วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

Brief approach to common respiratory problems

Brief approach to common respiratory problems (dyspnea, hypoxia, hypercapnia, cough, hiccup, cyanosis, pleural effusion)

ศัพท์ที่สำคัญ
  • Dyspnea คือ ความรู้สึกหายใจลำบาก เหนื่อย ต้องใช้แรงในการหายใจ
  • Tachypnea คือ หายใจเร็ว
  • Orthopnea คือ ความรู้สึกหายใจลำบากเมื่ออยู่ในท่านอน มักพบใน LV failure, diaphragmatic paralysis, COPD
  • Paroxysmal nocturnal dyspnea คือ การผู้ป่วยหลับอยู่แล้วตื่นขึ้นมานั่งเพราะรู้สึกหายใจลำบาก เมื่อนั่งแล้วอาการจะดีขึ้น
  • Trepopnea คือ ความรู้สึกหายใจลำบากเมื่อนอนในท่าใดท่าหนึ่ง พบได้ใน unilateral diaphragmatic paralysis, ball-valve airway obstruction, post-surgical pneumonectomy
  • Platypnea คือ ความรู้สึกหายใจลำบากเมื่อนั่ง เกิดจาก loss of abdominal wall muscular tone, Rt to Lt shunt จาก patent foramen ovale (rare)
  • Hyperpnea คือ การหายใจมาก (minute ventilation มากกว่า metabolic demand)
  • Respiratory distress คือ คำที่แพทย์ใช้เรียก ลักษณะของผู้ป่วยที่มีทั้งอาการและอาการแสดงของการหายใจลำบาก
  • Respiratory failure คือ การที่ระบบหายใจไม่สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้เพียงพอต่อความต้องการ O2 และการขับ CO2


Dyspnea
  • DDx: heart (AMI, AHF), lung (UAO, asthma, COPD, pneumothorax, pneumonia, pulmonary embolism, neuromuscular weakness), metabolic (anemia, metabolic acidosis), psychogenic
  • การวินิจฉัยนอกจากประวัติและตรวจร่างกาย (ดูเรื่อง AHF) ได้แก่ bedside spirometry, ABG, ECG, CXR, BNP, Hb, bedside lung US

Hypoxia/ Hypoxemia
Tissue hypoxia ขึ้นอยู่กับ oxygen delivery (DO2) = arterial O2 content (CaO2) x CO ซึ่ง CaO2 = 1.38 x Hb x SaO2 + 0.0031 x PaO2 เพราะฉะนั้นปัจจัยที่ส่งผลต่อ hypoxia ได้แก่ Hb (+ SaO2), PaO2, CO
Hypoxemia คือ PaO2 < 60 mmHg ประเมินโดยการคำนวณ alveolar O2 partial pressure gradient (P(A-a)O2)
P(A-a)O2 = inhaled O2 concentration x (atmospheric pressure – water vapor) – PaCO2/respiratory quotient – PaO2 = 0.21 x (760 - 47) – PaCO2/0.8 – PaO2 หรือสูตรอย่างง่ายคือ P(A-a)O2 = 145 - PaCO2 - PaO2
;ค่าปกติ < 10 หรือ = 2.5 + 0.21 x อายุ (+/- 11)
แบ่งประเภทของ hypoxemia ออกเป็น 5 กลุ่มได้แก่
  1. Hypoventilation เกิดจาก CO2 ที่สูงขึ้นไปแทนที่ O2 ใน alveolus เพราะฉะนั้นเมื่อตรวจ P(A-a)O2 จึงปกติ
  2. Rt-to-Lt shunt พบได้ใน congenital cardiac malformation, pulmonary disease (lung consolidation, atelectasis) ถ้าเป็นมากเมื่อให้ O2 supplement แล้ว hypoxemia จะไม่ดีขึ้น ตรวจพบ P(A-a)O2 เพิ่มขึ้น
  3. V/Q mismatch ได้แก่ PE, pneumonia, asthma, COPD, extrinsic vascular compression เมื่อให้ O2 supplement แล้ว hypoxemia จะดีขึ้น ตรวจพบ P(A-a)O2 เพิ่มขึ้น
  4. Diffuse impairment เมื่อให้ O2 supplement แล้ว hypoxemia จะดีขึ้น ตรวจพบ P(A-a)O2 เพิ่มขึ้น
  5. Low inspired O2 พบใน high altitude เมื่อ atmospheric pressure ลดลง ทำให้ PAO2 ลดลง เพราะฉะนั้นเมื่อตรวจ P(A-a)O2 จึงปกติ เมื่อให้ O2 supplement แล้ว hypoxemia จะดีขึ้น

