Basic Echocardiography in ER
ความรู้พื้นฐาน
วิธีที่ช่วยให้การทำ US เห็นชัดมากขึ้นได้แก่
- กลั้นหายใจ (end exspiratory phase)
- ปรับ depth ให้น้อยๆ จะเพิ่ม frame rate มากขึ้น ( > 30)
- ปรับ sector ยิ่งแคบ จะเพิ่ม frame rate มากขึ้น
- ปรับ gain จนเริ่มเห็น speckle ในเลือด
- ปรับ contrast หรือใช้ tissue harmonic จะเห็นขอบ muscle ชัดขึ้น จะดู wall motion ง่ายขึ้น
- ปรับ frequency สูงสุด
- ทำเป็นภาพ slow motion
- ปรับ gain จนไม่มีสีซ้อนบน tissue
- ปรับ velocity ประมาณ 60-70
- ปรับ baseline
- สีแดงคือเลือดที่วิ่งเข้าหา probe สีน้ำเงินคือเลือดที่วิ่งออกจาก probe แต่ถ้าความเร็วสูงเกินกว่า threshold สีจะเปลี่ยนไปกลายเป็นสีผสม ซึ่งเรียกว่า turbulent flow
ท่า US มาตรฐาน
5 ท่าได้แก่ (ดูภาพ display ที่ Link)
1. Parasternal
long axis view (PLAX) โดยการวาง probe บริเวณที่หน้าอกด้านซ้ายประมาณระดับ ICS ที่ 3 ชิดกับ sternum และชี้ marker
ไปที่ไหล่ขวาของผู้ป่วย ให้ mitral valve อยู่ตรงกลางภาพและให้
interventricular septum ส่วน basal/mid part ขนานกับ posterior wall จะไม่เห็นส่วน apex ของหัวใจ
a. ความกว้างของ
LA
> Ao เล็กน้อย
b. Anterior
mitral leaflet ยาวกว่า posterior mitral valve ; valve บาง และเห็น papillary muscle เป็นบางจังหวะ
c. AV
จะเห็น Rt coronary cusp และ Left หรือ Non-coronary cusp
d. Right
ventricular outflow tract (RVOT) จะบาง (ถ้าหนา
> 5 mm ผิดปกติ)
2. Parasternal
short axis view (PSAX) จาก PLAX ให้หมุน probe 90o ตามเข็มนาฬิกาและชี้ marker ไปที่ไหล่ซ้ายของผู้ป่วย
ปรับตำแหน่งให้ LV กลม และสามารถเลื่อน probe ตามความยาวของหัวใจให้ตัดเป็นภาพ cross section บริเวณต่างๆกัน
ได้แก่
ภาพจาก criticalecho.com |
PSAX apical level; ภาพจาก echobasics.de |
PSAX papillary level; ภาพจาก echobasics.de |
PSAX mitral level; ภาพจาก echobasics.de |
PSAX AV/RVOT level; ภาพจาก echobasics.de |
3. Apical
4 chamber ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้าย วาง probe
บริเวณ PMI ของผู้ป่วย
a. RV
จะเป็นรูปสามเหลี่ยมและ apex จะอยู่ proximal
กว่า LV
b. Tricuspid
insertion อยู่ apical กว่า mitral
valve ( < 1cm)
4. Apical
2 chamber
โดยการหมุน probe จาก apical 4 chamber
ไป 90o
ทวนเข็มนาฬิกา
Apical 2 chamber; ภาพจาก echobasics.de |
5. Subcostal
view
ในกรณีที่ parasternal view เห็นภาพไม่ชัดเจน (เช่น hyperinflation, ใส่ ETT)
โดยการวาง probe บริเวณใต้ลิ้นปี่ชี้ไปทางหัวใจและใช้ liver
ช่วยในการนำคลื่น
การวัดขนาดต่างๆใน PLAX ให้ axis ที่วัดตั้งฉากกับบริเวณที่จะวัดดังรูป
ค่าปกติคือ : Link
Subcostal 4 chamber; ภาพจาก echobasics.de |
Subcostal longitudinal ดู IVC; ภาพจาก echobasics.de |
Systolic: Ao bulb, LA, LV-ESD (end-systolic diameter); ภาพจาก echobasics.de |
Diastolic: interventricular septum, LV-EDD, posterior wall; ภาพจาก echobasics.de |
- Aortic bulb < 40 mm
- LA < 40 mm
- LV-EDD 40-55 mm
- RV < 30 mm
- Interventricular septum 6-10 mm
- Posterior wall 6-10 mm
- ดูจาก wall ที่หนาตัวขึ้นในช่วง systole (systolic wall thickening) ถ้าหนาตัวเพิ่มขึ้น > 50% = ปกติ ถ้า < 50% = hypokinesia/akinesia ถ้าป่องออกเรียกว่า dyskinesia โดยกะ EF จากสายตาแบ่งเป็น Poor ( < 30%), Fair, Good EF (> 55%)
- วัดจาก Fractional shortening (FS%) = (EDD-ESD)/EDD x 100 เป็นการวัดแบบ 2 มิติโดยถ้าวัดในท่า PLAX ให้ใช้ M-mode ลากเส้นตั้งฉากกับ interventricular septum ตรงปลายของ mitral valve
PALX M-mode (จะเห็น MV วับๆแวมๆ); Lo, Queenie and Liza Thomas. “Echocardiographic evaluation of systolic heart failure.” Australasian journal of ultrasound in medicine (2009). |
