วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Poisonous plant

พืชพิษ

พืชพิษมีหลายร้อยชนิด มีกลไกในการเกิดพิษหลากหลายและพืชพิษแต่ละชนิดก็ไม่ได้ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว ทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของพืชแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ยากที่จะแจกแจงได้หมด ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะพืชพิษที่พบบ่อยและสามารถพบได้ในประเทศไทยโดยแยกไปตามกลไกการเกิดพิษ ส่วนพืชอื่นๆสามารถหารายละเอียดได้จากฐานข้อมูลพืชพิษ ของสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • Calcium oxalate: กระดาด (Alocasia indica), กระดาดดำ หรือ โหรา (Alocasia macrorhiza), แก้วกาญจนา หรือ เขียวหมื่นปี (Aglaonema), เงินไหลมา (Arisaema triphyllum), หน้าดอกวัว (Anthurium andracanum), เสน่ห์จันทร์แดง (Homalamena rubscens), บอนสี (Cladium bicolor), ผักหนาม (Lasia spinosa), ว่านอ้ายใบ หรือ สาวน้อยประแป้ง (Dieffenbachia seguine), อุตพิด หรือ มะโหรา (Typhonium trilobatum), พลูแฉก หรือ พลูฉีก (Monstena deliciosa), พลูด่าง (Epipremnum aureum), เพชรสังฆาต (Cissus quadrangularis), รัก (Calotropis gigantea)
  • Toxalbumins
    • Ricin: ละหุ่ง (Ricinus communis)
    • Abrin: มะกล่ำตาหนู (Abrus precatorius)
    • Saponin: กลอย (Dioscorea hispida), ราตรี (Cestrum nocturnum), มะเยา (Vernicia fordii), มะแว้งนก (Solanum nigrum), มะคำดีควาย (Sapindus saponaria), ประคำดีควาย (Sapindus emarginatus), จามจุรี (Samenea saman), ดับยาง (Solanum verbasifolium)
    • Curcin: สบู่ดำ (Jatropha curcas); หนุมานนั่งแท่น (Jatropha podagrica)
  • Antimitotic alkaloids: ดองดึง (Gloriosa superba)
  • Anticholinergic
    • Hyoscyamine, scopolamine: ลำโพง (Datura metel)
    • Solanine: พลับพลึง (Crinum asiaticum), ราตรี (Cestrum nocturnum), มะแว้งนก (Solanum nigrum), ดับยาง (Solanum verbasifolium)
  • Nicotinic: สารพัดพิษ (Sopora tomentosa), ยาสูบ (Nicotiana tabacum)
  • Psychoactive: Peyote (Lophophora wailliamsii), จันทน์เทศ (Myristica fragrans), บานเช้า (Ipomoea violacea), ใบระบาด (Argyreia nervosa)
  • Hepatotoxic: หญ้างวงช้าง (Heliotropium indicum), คอมเฟรย์ (Symphytum offinale), หิ่งเม่น (Crotalaria striata)
  • Cardioactive steroid: ยี่โถ (Nerium indicum), ชวนชม (Adenium oebsum), กระบอก หรือ รำเพย (Thevetica peruviana), บานบุรีเหลือง (Allemanda cathartica), สัตตบรรณ หรือ ตีนเป็ด (Alstonia scholaris), พังพวยฝรั่ง (Catharanthus roseus), ตีนเป็ดทราย (Cerbera manghas), ยางน่องเถา (Strophanthus caudatus), หอมปีนัง (Strophanthus kombe), เครื่องน่อง (Strophantus scandens), บานทน (Strophanthus gratus), รัก (Calotropis gigantea), รักดอกขาว (Calotropis procera)
  • Cyanogenic: มักม่วน หรือ ท้อ (Prunus persica), กุ่มน้ำ (Gataeva nervala), ผักหนาม (Lasia spinosa), มะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale), ดอกสามเดือน (Hydrangia macrophylla), มันสำปะหลัง (Manihot esculenta)


