วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Mushroom poisoning

เห็ดพิษในประเทศไทยมีหลายชนิด ซึ่งมีข่าวการกินเห็ดพิษเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในภาคอีสาน เห็ดพิษที่ดูจะมีชื่อเสียงด้านนี้ที่สุดคือกลุ่ม Amanita ได้แก่เห็ดระโงกหิน ซึ่งลักษณะจะคล้ายกับระโงกเหลืองที่คนอีสานชอบรับประทาน ซึ่งในทางการแพทย์แล้วยังไม่พบว่ามีวิธีทดสอบใดสามารถการแยกแยะเห็ดที่กินได้ออกจากเห็ดพิษได้อย่างเด็ดขาด เพราะฉะนั้นเราจึงควรกินเฉพาะเห็ดที่รู้จักเท่านั้น


เห็ดพิษสามารถแบ่งตามเวลาที่เริ่มเกิดอาการ (onset) ได้แก่
  • กลุ่ม early toxicity (ภายใน 2 ชั่วโมง) จะมีอาการไม่รุนแรง ให้การรักษาตามอาการก็เพียงพอ
  • กลุ่ม delayed toxicity (หลัง 6 ชั่วโมง -20 วัน) ที่มีพิษรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้ 

เร็ว = benign; ช้า = potential fatal” **ระหว่าง 2-6 ชั่วโมงเป็น gray zone

ถ้าแบ่งตามกลุ่มอาการสามารถแบ่งได้เป็น 6 กลุ่มดังนี้
  1. Early onset gastrointestinal symptoms
  2. Early onset neurologic symptoms
  3. Early onset muscarinic symptoms
  4. Delayed gastrointestinal symptoms
  5. Delayed-onset renal failure
  6. Delayed-onset disulfiram reaction

1.  Early onset gastrointestinal symptoms
  • ที่พบบ่อยคือ Chlorophyllum molybdites (เห็ดหัวกรวดครีบเขียว,เห็ดกระโดงตีนต่ำ) พบได้ตามสนามหญ้า นอกจากนี้ยังมีเห็ดในสกุล Omphalotus, Boletus, Entoloma, Gomphus, Heneloma, Lacterius
  • เกิดอาการภายใน 2 ชั่วโมง มีอาการอาเจียน ถ่ายเหลวเป็นน้ำ (อาจมี WBC, RBC) ปวดท้อง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาการจะไม่รุนแรง ส่วนใหญ่จะหายภายใน 24 ชั่วโมง
  • Treatment: Activated charcoal, รักษาตามอาการ; แนะนำให้นัด F/U ภายใน 5 วัน หรือมีอาการผิดปกติ (ปัสสาวะผิดปกติ ปวดสีข้าง ปวดเอว) เพราะบางครั้งอาจเข้าใจผิดกับกลุ่ม Delay-onset renal failure (Amanita smithiana) ที่สามารถมีอาการทาง GI symptoms ได้ตั้งแต่ 30 นาที-12 ชั่วโมง
เห็ดในกลุ่มนี้ได้แก่
Chlorophyllum molybdites เห็ดกระโดงตีนต่ำครีบเขียว; ภาพจาก wikipedia
Entoloma strictius (มักสับสนกับเห็ดโคน); ภาพจาก mushroomobserver.org
Cantharellus cibarius เห็ดมันปู; ภาพจาก wikipedia
Amanita caesarea เห็ดระโงกแดงอมส้ม; ภาพจาก commons.wikimedia.org
Clarkeinda trachodes เห็ดไข่เน่า
Gomphus floccosus เห็ดกรวยเกล็ดทอง
Russula emetica เห็ดแดงน้ำหมาก; ภาพจาก commons.wikimedia.org
Scleroderma citrinum เห็ดไข่หงส์; ภาพจาก wikipedia        
2. Early onset neurologic symptoms มี 2 กลุ่มได้แก่