เมื่อมี tissue hypoxia ร่างกายจะพยายามตอบสนองโดยเพิ่ม PaO2 โดยการเพิ่ม minute ventilation, pulmonary vasoconstriction ใน hypoxic alveoli เพื่อลด V/Q mismatch, และเพิ่ม CO; สุดท้ายใน chronic compensate จะเพิ่ม Hb และลด tissue O2 demand
Tx:  O2 supplement ยกเว้นใน Rt-to-Lt shunt ที่จะไม่ตอบสนอง


Hypercapnia
เกิดจาก alveolar hypoventilation เมื่อ alveolar ventilation = alveolar volume x RR และ alveolar volume = tidal volume – dead space เพราะฉะนั้น alveolar hypoventilation จึงเกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ tidal volume ลดลง (thoracic cage, neuromuscular disease), dead space เพิ่มขึ้น (COPD, V/Q mismatch), RR ลดลง (CNS lesion, drug toxicity); อาจจะมาด้วยอาการปวดศีรษะ สับสน ซึม ชัก หมดสติ และทำให้ cardiovascular collapsed ได้ถ้า acute elevation > 100 mmHg
  • Dx: ABG จะมีการเปลี่ยนแปลงของ PaCO2 (> 45 mmHg) และ HCO3 ซึ่งสามารถบอกได้ว่าเป็น acute (เปลี่ยน 10:1) หรือ chronic respiratory acidosis (เปลี่ยน 10:3.5)

Tx: เพิ่ม minute ventilation โดยการเพิ่ม TV, RR เช่น BiPAP, mechanical ventilation, antidote (กรณี drug toxicity)


Cough
แบ่งออกเป็น
  • Acute cough (< 3 สัปดาห์) ส่วนใหญ่เกิดจาก URI (rhinorrhea, sinusitis, pharyngitis, laryngitis), bronchitis (productive cough), pneumonia, allergic reaction
  • Chronic cough (> 8 สัปดาห์) ส่วนใหญ่เกิดจาก smoking (ร่วมกับ chronic bronchitis มักเป็นตอนเช้า ไอมีเสมหะ), upper airway cough syndrome หรือ post nasal drip (มีน้ำมูก ประวัติภูมิแพ้ ต้องกระเอมเสมหะบ่อยๆ), asthma (เป็นมากกลางคืน มีสิ่งกระตุ้น หายใจมีเสียงวี๊ด เหนื่อย), GERD, ACEI/ARB induced cough (หลังเริ่มกินยา 1 สัปดาห์ – 1 ปี และหายหลังหยุดยา 1-4 สัปดาห์ อาการค่อนข้างหลากหลาย)

Tx: ใน acute cough ให้รักษาตามอาการ ใน intractable cough อาจให้ 1-2% preservative-free lidocaine 40-80 mg NB; ใน chronic cough ให้รักษาไปตามลำดับคือ
  1. หยุด smoking/ACEI/ARB/β-blocker
  2. รักษา postnasal drip ให้ 1st gen antihistamine + decongestant +/- inhaled nasal steroid จะตอบสนองใน 2 สัปดาห์
  3. ประเมิน (bronchoprovocative test) และรักษา asthma ให้ ICS หรือ leukotriene inhibitor จะตอบสนองใน 1 สัปดาห์
  4. CXR, sinus imaging ถ้ายังไม่ได้ทำ
  5. ประเมินและรักษา GERD ให้ life style modification + PPI + prokinetic จะตอบสนองใน 2 สัปดาห์
  6. ถ้ายังไม่หายให้ refer พบ specialist ทำ CT chest, bronchoscopy