1. พืชพิษที่ทำให้เกิดอาการทางเดินอาหาร

กลุ่มที่ทำให้เกิดการระคายเคือง จากการที่มีผลึก calcium oxalate มีลักษณะเป็นรูปเข็ม ทำให้เกิดการบาดเจ็บและการอักเสบของเยื่อบุช่องปากและลำคอ
  • ส่วนใหญ่เป็นพืชในวงศ์ Araceae ได้แก่ กระดาด (Alocasia indica), กระดาดดำ หรือ โหรา (Alocasia macrorhiza), แก้วกาญจนา หรือ เขียวหมื่นปี (Aglaonema), เงินไหลมา (Arisaema triphyllum), หน้าดอกวัว (Anthurium andracanum), เสน่ห์จันทร์แดง (Homalamena rubscens), บอนสี (Cladium bicolor), ผักหนาม (Lasia spinosa), ว่านอ้ายใบ หรือ สาวน้อยประแป้ง (Dieffenbachia seguine), อุตพิด หรือ มะโหรา (Typhonium trilobatum), พลูแฉก หรือ พลูฉีก (Monstena deliciosa), พลูด่าง (Epipremnum aureum); ในวงศ์อื่นๆ เช่น  เพชรสังฆาต (Cissus quadrangularis), รัก (Calotropis gigantea)
  • มีอาการปวดบวมภายในปากและลำคอ ถ้าเข้าตาจะทำให้ปวดตา corneal injury และ conjunctivitis สามารถมีอาการปวดบวมได้ถึง 8 วัน
  • Tx: รักษาตามอาการ พิจารณาให้ steroid อาจให้ยาลดกรด (aluminium magnesium hydroxide) 10 mL PO q 2 h

กระดาดดำหรือโหรา (Alocasia macrorhiza) (ใบใหญ่ สีเขียวเข้ม หนากว่ามักเข้าใจผิดกับโชน หรือ อ้อดิบ (Colocasia giganteที่กินได้ (ใบเล็กกว่า สีเขียวอ่อนกว่า บางกว่า); ภาพจาก wikipedia
 กลุ่ม toxalbumins มีสารพิษ เช่น ricin พบใน ละหุ่ง (Ricinus communis); abrin พบใน มะกล่ำตาหนู (Abrus precatorius); curcin พบในสบู่ดำ (Jatropha curcas); หนุมานนั่งแท่น (Jatropha podagrica); saponin (ดูเรื่องพิษต่อระบบไตด้านล่าง) พบใน กลอย (Dioscorea hispida), ราตรี (Cestrum nocturnum), มะเยา (Vernicia fordii), มะแว้งนก (Solanum nigrum), มะคำดีควาย (Sapindus saponaria), ประคำดีควาย (Sapindus emarginatus), จามจุรี (Samenea saman), ดับยาง (Solanum verbasifolium)
  • เม็ดละหุ่งเพียง 1 เม็ดจะมี ricin มากพอที่ทำให้เสียชีวิตได้ แต่ถ้าได้รับโดยการกิน สารพิษจะถูกดูดซึมได้น้อยมาก ทำให้พบแต่เพียงอาการทาง GI เท่านั้น แต่ถ้ากินในปริมาณมากๆ หรือ ได้ทาง parenteral จะพบ systemic organ dysfunction (cardiac, neurologic, hepatic, renal) ได้ ถ้าได้รับทาง inhalation จะเกิดอาการอย่างรวดเร็วและเสียชีวิตได้ใน 36 ชั่วโมง
  • สบู่ดำ เป็นพืชพิษที่มีอุบัติการณ์สูงที่สุด มีอาการอาเจียนอย่างรุนแรง กระสับกระส่าย ถ่ายเป็นเลือด อาจมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อที่มือ เท้า หายใจเร็ว หอบ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจทำให้เสียชีวิตได้

สบู่ดำ (Jatropha curcas); ภาพจาก guru.sanook.com
 กลุ่ม antimitotic alkaloids มีสาร colchicine พบใน ดองดึง (Gloriosa superba)
  • มีอาการทาง GI ใน 2-24 ชั่วโมง แล้วตามด้วย multisystemic organ failure (coagulopathy, bone marrow suppression, cardiogenic shock, ARDS, hepatic failure, seizure, coma)
  • Tx: ให้ aggressive GI decontamination, supportive care

ดองดึง (Gloriosa superba)
กลุ่มที่มี hepatotoxic
  • ได้แก่ หญ้างวงช้าง (Heliotropium indicum), คอมเฟรย์ (Symphytum offinale), หิ่งเม่น (Crotalaria striata)