พวกแรกคือ Psilocybe (เห็ดขี้ควาย เห็ดโอสถลวงจิต) ขึ้นตามมูลสัตว์ เกิดจากสาร psilocybin (serotonin) ออกฤทธิ์เหมือน LSD จะเกิดอาการภายใน 2 ชั่วโมง
  • มีอาการ euphoria เพ้อ คลั่ง เคลิบเคลิ้ม เห็นภาพบิดเบี้ยว ประสาทหลอน อาจจะมี  tachycardia, hypertension ได้  จะมีอาการประมาณ 4-6 ชั่วโมง บางรายอาจนานถึง 12 ชั่วโมง 
  • Treatment จับให้อยู่ที่มืดๆเงียบๆ หลีกเลี่ยง stimuli อาจให้ BZD IV เช่น  diazepam 0.1 mg/kg
พวกที่สองคือพวก Amanita muscaria, Amanita pantherina เกิดอาการจากสาร isoxazole (GABA, anticholinergic)
  • จะเกิดอาการภายใน 30 นาที มีอาการของ muscarinic poisoning (SLUDGE BAM) เช่น อาเจียน ถ่ายเหลว เหงื่อแตก น้ำลายไหล นำมาก่อนแล้วตามด้วยอาการของ atropine-like symptoms ประมาณ 30 นาทีหลังจากที่กินเห็ดพิษเข้าไป ได้แก่ ม่านตาขยาย ปากแห้ง อุณหภูมิกายและความดันโลหิตสูงขึ้น ร่วมกับมีอาการเมา เดินโซเซ เคลิ้มฝัน กล้ามเนื้อกระตุก รับรู้ ขนาด เวลา สถานที่ลำบาก โดยอาการมักหายภายใน 4-6 ชั่วโมง ในเด็กอาจทำให้ชักได้
  • Treatment Activated charcoal, รักษาตามอาการ
เห็ดในกลุ่มนี้ได้แก่ 
Psilocybe cubensis เห็ดขี้ควาย เห็ดโอสถลวงจิต; ภาพจาก wikipedia
Gymanopilus Aeruginosus เห็ดขอนสีทองเกล็ดแดง; ภาพจาก commons.wikimedia.org  
Copelandia cyanescens  เห็ดขี้วัว; ภาพจาก commons.wikimedia.org
Amanita pantherina เห็ดเกล็ดดาว หัวเสือดำ; ภาพจาก commons.wikimedia.org    
Amanita muscaria; ภาพจาก wikipedia
3.  Early onset muscarinic symptoms
  • เกิดจากสารพิษชื่อ muscarine ได้แก่เห็ดพวก Inocybe ,Clitocybe; ส่วน Amanita muscaria จะมีฤทธิ์ cholinergic เช่นเดียวกันแต่น้อยกว่าเห็ดในกลุ่มนี้มากๆ
  • เกิดอาการกลุ่ม SLUDGE syndrome (salivation, lacrimation, urination, diarrhea, GI distress, emesis) ภายใน 30 นาทีและหายได้เองใน 4 - 12 ชั่วโมง
  • Treatment activated charcoal, atropinization (atropine 0.5-1 mg (0.01 mg/kg ในเด็ก min 0.1 max 1.0) IV titrate รักษา bronchorrhea, bradycardia, hypotension), salbutamol NB รักษา bronchorrhea และ bronchospasm
เห็ดในกลุ่มนี้ได้แก่ 
Inocybe "fiber caps“ I. splendens, I. destricata, I. Ifelix เห็ดหมวกจีน; ภาพจาก commons.wikimedia.org
Clitocybe odora (มักสับสนกับเห็ดถ่าน เห็ดขิงเห็ดข่า); ภาพจาก wikipedia
Clitocybe gibba, Clitocybe phyllophila; ภาพจาก commons.wikimedia.org
Clitocybe phyllophila; ภาพจาก commons.wikimedia.org
4.   Delayed gastrointestinal symptoms มี 2 กลุ่มหลักๆได้แก่

