ยาเกือบทุกชนิดสามารถขับทางน้ำนมได้ (ยกเว้นยาบางตัวที่โมเลกุลใหญ่มากเช่น heparin, insulin) โดยเฉพาะยาที่ละลายในไขมันได้ดี จับกับโปรตีนน้อย การที่จะดูว่ายาชนิดใดปลอดภัยสำหรับหญิงที่ให้นมบุตรสามารถดูได้จาก 1) ยาที่มี toxicity มากเช่น cytotoxic agents, ergotamine, gold salts, immunosuppressive, isotretinoin ควรหลีกเลี่ยงเด็ดขาด 2) ขนาดยาที่ลูกได้รับเทียบกับมารดาต่อน้ำหนักตัวต้องไม่เกิน 10% (คิดจาก maternal plasma concentration x maternal milk/plasma ratio x ปริมาณนมที่กินต่อวันประมาณ 150 ml/kg/day) ถ้า < 1% ก็ปลอดภัย แต่ถ้าขนาดยาเกือบ 10% ต้องดูปริมาณการขับยาว่าทำได้กี่ %
Post-conceptual age
|
Clearance of drug
|
24 - 28 wks
28 - 34 wks
34 - 40 wks
40 – 44 wks
44 – 68 wks
> 68 wks
|
5%
10%
33%
50%
66%
100%
|
การให้ยาในผู้หญิงที่ให้นมบุตร มีหลักการสำคัญดังนี้
- ใช้ยาเท่าที่จำเป็น (ขนาดน้อยที่สุดที่ได้ผล ระยะเวลาสั้นที่สุด) คำนึงประโยชน์และโทษเสมอ
- ยาที่สามารถให้ได้ในเด็กทารก (infant) สามารถให้ได้ในผู้หญิงให้นมบุตร
- เด็กแรกเกิด (neonate) จะมีความเสี่ยงต่อยาที่ขับทางน้ำนมมากที่สุด เพราะระบบจำกัดยาออกจากร่างกายยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้เสี่ยงต่อการที่ยาสะสมในร่างกาย (โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เด็กน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์)
- เลือกยาที่ขับทางน้ำนมน้อยที่สุด หลีกเลี่ยงยาที่ออกฤทธิ์ยาว
- เฝ้าระวังอาการผิดปกติของทารกที่ได้รับยาผ่านทางน้ำนม
- หลีกเลี่ยงยาที่ออกใหม่ เพราะส่วนใหญ่ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการให้ยาในผู้หญิงให้นมบุตรเพียงพอเทียบกับยาตัวเก่าที่มีข้อมูลมากกว่า
ยกตัวอย่างยาที่ใช่บ่อยและสามารถใช้ได้เช่น
o Analgesic เช่น ibuprofen, diclofenac, paracetamol
o Antihistamine ก็ควรเลือก cetirizine หรือ loratadine มากกว่า CPM
o GI drugs เช่น aluminium hydroxide, Mg hydroxide, famotidine, ranitidine, domperidone
o Anticonvulsant เช่น sodium valpoate, carbamazepine
o Antibiotic เช่น กลุ่ม beta-lactam, gentamicin, macrolide, cephalosporin, antiTB IRZE สามารถใช้ได้
o Antihypertensive drugs เช่น captopril, enarapril, metoprolol, propanolol, labetalol, hydralazine, methyldopa, HCTZ
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น