2. พืชพิษต่อระบบหัวใจ

กลุ่ม cardioactive steroid ที่ออกฤทธิ์คล้าย digitalis
  • พบพืชในวงศ์ Apocynaceae ได้แก่ ยี่โถ (Nerium indicum), ชวนชม (Adenium oebsum), กระบอก หรือ รำเพย (Thevetica peruviana), บานบุรีเหลือง (Allemanda cathartica), สัตตบรรณ หรือ ตีนเป็ด (Alstonia scholaris), พังพวยฝรั่ง (Catharanthus roseus), ตีนเป็ดทราย (Cerbera manghas), ยางน่องเถา (Strophanthus caudatus), หอมปีนัง (Strophanthus kombe), เครื่องน่อง (Strophantus scandens), บานทน (Strophanthus gratus); พืชในวงศ์อื่น ได้แก่ รัก (Calotropis gigantea), รักดอกขาว (Calotropis procera)
  • มีอาการทาง GI ในช่วงแรก ตามด้วย cardiac arrhythmia เช่นเดียวกับ digoxin toxicity
  • Tx: AC, monitor ECG, digoxin Fab ในรายที่มี cardiac dysrhythmia หรือ serum K > 5 mEq/L, หลีกเลี่ยงการทำ  transvenous pacing และการให้ Ca IV; รักษา hyperkalemia ด้วยวิธีปกติ (ยกเว้นไม่ให้ Ca) ในกรณีที่ไม่มี digoxin Fab; atropine IV

ยี่โถ (Nerium indicum); ภาพจาก wikipedia
ชวนชม (Adenium obesum); ภาพจาก jardineriaon.com
รำเพย (Thevetia peruviana); ภาพจาก wikipedia
บานบุรีเหลือง (Allemanda cathartica); ภาพจาก commons.wikimedia.org
3. พืชพิษต่อระบบประสาท

กลุ่มที่มีฤทธิ์ anticholinergic จาก atropine-like alkaloid
  • สาร hyoscyamine, scopolamine พบได้ใน ลำโพง (Datura metel) จะมีอาการทาง anticholinergic toxidrome จะเกิดอาการภายใน 4 ชั่วโมง; Tx รักษาตามอาการ ให้ BZD เพื่อให้ผู้ป่วยสงบ หลีกเลี่ยง antipsychotic (เพราะมีฤทธิ์ anticholinergic) ในรายที่มีอาการมากให้ physostigmine
  • สาร Solanine พบได้ใน พลับพลึง (Crinum asiaticum), ราตรี (Cestrum nocturnum), มะแว้งนก (Solanum nigrum), ดับยาง (Solanum verbasifolium) ช่วงแรกจะมี GI toxic มาก่อน มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อาจเกิดอาการช้าได้ถึง 24 ชั่วโมง และเมื่อถูกดูดซึมจะมีอาการทาง CNS เหมือนกับพิษจาก atropine ได้ เช่น hallucination, delirium, obtundation

ลำโพง
กลุ่มที่มีฤทธิ์กระตุ้น nicotinic subtype ของ acetylcholine receptor
  • ได้แก่ สารพัดพิษ (Sopora tomentosa), ยาสูบ (Nicotiana tabacum) และพืชที่มีชื่อในประวัติศาสตร์คือ poison hamlock ที่เกี่ยวกับการตายของโสเครติส
  • อาจเกิดอาการภายใน 1 ชั่วโมง ถ้าอาการไม่รุนแรงจะมีแต่อาการทาง sympathomimetic เช่น กระสับกระส่าย มือสั่น ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นจะกระตุ้นทั้ง sympathetic, parasympathetic (น้ำลายมาก อาเจียน) และ NMJ (fasciculation กล้ามเนื้ออ่อนแรง)
  • Tx: รักษาตามอาการ, AC, respiratory support, IVF, antidysrhythmics, anticonvulsants

กลุ่มที่มีฤทธิ์ psychoactive คล้าย LSD
  • ได้แก่ Peyote (Lophophora wailliamsii), จันทน์เทศ (Myristica fragrans), บานเช้า (Ipomoea violacea), ใบระบาด (Argyreia nervosa)
  • ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน


4. พืชพิษต่อระบบไตและปัสสาวะ
  • สาร Djenkolic ทำให้ปัสสาวะสีเข้มขุ่นหรือปัสสาวะไม่ออก อาจปวดท้องรุนแรง ปัสสาวะเป็นเลือด พบในลูกเนียง (Archidendron jaringa)


5. พืชพิษต่อระบบเลือด
  • สาร saponin ในกลุ่ม toxalbumin (ดูกลุ่ม toxalbumin ข้างต้น) อาจทำให้เกิด hemolysis ได้

กลุ่ม Cyanogenic plants
  • พบในพืชหลายพันชนิด รวมถึงผักและผลไม้ที่พบได้เป็นประจำ แต่อยู่ในส่วนที่ไม่ได้ใช้รับประทาน จะพบสาร amygdalin ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น hydrogen cyanide พบในใบ เปลือก และเมล็ดของผลไม้กลุ่ม Prunus เช่น แอปเปิล พลัม พีช แอปริคอท และ มักม่วน หรือ ท้อ (Prunus persica); พืชอื่นๆ เช่น กุ่มน้ำ (Gataeva nervala), ผักหนาม (Lasia spinosa), มะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale), ดอกสามเดือน (Hydrangia macrophylla)
  • สาร linamarin และ lotaustralin  พบในมันสำปะหลัง (Manihot esculenta) จะเปลี่ยนเป็น hydrogen cyanide พบในส่วนผิวเปลือกราก หรือไม่ได้ปรุงสุก
  • อาการอาจเกิดช้า มีอาการระคายเคืองทางเดินอาหาร ตามด้วยอาการของ hypoxia
  • Tx: รักษาเหมือน cyanide poisoning


6.  พืชพิษต่อระบบผิวหนัง
  • Mechanical injury ได้แก่ พืชที่มี calcium oxalate (ดูด้านบน), รังตาช้าง (Urtica dioica), สัปปะรด (Bromeliaceae spp.), หมามุ่ย (Mucuna spp.)
  • Irritant dermatitis เกิดจากสาร phenol esters พบในพืชวงศ์ Euphorbiaceae ทำให้ผิวหนังแดง เป็นตุ่มพอง เมื่อสัมผัส เมื่อเข้าตาจะทำให้กระจกตาอักเสบ ลอก จะหายใน 1-2 สัปดาห์ ได้แก่ สลัดได (Euphorbia antiquorum), โป๊ยเซียน (Euphorbia milii), พญาไร้ใบ (Euphorbia tirucalli); chemical irritants อื่นๆ เช่น histamine, acetylcholine พบในพืช เช่น รังตาช้าง (Urtica dioica), สัปปะรด (Bromeliaceae spp.), หมามุ่ย (Mucuna spp.), ตำแย (Laportea spp.) เป็นต้น

พญาไร้ใบ (Euphorbia tirucalli); ภาพจาก commons.wikimedia.org
  • Allergic contact dermatitis เกิดจากสาร urushiol ทำให้เกิดผื่นลมพิษ และคัน ใน 12-48 ชั่วโมง อาจมีตุ่มพองได้ ลักษณะพิเศษคือ เมื่อน้ำพืชสัมผัสกับอากาศจะกลายเป็นสีดำใน 2-3 นาที (black spotsign) พบในพืชหลายชนิด ได้แก่ รักใหญ่ (Melanorrhoea usitata), แปะก๊วย (Ginkgoaceae), มะม่วง (Mangifera indica), พิสทาชิโอ (Pistacia vera), มะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale); สาร glycoside tuliposide พบใน ทิวลิป (Tulipa spp.) และแดฟโฟดิล (Narcissus spp.) ทำให้เกิดอาการปวดและคันได้ (tulip fingers)
  • Phytophotodermatitis เกิดจากสาร furocoumarins ถูกกระตุ้นจากแสงอาทิตย์ ทำให้มีอาการคล้าย sunburn อาจเกิดเป็นตุ่มพองและกลายเป็น hyperpigmentation อยู่หลายเดือน พบในพืชหลายชนิด รวมถึงที่ใช้เป็นอาหาร เช่น  มะกรูด มะนาว ผักชีฝรั่ง แครอท คื่นช่าย เป็นต้น 



Ref: Tintinalli ed8th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น