Hiccups (Singultus)
เกิดจากการที่ glottis ถูกกระตุ้นให้ปิดในขณะที่เริ่มหายใจเข้า 30-40 mS แบ่งออกเป็น
  • Benign (acute) พบได้ใน gastric distention, alcohol intoxication, excessive smoking, หรือการเปลี่ยนอุณหภูมิเร็วๆ; psychogenic hiccup อาการจะหยุดระหว่างหลับ
  • Persistent, intractable (chronic) เกิดจากมีการกระตุ้น vagus หรือ phrenic nerves พบได้ใน CNS lesions, uremia, hyperglycemia, thoracic หรือ abdominal lesion, การที่มี FB (ขน) สัมผัสกับ TM

Tx: ดมแอมโมเนีย กลืนน้ำตาล ดื่มน้ำจากอีกฝั่งของแก้ว กัดมะนาว จิบน้ำเย็น ดึงลิ้น หายใจในถุงกระดาษ เอนตัวกอดเข่า สัมผัสลิ้นไก่; chlorpromazine 25-50 mg IV, metoclopramide 10 mg IV, haloperidol 2-5 mg IM; ยา MT ได้แก่ nifedipine 10-20 mg PO TID, valproate 15 mg/kg PO TID, baclofen 10 mg PO TID, gabapentin 100 mg PO TID


Cyanosis
สีของ cyanosis เกิดจากการที่มี deoxyhemoglobin เพิ่มขึ้น แบ่งออกเป็น
  • Central cyanosis เกิดจาก hypoxemia, abnormal Hb (methe-/, sulfhe-/carboxyhemoglobinemia) เห็นได้ที่ tongue, buccal mucosa; methe- จะจับ O2 sat ได้ 80-85% แต่ caboxy- จะจับ O2 sat ได้สูง เมื่อตรวจ ABG ทั้ง methe- และ carboxy- จะพบว่า PaO2 ปกติ
  • Peripheral cyanosis เกิดจาก vasoconstriction ทำให้ peripheral blood flow น้อย; เห็นได้ที่ nail bed; เมื่อนวดหรือ warming จะดีขึ้น
  • Pseudocyanosis เกิดจากการเปลี่ยนสีผิวจากยา (chlorpromazine, minocycline, amiodarone, nicorandil, gold, silver) เมื่อกดแล้วสีจะไม่จาง; lip และ mucosa จะมีสีปกติ

Tx: ให้ O2 ใน central cyanosis ถ้าไม่ตอบสนองให้สงสัยภาวะ shock, abnormal Hb หรือ pseudocyanosis


Pleural effusion
  • แบ่งออกเป็น transudate (CHF, cirrhosis, nephrotic syndrome) และ exudate (CA, inflammation, PE, +/- transudate after diuretic)
  • Dx: CXR upright, lateral decubitus, US, CT chest; Light’s criteria (เป็น exudate เมื่อ TPeff /TPserum > 0.5 หรือ LDHeff/LDHserum > 0.6 หรือ LDHeff > 2/3 ของ UNL); CHF หลังให้ diuretic จะพบ Albserum- Albeff < 1.2; อื่นๆ ถ้าสงสัย exudate ได้แก่ G/S, cell count, cell diff, glucose, cytology, pH, C/S, amylase (pancreatitis, esophageal rupture)

Tx: ถ้ามาด้วย typical CHF ให้รักษา CHF แล้วสังเกตอาการ 2-3 วัน; ถ้ามีอาการเหนื่อยขณะพักให้ทำ thoracentesis 1-1.5 L; ใส่ ICD ถ้าเป็น gross pus, G/S positive, pH < 7.1, ATB failure, anaerobic organism, > 50% ของ thorax, air-fluid level

Ref: Tintinalli ed8th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น