหายใจและ ตรวจ radial pulseไม่ได้ แล้วเด็กยังไม่หายใจ à ติดป้าย ดำ
·        เหตุที่ต้องประเมิน pulse เพราะจากสรีรวิทยาของเด็กดังกล่าวเบื้องต้นแล้ว พบว่า หากพบ cardiac arrest แล้ว แสดงว่าร่างกายเด็กได้ผ่านพ้น respiratory arrest ไปแล้ว โอกาสที่จะฟื้นคืนกลับมามีน้อยมาก
·        แต่ถ้ายังคลำ radial pulse ได้หลังจาก open airway àให้ช่วยหายใจโดยปากหรืออุปกรณ์ 15 วินาที (ประมาณ 5 breaths)
o   ถ้ายังคงไม่หายใจ à ติดป้ายดำ
o   ถ้าเริ่มหายใจ à ติดป้าย แดง
JumpSTART Perfusion
·        ถ้า peripheral pulse คลำได้ à ประเมิน mental status
·        ถ้าไม่มี peripheral pulse à ติดป้ายแดง
·        Peripheral pulse ควรตรวจสอบในข้างที่มีการบาดเจ็บน้อยที่สุด
·        ในเด็กที่มีการบาดเจ็บ Capillary refill ไม่ต้องทำ เนื่องจากเชื่อถือได้น้อยมาก
JumpSTART Mental status
·        ในเด็กให้ใช้ ระบบประเมิน AVPU
·        หากเด็กมีระดับการรู้สึกตัว A ,V หรือ Pà ติดป้าย เหลือง
หากเด็กไม่ตอบสนองใดๆ (U) หรือ ตอบสนอง pain ด้วยเสียงอืออาหรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ à ติดป้าย แดง

รูปแบบอื่นๆที่อาจใช้ในการคัดแยก
·        Triage sieve and sort
o   ตัดการประเมิน “M” mental status ออกไป
o   แต่การประเมินในเด็กให้ใช้เทปยาววัดตามขนาดเด็กซึ่งในประเทศไทยยังไม่มี
o   สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติของไทย ใช้ระบบนี้
Triage sieve: adult


Triage sieve: pediatric


Triage sort

GCS
SBP
RR
Coded value
13-15
>89
10-29
4
9-12
80-89
>29
3
6-8
50-79
6-9
2
4-5
1-49
1-5
1
3
0
0
0

METTAG patient identification system

รูปแบบบัตรและริบบิ้นสำหรับการคัดแยก


ป้ายคัดแยกที่สพฉ.และโรงพยาบาลในประเทศไทยใช้

หน่วยดูแลรักษาพยาบาล (Treatment unit)

หลักการสำคัญคือ ให้การดูแลรักษาเท่าที่จำเป็นต่อ non life threatening conditions
        -          ให้ใช้ long board เพื่อ immobilize ทั้งตัวไปเลยแทนที่จะเสียเวลามา splint แขนขาทีละข้าง
-          ห้ามเลือดและปิดแผล หากผู้ป่วยพอรู้สึกตัว ให้ผู้ป่วยห้ามเลือดด้วยตนเองหรือผู้บาดเจ็บอื่นที่อาการไม่หนักมากช่วยกดแผลห้ามเลือดให้


หน่วยรักษาศพ (Morgue unit)
·        หัวหน้าหน่วยนี้ ต้องรับผิดชอบประสานงานการเคลื่อนย้ายศพไปไว้ยังที่ปลอดภัย
·        ควรมีการฝึกฝน เตรียมใจการรับสถานการณ์ผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และสามารถเตรียมรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากญาติและเพื่อนใกล้ชิดผู้ตายได้
·        ประสานกับศูนย์สั่งการ เพื่อรับรองจำนวนผู้เสียชีวิตและให้ศูนย์สั่งการเป็นผู้ประกาศเท่านั้น เพื่อลดความสับสน

หน่วยกำลังทรัพยากรและการเคลื่อนย้าย (Staging and transport unit)
·        หน่วยกำลังทรัพยากร ต้องคอยติดตาม ประสานงาน จัดส่งกำลังอุปกรณ์ เวชภัณฑ์และจัดระเบียบรถพยาบาลเข้ารับผู้ป่วยจากหน่วยดูแลรักษาพยาบาล
·        หน่วยเคลื่อนย้ายต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามระดับความรุนแรงที่หน่วยคัดแยกและรักษาพยาบาลแบ่งระดับไว้ โดยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่รุนแรงมากที่สุดไปยังโรงพยาบาลปลายทางก่อน
·        ควบคุม ดูแลงาน ภายใต้คำสั่งของหัวหน้าหน่วยและผู้บัญชาการเหตุการณ์
·        หน่วยงานนี้ต้องประสานงานเชื่อมต่อกับหน่วยงานภายนอกและโรงพยาบาลปลายทาง