กลุ่มแรกคือ Gyromitra esculenta (เห็ดสมองวัว) มีสารพิษชื่อ gyromitrin ซึ่งไม่ทนต่อความร้อนและการทำให้แห้ง เมื่อกินเข้าไปจะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนเป็นสาร 2 ชนิดในกระเพาะอาหาร สารชนิดหนึ่งจะจับกับ pyridoxine ซึ่งเป็น cofactor ของเอนไซม์ในการสร้าง GABA ใน CNS ทำให้เกิดอาการชักและสารอีกชนิดหนึ่งจะเปลี่ยนเป็น free radical ในตับทำให้เกิด local hepatic necrosis
  • เกิดอาการปวดท้องบิด ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลวเป็นน้ำปริมาณมาก ระหว่าง 6-24 ชั่วโมง อาจมีอาการปวดศีรษะ มึนงง ชัก กล้ามเนื้อไม่ประสานกันหรือเป็นตะคริว ซึ่งอาการทาง GI จะหายไปภายใน 2-5 วัน ส่วนอาการทางระบบประสาทจะคงอยู่หลายวัน
  • ในรายที่อาการรุนแรงจะเกิด hepatic failure ประมาณวันที่ 3 และอาจเสียชีวิตได้ใน 7 วัน ในรายที่ไม่เสียชีวิตจะไม่พบผลของสารพิษในระยะยาว
  • พบ hypoglycemia ได้ทั้งในช่วง GI phase และในช่วง acute hepatic failure phase
กลุ่มที่สองคือ Amanita phalloides, Amanita virosa, Amanita verna (เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่ตายซาก) มีสารพิษในกลุ่ม phallotoxins ทำให้เกิดอาการทาง GI และกลุ่ม amatoxins ซึ่งตัวที่เด่นที่สุดคือ α-amanitin จะถูกดูดซึมแล้วเข้าสู่ตับ จะไปจับกับ RNA polymerase II และไปยับยั้งการสร้าง mRNA นอกจากนี้สารพิษในกลุ่มนี้ยังมี enterohepatic circulation ทำให้เกิดการสัมผัสสารพิษนี้เป็นเวลานาน อาการจะแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่
  • 1st (latent) stage: ไม่มีอาการผิดปกติ
  • 2nd stage: ระหว่าง 6-24 ชั่วโมง มีอาการปวดบิดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลวปริมาณมาก อาจมีอาเจียนและถ่ายเป็นเลือดได้ อาจเริ่มมี RUQ pain แต่ตรวจ LFTs จะปกติ
  • 3rd (convalescent) stage: นาน 12-24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายขึ้น แต่ liver enzymes จะเริ่มสูงขึ้น และ renal functions อาจจะแย่ลง
  • 4th (final) stage: 2-4 วันหลังจากที่กิน liver enzymes จะสูงมาก มี hyperbilirubinemia, coagulopathy, hepatorenal syndrome เกิด hepatic failure ในรายที่ไม่เสียชีวิตอาจเกิด chronic active hepatitis ได้
Laboratory: Meixner colorimetric test ใช้ในการตรวจหา amatoxin

     Treatment
  • Activated charcoal, multiple dose AC สำหรับ amatoxin ใน 24 ชั่วโมงแรก
  • ระวังภาวะ hypoglycemia 
  • สังเกตอาการใกล้ชิด 48 ชั่วโมง; ตรวจ electrolytes, liver enzyme, PT ซ้ำๆหลายครั้งต่อวัน
  • ในรายที่มีอาการทางระบบประสาทจาก gyrometrin ให้ pyridoxine 25 mg/kg IV > 30 min (max 25 g/d)    
  • Silybinum marianum 5 mg/kg IV > 1 h then 20 mg/kg/day IV x 6 d ช่วยยับยั้งไม่ให้ α-amanitin เข้าสู่ hepatocytes และยังยั้ง enterohepatic circulation
  • NAC 150 mg/kg IV ใน 1 h then 50 mg/kg IV ใน 4 h then 100 mg/kg IV ใน 16 h ช่วยลด reactive metabolites ใน amatoxins
  • Penicillin G 300,00-1,000,000 units/kg/day IV ช่วยลดการ uptake ของ amanitin เข้าสู่ hepatocytes (แต่ประสิทธิภาพสู้การใช้ silybinum อย่างเดียวไม่ได้)
  • Supportive Tx ในรายที่มี hepatic failure เช่น bowel cleaning, low protein diet, vitamin K, FFP, Artificial ventilation และ liver transplant ถ้ามี progressive coagulopathy, encephalopathy, renal failure; มีการใช้ The Molecular Adsorbent Recirculation SystemTMในการรักษาประคับประคอง

