วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

NIH Stroke Scale


เป็นการประเมิน Stroke score ที่หมอที่อยู่ ER คุ้นเคยกันดี ในหมอที่มีประสบการณ์สามารถประเมินเสร็จได้ภายใน 7 นาที

หลักการก่อนการประเมินคร่าวๆดังนี้
ประเมินต่อเนื่องเป็นข้อๆตามลำดับ ให้คะแนนสิ่งที่ผู้ป่วยทำได้ ไม่ใช่สิ่งที่หมอคิดว่าผู้ป่วยทำได้ 
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมได้แก่ เข็มกลัดไว้ตรวจ Sensory และ naming card ไว้ตรวจ language function
1.      Level of consciousness
·       1a ดู : ถามคำถามทั่วไป ดูว่าตื่นดี ตอบได้ ตอบสนองด้วยสายตา หรือต้องกระตุ้นถึงจะตอบสนอง (minor stimuli หรือ painful stimuli) หรือไม่ตอบสนองเลย
0 = รู้ตัวดี ตอบสนองเป็นปกติ
1 = ง่วงซึม ปลุกตื่นได้ง่าย เมื่อตื่นถามตอบรู้เรื่องและสามารถทำตามสั่งได้
2 = หลับตลอดเวลา ปลุกตื่นได้แต่ต้องใช้ตัวกระตุ้นแรงๆ ซ้ำๆกับหลายๆครั้ง หรืออาจจำเป็นต้องใช้สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด
3 = ไม่ตอบสนองแต่สามารถตรวจพบปฏิกิริยาอัตโนมัติ (Reflex) ได้

·       1b ถาม : อายุเท่าไหร่? เดือนนี้เดือนอะไร? ถ้าพูดไม่ได้จากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ aphasia หรือ stuporous เช่น ใส่ ETT, severe dysarthria, language barrier ให้ 1 คะแนน
0 = ตอบถูกทั้ง 2 ข้อ
1 = ตอบได้ถูกเพียง 1 ข้อ (หรือเข้าใจภาษาแต่ตรวจไม่ได้เช่น ETT, severe dysarthria, language barrier)
2 = ไม่สามารถตอบคำถามได้หรือตอบผิดทั้ง 2 ข้อ

·       1c สั่ง : ให้หลับตา แล้วลืมตา ให้กำมือแล้วแบบมือ
0 = ทำได้ถูกต้องทั้ง 2 อย่าง
1 = ทำได้ถูกต้องเพียงอย่างเดียว
2 = ไม่ทำตามคำสั่ง หรือทำไม่ถูกต้อง

2.      Best gaze คือการตรวจ EOM เฉพาะ horizontal movement ให้มองตามนิ้วมือ มองตามหน้า หรือ  reflexive (oculocephalic) eye movement ในผู้ป่วยที่ทำตามสั่งไม่ได้
0 = มองตามได้เป็นปกติ
1 = ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างเหลือบมองไปด้านข้างได้แต่ไม่สุด
2 = เหลือบตามองด้านข้างไม่ได้เลย หรือมองไปด้านใดด้านหนึ่งจนสุดโดยไม่สามารถแก้ไขด้วย oculocephalic manever

3.      Visual fields ตรวจโดยปิดตาทีละข้าง (แบบ confrontation test) ตรวจแยก quadrant บน-ล่าง ซ้าย-ขวา โดยการให้นับนิ้ว บอกข้างที่นิ้วขยับ หรือใช้ visual threat และควรตรวจหลาย quadrant พร้อมกันซึ่งอาจจะพบความผิดปกติบางส่วนได้
0 = ลานสายตาปกติ
1 = ลานสายตาผิดปกติบางส่วน
2 = ลานสายตาผิดปกติครึ่งซีก
3 = มองไม่เห็นทั้ง 2 ตา (ตาบอดจากสาเหตุใดๆก็ตาม)

4.      Facial palsy ให้ยิ้ม ดูความต่างของ nasolabial fold  2 ข้าง ให้ปิดตาแน่น ย่นหน้าผาก หรือถ้าผู้ป่วยไม่ทำตามสั่งให้กระตุ้น pain แล้วดูสีหน้าแทน
0 = ไม่พบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า
1 = เห็นมุมปากตกหรือไม่เท่ากันเมื่อยิ้ม
2 = กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงมาก แต่ยังพอเคลื่อนไหวได้
3 = ใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างไม่ขยับเลย

5.      Motor arm ลืมตายกแขนเหยียด 90° ในท่านั่ง ยก 45° ในท่านอนทีละข้าง (อาจยกให้ผู้ป่วยก่อนแล้วผู้ป่วยอาจลดระดับมาระดับที่ comfort แล้วค่อยเริ่มนับ) นับ 1-10 นับดังๆ อาจใช้มือประกอบเพื่อกระตุ้นผู้ป่วย บางครั้งยกไม่ขึ้นเลยต้องกระตุ้นให้ขยับส่วน proximal เช่น ไหล่ สะโพก
0 = ยกค้างได้ตลอด 10 วินาที
1 = ยกค้างได้ไม่ถึง 10 วินาทีแต่แขนไม่ตกลงบนเตียง
2 = ยกได้บ้าง จากนั้นแขนตกลงบนเตียง
3 = ยกแขนไม่ขึ้น (พอขยับได้เช่นให้ขยับหัวไหล่ได้)
4 = ไม่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแขน
9 = แขนพิการหรือข้อติดไม่สามารถตรวจได้