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ
·        ณ จุดเกิดเหตุ ก่อนและระหว่างการเคลื่อนย้าย เจ้าหน้าที่คัดแยกต้องติดตามผู้ป่วยพร้อมกับการเคลื่อนย้ายด้วย
·        เคลื่อนย้ายโดยเรียงตามลำดับความรุนแรง : emergency/urgency/non urgent moves
·        ช่วงการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปโรงพยาบาลต้องมีคำแนะนำเบื้องต้นจากหน่วยกำลังทรัพยากรและการเคลื่อนย้ายว่า ทางที่จะเข้า ออกจากพื้นที่ เส้นทางที่สะดวก เหมาะสมไปยังโรงพยาบาลปลายทาง
·        มีเจ้าหน้าที่ส่งข้อมูลเบื้องต้นของผู้ป่วยที่จะไปโรงพยาบาลนั้นๆกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปลายทางก่อนหรือขณะเดินทางทุกราย
·        ควรหลีกเลี่ยงการสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์ส่วนตัว ควรใช้เครื่องสื่อสารกลาง เพื่อลดความซ้ำซ้อนและสัญญาณที่อาจติดขัดและมีปัญหาจากการใช้บริการที่มากเกินในพื้นที่
·        ผู้ป่วยระดับสีเขียว สามารถเคลื่อนย้ายโดยให้อยู่ในรถใหญ่คันเดียวกันได้
·        ถ้าเป็นไปได้ รถพยาบาลควรมีอุปกรณ์ช่วยชีวิตพื้นฐานที่เพียงพอ
·        หากขณะนำส่งผู้ป่วยระหว่างทาง ผู้ป่วยแย่ลง ให้จัดการแก้ไขไปด้วยและต้องสื่อสารถึงโรงพยาบาลปลายทางเพื่อเตรียมรับผู้ป่วยอย่างเหมาะสมด้วยทุกครั้ง

การสื่อสาร (Communications)
·        การสื่อสารในสาธารณภัยส่วนมากจะเกิดความสับสนวุ่นวายเป็นอย่างมาก
·        เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์และหน่วยต่างๆแล้ว การสื่อสารจะเริ่มเป็นระเบียบมากขึ้น
·        ปัญหาการสื่อสารที่พบบ่อย คือ อุปกรณ์ไม่เพียงพอหรือไม่พร้อมใช้ จุดอับสัญญาณ และการสื่อสารที่ไม่เป็นระบบทำให้เกิดความเข้าใจผิด
·        อย่าปล่อยให้ปัญหาการสื่อสารมาเป็นสิ่งสำคัญไปกว่าการดูแลรักษาและจัดการผู้ป่วย

การติดตามและรักษาความสงบเรียบร้อย
·        เมื่อเคลื่อนย้าย รับ-ส่งผู้ป่วยจนหมดจากที่เกิดเหตุไปยังโรงพยาบาลปลายทางแล้ว ทีมกู้ชีพอาจต้องช่วยเหลือผู้ป่วยต่อ หากโรงพยาบาลปลายทางร้องขอ เนื่องจากกำลังคนไม่เพียงพอ
·        หากไม่มีการเรียกร้องความช่วยเหลือใดๆแล้วให้รีบกลับไปประจำจุดที่ตั้งหน่วยตามปกติ และเตรียมพร้อมออกปฏิบัติการหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำอีก
·        ผู้บัญชาการเหตุการณ์และศูนย์สั่งการจะออกจากที่เกิดเหตุเป็นลำดับสุดท้าย เนื่องจากหลังเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจนหมดแล้ว ยังต้องประเมินสถานการณ์และจัดการความสงบเรียบร้อยของเหตุการณ์ให้เสร็จสิ้น

5 ความคิดเห็น:

  1. ได้รับประโยชน์จากบทความของคุณหมอ...ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
  3. สุดยอดจริงๆครับ
    ขอบพระคุณอย่างสูงขอรับ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ20 ตุลาคม 2560 เวลา 01:38

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณค่ะอาจารย์ ^^

    ตอบลบ