เห็ดในกลุ่มนี้ได้แก่
Gyromitra esculenta เห็ดสมองวัว; ภาพจาก wikipedia
Amanita virosa เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่ตายซาก; ภาพจาก wikipedia
Amanita verna  เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่ตายซาก (ฮาก) 
Amanita phalloides หรือ death cap; ภาพจาก americanmushrooms.com 
5.  Delayed-onset renal failure มี 2 ชนิดได้แก่ กลุ่ม Cortinarius และ Amanita smithiana
  • เห็ดกลุ่ม Cortinarius จะมีสารพิษชื่อ orellanine จะมีอาการทาง GI (N/V, diarrhea) เกิดขึ้นระหว่าง 12 ชั่วโมง – 14 วันหลังรับประทาน และเกิด renal failure (ปวดเอว ปัสสาวะออกน้อย) ระหว่าง 4-15 วันหลังรับประทาน
  • เห็ด Amanita smithiana จะมรสารพิษชื่อ allenic จะมีอาการทาง GI (N/V, diarrhea) เกิดขึ้นระหว่าง 30 นาที – 12 ชั่วโมงหลังรับประทาน และเกิด renal failure ระหว่าง 3-5 วันหลังรับประทาน
Treatment
  • ในรายที่กินเห็ดชนิดนี้มา ให้ติดตาม electrolytes และ renal function อย่างน้อย 72 ชั่วโมง
  • ถ้ามี renal failure ให้รักษาตามข้อบ่งชี้ เช่น การทำ hemodialysis; มีรายงานการฟื้นตัวของภาวะไตวายได้เอง เพราะฉะนั้นให้รอดูก่อนหลายๆเดือนก่อนไปทำ renal transplantation
เห็ดในกลุ่มนี้ได้แก่
Deadly webcap (Cortinarius rubellus); ภาพจาก wikipedia
Cortinarius Orellanus (Fool's webcap); ภาพจาก wikipedia 
6.  Delayed-onset disulfiram reaction
  • กลุ่ม Coprinus genus มีสารชื่อ corpine ออกฤทธิ์เป็น disulfiram-like reaction มี sensitive period 2-72 ชั่วโมง
  • เกิดอาการปวดศีรษะ ชาปลายมือเท้า มีรสโลหะในปาก หน้าแดง ใจสั่น แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน เหลื่อแตก เกิดหลังดื่มแอลกอฮอล์ภายในไม่กี่นาทีถึงหลายชั่วโมง จะมีอาการประมาณ 2-4 ชั่วโมง (อาจนานถึง 2 วัน)
  • Tx: รักษาตามอาการ ให้ IVF, β-blocker ในรายที่มี sympathetic overacitvity
Coprinus atramentaris “common ink cap or inky cap”เห็ดหิ่งห้อย เห็ดน้ำหมึก หรือเห็ดถั่ว; ภาพจาก wikipedia

Shiitake dermatitis
  • คือผื่นที่มีลักษณะเป็น flagellate erythema คล้ายแส้ฟาด หลังกินเห็ดหอม (shiitake) 1-2 วัน เกิดจากสารชื่อว่า lentinan ซึ่งเป็นสารที่ไม่คงตัวเมื่อโดนความร้อน
  • Tx: ทา 0.1%TA ointment วันละ 2 ครั้ง กิน antihistamine; ผื่นจะหายไปได้เองใน 1-4 สัปดาห์   
Shaiitake dermatitis
                  
Ref: Tintinalli ed8th     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น