ผู้ป่วยที่มารักษา (โดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชน) ส่วนหนึ่งจะมีการทำประกันชีวิตไว้ ซึ่งที่แพทย์ห้องฉุกเฉินต้องเกี่ยวข้องด้วยหลักๆก็มีประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพ โดยเฉพาะแบบต้องนอนโรงพยาบาลจึงเบิกได้ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งต้องการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อที่จะใช้สิทธิเบิกประกัน แพทย์ในฐานะคนกลางจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับประกันทั้ง 2 อย่าง เพื่อที่จะได้เขียนใบประกันได้อย่างถูกต้อง
1. ประกันอุบัติเหตุ (PA)
นิยาม
อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันจากปัจจัยภายนอกร่างกาย และทำให้เกิดผลที่ผู้เอาประกันมิได้เจตนาหรือมุ่งหวัง
การบาดเจ็บ หมายถึง การบาดเจ็บทางร่างกายที่เป็นผลโดยตรงจากอุบัติเหตุ เกิดขึ้นโดยเอกเทศและโดยอิสระจากเหตุอื่น ซึ่งจำเป็นต้องรับการรักษาภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเกิดอุบัติเหตุ
และมีข้อยกเว้นทั่วไปของบริษัทประกันส่วนใหญ่เช่น
- ภายใต้ฤทธิ์สุรา สารเสพติด
- การฆ่าตัวตาย การพยายามฆ่าตัวตาย การทำร้ายตัวเอง
- การบาดเจ็บจากการทะเลาะวิวาท
- การบาดเจ็บจากกระสุนปืน
- การบาดเจ็บที่ตาจากฝุ่นละอองหรือสิ่งแปลกปลอมอื่น (ยกเว้นแพทย์เขี่ยสิ่งแปลกปลอมออก หรือมีบาดแผลที่ดวงตาหรือเยื่อบุตา)
- การแท้งลูก
- การรักษาฟัน ยกเว้นจากอุบัติเหตุ แต่ไม่รวมถึง การทำฟันปลอม ครอบฟัน ทำรากฟัน ใส่รากฟันเทียม
- ปวดหลังจากกล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูกเลื่อน กระดูกสันหลังเสื่อม/เลื่อน/อักเสบ
- สัตว์ที่ (บริษัทประกันเข้าใจว่า) ไม่มีพิษหรือไม่สามารถระบุชนิดได้ เช่น มด แมลง เห็บ ไร เว้นแต่เกิดอาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis shock)
- การแพ้ยาหรือผลข้างเคียงจากยา การแพ้อาหาร
- จากการก่ออาชญากรรม ขณะจับกุมหรือหนีการจับกุม หรือขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นทหาร ตำรวจ หรืออาสาสมัคร และเข้าปฏิบัติการในสงครามหรือปราบปรามหรือ จากสงครามหรือการกระทำมุ่งร้ายคล้ายสงคราม
- บาดเจ็บเนื่องจากปัญหาสุขภาพ เช่น เป็นลมหน้ามืด ศีรษะฟาดพื้น
- เกิดจากพฤติกรรมความเสี่ยงเช่น แข่งรถ แข่งเรือ ชกมวย โดดร่ม เครื่องร่อน ไต่เขา เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าบางอย่างก็มีระบุในกรมธรรม์ แต่บางอย่างก็ไม่ได้ระบุไว้ขึ้นอยู่กับการตีความของบริษัทประกันเอง ซึ่งแพทย์ควรที่จะรู้จักข้อยกเว้นส่วนใหญ่ไว้
2. ประกันสุขภาพ (แบบต้องนอนรพ.)
นิยาม
ผู้ป่วยใน หมายถึง ผู้ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงซึ่งต้องลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยในโดยได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ตามข้อบ่งชี้ ซึ่งเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ และในระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการรักษาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยนั้นๆ
และมีข้อยกเว้นทั่วไปของบริษัทประกันส่วนใหญ่เช่น
- โรคที่เป็นมาตั้งแต่ก่อนทำประกัน
- เพื่อเสริมสวย (ยกเว้นจากอุบัติเหตุ)
- การตั้งครรภ์ แท้งบุตร คลอดบุตร การแก้ปัญหาการมีบุตรยาก การทำหมัน คุมกำเนิด
- การรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของวัย การให้ฮอร์โมนทดแทนในวัยหมดระดู การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- การพักฟื้นโดยวิธีให้พักเฉยๆ
- การตรวจรักษาความผิดปกติเกี่ยวกับสายตา การทำเลสิค
- การตรวจรักษาเกี่ยวกับฟันหรือเหงือก
- การบำบัดรักษาเกี่ยวกับยาเสพติด บุหรี่ สุรา
- โรคเกี่ยวกับภาวะจิตใจ ทางพฤติกรรม ทางบุคลิกภาพ
- การรักษาแพทย์ทางเลือก การรักษาที่อยู่ในระหว่างทดลอง โรคจากความผิดปกติจากการนอนหลับ
- การรักษาหรือผ่าตัดต่อมทอนซิล ต่อมในหลอดคอ ไส้เลื่อน หรือโรคภายในสตรี
- การพยายามฆ่าตัวตาย การทำร้ายตัวเอง การบาดเจ็บจากการทะเลาะวิวาท
การเขียน diagnosis ของแพทย์ก็ควรต้องดูความเหมาะสม (และถูกต้อง) ด้วยว่าควรเขียนอย่างไร
2. การวินิจฉัยโรคที่มีหลายระดับ ซึ่งอาจจะรุนแรงหรือไม่รุนแรงเพราะฉะนั้นต้องมีคำที่ระบุ severity ยกตัวอย่างเช่น
- new/symptomatic CHF
- significant probability of ACS
- hypertensive emergency
- AF with unstable/high risk stroke/associated medical condition
- unexplained syncope with compatible high risk criteria
- COPD with acute exacerbation
- acute decompensated cirrhosis
- hepatitis with liver dysfunction
- Dengue with warning signs
- Fever with high risk for bacteremia
- UV keratitis with bilateral patching
- epistaxis with severe blood loss
- anemia with symptomatic/ongoing blood loss
4.การเลือกใช้คำ (ให้ดูดี) ในบางโรคอาจจะช่วยให้สถานการณ์การวินิจฉัยโรคในใบประกันดีขึ้นเช่น acute, severe, sudden, serious, distress, pain, fever, progressive
- Acute chest pain แทน Esophagitis
- Acute febrile illness with cough หรือ Acute tracheobronchitis แทน URI/common cold
- Acute severe abdominal pain หรือ Acute dehydration secondary to N/V แทน Gastroenteritis
- Acute viremia แทน Flu/Viral illness
- Acute cervical pain หรือ Acute chest wall syndrome หรือ Acute lumbar strain/pain due to a MVA/fall แทน Musculoskeletal Pain
- Acute febrile illness secondary to acute otitis media หรือ Otalgia แทน Otitis media
****โรคบางโรคมักมีปัญหาในการเบิกเสมอๆ (โดยไม่ทราบเหตุผลชัดเจน) จึงควรหลีกเลี่ยงไปใช้คำอื่นเช่น Migraine headache, Vertigo, Food poisoning เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น