ภาพจาก Singh A, Antognini JF. Perioperative hypotension and myocardial ischemia: Diagnostic and therapeutic approaches. Ann Card Anaesth 2011;14:127-32 |
การดู abnormal
wall motion โดย systolic wall thickening แยกเป็น segment
American sociaty of echocardiography แบ่งหัวใจเป็น 16 segment (บาง model แบ่งเป็น 17, 18 segment) หรือจะมองง่ายๆดังนี้
- หัวใจแบ่งตามยาวออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วน Basal (ระดับ MV), Mid (ระดับ papillary), Apical
- ใน PSAX view จะแบ่งหัวใจได้ดังรูป คือ “6,6,4” basal 6 ส่วน, mid 6 ส่วน, apical 4 ส่วน
ANT-SEP
|
ANT
|
ANT-LAT
|
POST-LAT
|
INF
|
INF-SEP
|
|
Basal
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
Mid
|
7
|
8
|
9
|
10
|
11
|
12
|
Apical
|
13
|
14
|
15
|
-
|
16
|
13
|
LAD
|
LCX
|
RCA
|
- PLAX: แบ่งเป็น Anteroseptum และ Posterolateral
- Apical 4 chamber แบ่งเป็น Anterolateral และ Inferioseptum
- Apical 2 แบ่งเป็น Anterior free wall และ Inferior (ท่านี้จะดู inferior wall ชัดเจนที่สุด)
- ดูว่ามี abnormal wall ที่ coronary เส้นใด เป็นส่วน proximal หรือ distal
- ต้องดู apex ด้วยเสมอ เพราะเป็นส่วนที่จะผิดปกติก่อน
- ต้องดูว่าเป็น NEW หรือ OLD ถ้าเป็น Old infraction จะมี wall บาง (remodelling) และมี echogenicity เพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็น New infraction จะมี compensate hyperkinesias ของ unaffected segment (ถ้าไม่มี compensate อาจจะเป็น TVD)
- ถ้ามี pulmonary edema แต่ good EF ต้อง r/o mechanical complication เสมอเช่น VSD, MR (papillary muscle rupture)
***ดู display wall abnormality ที่ Link
โดยการวาง pulse wave Doppler
ตรง MV เรียกว่า Mitral inflow velocity examination ดังรูป
ภาพจาก echobasics.de |
ภาพจาก echobasics.de |
***การวัด diastolic function มีการวัดหลาย parameter เช่น Mitral annular velocity, Pulmonary venous flow, Velocity of flow progression ซึ่งเกินขอบเขตของแพทย์ห้องฉุกเฉินในการประเมินให้ถูกต้องได้
IVC distensibility ปกติจะวัด 2 cm ก่อนจะเข้าสู RA แต่เนื่องจากค่าปกติในแต่ละการศึกษาแตกต่างกันมาก และยังถูกรบกวนจากหลายๆปัจจัยเช่น position ของผู้ป่วย, force respiration, การใช้ mechanical ventilator เพราะฉะนั้นการดู IVC เพื่อประเมิน volume ในคนไทยจึงดูได้แ่ค่คร่าวๆ เช่น ถ้า IVC collapsed แสดงว่าน่าจะ hypovolumia แน่ๆ แต่ถ้า distent 2 cm ก็น่าจะ hypervolumia ในคนไทย
IVC distensibility ปกติจะวัด 2 cm ก่อนจะเข้าสู RA แต่เนื่องจากค่าปกติในแต่ละการศึกษาแตกต่างกันมาก และยังถูกรบกวนจากหลายๆปัจจัยเช่น position ของผู้ป่วย, force respiration, การใช้ mechanical ventilator เพราะฉะนั้นการดู IVC เพื่อประเมิน volume ในคนไทยจึงดูได้แ่ค่คร่าวๆ เช่น ถ้า IVC collapsed แสดงว่าน่าจะ hypovolumia แน่ๆ แต่ถ้า distent 2 cm ก็น่าจะ hypervolumia ในคนไทย
Valvular disease
การดู valvular disease
ต่างๆ อาจจะไม่ได้ทำการวัด parameter (Link)
ส่วนใหญ่จะเป็นการดูด้วยสายตาว่า valve เปิดปิดปกติหรือไม่ มี calcified หรือไม่ และใส่ CW ดู jet flow เช่น
- Mitral stenosis: ใน PALX view จะเห็น LA โต, LV ไม่โต, mitral valve หนา, ตอน MV เปิดปิดจะมี restriction ที่ tip ของ valve บางครั้งจะเห็นเป็นลักษณะที่ valve โป่งออกโดยที่ tip ไม่ขยับเรียกว่า ballooning ตอน diastole; ใน PSAX view อาจจะเห็น MV เป็น fissure (รูปปากปลา)
- ดูรายละเอียดเรื่อง valvular disease เพิ่มเติมได้ที่ Link
Intracardiac mass: Link
Pericardial disease: Link
Cardiomyopathy: Link
ขอบคุณมากครับอาจารย์
ตอบลบ