6.      Motor leg ยกขาเหยียดตรง 30° ในท่านอนทีละข้าง นับ 1-5 เช่นเดียวกับ motor arm
0 = ยกค้างได้ตลอด 5 วินาที
1 = ยกค้างได้ไม่ถึง 5 วินาทีแต่ขาไม่ตกลงบนเตียง
2 = ยกได้บ้าง จากนั้นขาตกลงบนเตียง
3 = ยกแขนไม่ขึ้น (พอขยับได้เช่นให้ขยับสะโพกได้)
4 = ไม่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อขา
9 = ขาพิการหรือข้อติดไม่สามารถตรวจได้

7.      Limp ataxia ตรวจ Finger to nose to finger และ heel to shin test ทีละข้าง (การตรวจต้องดูระดับ weakness และ visual field ของผู้ป่วยด้วย) ในผู้ป่วยที่มองไม่เห็น ให้เหยียดแขนแล้วจับจมูกแทน ***paralyzed หรือไม่เข้าใจให้ถือว่าไม่มี ataxia
0 = การประสานงานของแขนขาทั้ง 2 ข้างเป็นปกติ
1 = มีปัญหาในการประสานงานของแขนหรือขา 1 ข้าง
2 = มีปัญหาในการประสานงานของแขนหรือขา 2 ข้าง
9 = แขนหรือขาพิการหรือข้อติดไม่สามารถตรวจได้

8.      Sensory ใช้เข็มกลัด ทดสอบบริเวณใบหน้า แขน ขา 2 ข้าง เทียบกับว่ารู้สึกแหลมเท่ากันหรือไม่ (ไม่ใช้มือ-เท้า เพราะมีเรื่อง neuropathy เข้ามากวนได้) ถ้าstuporous หรือ aphasia ให้ใช้ nailbed pressure ได้ดูว่ายังมี sensation หรือไม่
0 = รับความรู้สึกเป็นปกติ
1 = รับความรู้สึกจากวัตถุปลายแหลมลดลง
2 = ไม่รู้สึกว่าถูกสัมผัสที่ใบหน้า แขนและขา

9.      Best language ให้บรรยายรูปภาพ และบอกชื่อสิ่งของตามภาพ (Naming) ถ้ามองไม่เห็นให้จับสิ่งของแล้วบอกชื่อแทน ถ้าพูดไม่ได้ให้เขียนแทน
ภาพจาก Nilanont Y, et al. “Establishment of the Thai version of National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS) and a validation study.” Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet thangphaet 93 Suppl 1 (2010): S171-8 .

ภาพจาก Nilanont Y, et al. “Establishment of the Thai version of National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS) and a validation study.” Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet thangphaet 93 Suppl 1 (2010): S171-8 .

0 = สื่อภาษาเป็นปกติ
1 = สูญเสียความสามารถในการใช้ภาษาบางส่วน แต่ยังพอเข้าใจว่าผู้ป่วยกำลังพูดถึงอะไร
2 = ผู้ทดสอบไม่สามารถทราบได้ว่าผู้ป่วยกำลังพูดถึงอะไร
3 =  ไม่พูดหรือไม่เข้าใจภาษาที่ผู้ตรวจพยายามสื่อสาร ไม่สามารถแสดงท่าทาง พูดหรือเขียนให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (Global aphasia)

10.  Dysarthria ให้อ่านบัตรคำ ว่าฟังชัดเจน ไม่ชัด หรือฟังไม่รู้เรื่องเลย
ภาพจาก Nilanont Y, et al. “Establishment of the Thai version of National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS) and a validation study.” Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet thangphaet 93 Suppl 1 (2010): S171-8 .

0 = เปล่งเสียงได้ชัดเจนเป็นปกติ
1 = พูดไม่ชัด แต่พอเข้าใจได้
2 = พูดไม่ชัดขนาดที่ฟังไม่เข้าใจ
9 = ตรวจไม่ได้เพราะใส่ท่อช่วยหายใจหรือมีปัญหาทางกายในการเปล่งเสียง

11.  Extinction and Inattention (Neglect) (ข้อนี้อาจได้จากการตรวจในข้อที่ผ่านๆมา) ให้หลับตา ใช้นิ้วแตะข้างซ้าย-ขวา แตะที่ใบหน้า แขน ขาทีละข้างแล้วแตะพร้อมกัน 2 ข้าง บอกว่าข้างไหน และตรวจ visual double stimultaneous stimulation ลืมตาสองข้าง ขยับนิ้วบอกว่าขยับข้างไหน แล้วขยับพร้อมกัน 2 ข้าง
0 = ไม่พบความผิดปกติ
1 = พบความผิดปกติชนิดใดชนิดหนึ่ง จากการมองเห็น การสัมผัส การได้ยิน เมื่อมีการกระตุ้นทั้ง 2 ข้างพร้อมๆกัน
2 = มีความผิดปกติของการรับรู้มากกว่า 1 ชนิดหรือไม่รับรู้ว่าเป็นมือของตนเองหรือสนใจสิ่งเร้าเพียงด้านเดียว


มี Part 1-7 สามารถดูเพิ่มเติมได้ใน youtube หรือ http://nihss-english.trainingcampus.net/uas/modules/trees/windex.aspx










1 ความคิดเห็น: