Elderly abuse
คือ
การกระทำหรือละเว้นการกระทำที่มีผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือสวัสดิภาพของผู้สูงอายุ
สามารถแบ่งออกเป็น
- Physical abuse คือ การทำให้เกิดการอันตรายต่อร่างกาย ความเจ็บปวด การสูญเสียสมรรถภาพ เช่น ผลัก ตบ ตี ไฟลวก การผูกมัดที่ไม่เหมาะสม การใช้ยาเกินขนาดหรือใช้ยากล่อมประสาทเพื่อให้หลับก็เป็นรูปแบบหนึ่งของความต้องการที่จะยึดร่างกายไว้กับที่ โดยรวมหมายถึงเจตนาให้เกิดความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวด หรือ การสูญเสียความสามารถทางกาย
- Caregiver neglect คือ การที่คนดูแลไม่จัดหาหรือทำในสิ่งที่เป็นความต้องการพื้นฐานที่จำเป็นในการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจของผู้สูงอายุ เช่น การขาดอาหาร เสื้อผ้า สุขอนามัย การรักษาพยาบาล ที่อยู่อาศัย หรือขาดการใส่ใจดูแลต่อปัจจัยที่จำเป็นต่อสุขภาวะโดยสมควร
- Sexual abuse คือ การล่วงละเมิดทางเพศ ตั้งแต่การสัมผัส ลูบคลำที่ไม่ต้องการ การกระทำอนาจาร ประชดประชัน เสียดสี ข่มขืนกระทำชำเรา
- Financial/material exploitation คือ การนำเงิน ทรัพย์สิน หรือ ของมีค่าของผู้สูงอายุไปโดยผิดกฎหมายหรือไม่สมควรในขณะที่ผู้สูงอายุอยู่ในภาวะไร้ความสามารถ ผู้สูงอายุอาจเซ็นชื่อโดยไม่เจตนาในการให้สิทธิเข้าไปจัดการบัญชีหรือทรัพย์สินส่วนตัว เงินสวัสดิการสังคมหรือเงินบำนาญอาจถูกใช้โดยคนดูแลเพื่อประโยชน์ของตนเอง การขโมยอาจเกิดซึ่งหน้า หรือการขู่บังคับให้โอนย้ายทรัพย์สิน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม
- Emotional/psychological abuse คือ การกระทำที่ส่งผลต่อภาวะจิตใจ เช่น การคุกคามด้วยคำพูด ดูถูกเหยียดหยาม ข่มขู่ ก่อให้เกิดความรำคาญใจ รวมถึง การเพิกเฉยเย็นชา การโดดเดี่ยวทางสังคม
- Abandonment คือ การที่คนที่มีหน้าที่ต้องดูแล ทิ้งผู้สูงอายุไว้ที่บ้าน โรงพยาบาล สถานพยาบาล ห้างสรรพสินค้า หรือ สถานที่สาธารณะอื่นๆ
- Self-neglect คือ การที่ผู้สูงอายุไม่ใส่ใจดูแลตนเอง ทั้งในเรื่องอาหาร เสื้อผ้า สุขอนามัย การรักษาพยาบาล ที่อยู่อาศัย หรือการติดต่อสัมพันธ์กับสังคม เกิดจากการที่ผู้สูงอายุขาดความสามารถทางด้านร่างกายหรือจิตใจ รวมถึงผู้สูงอายุที่รู้ถึงผลกระทบของการไม่ใส่ใจดูแลตนเอง แต่ก็ยังตัดสินใจเลือกที่จะกระทำอย่างนั้น
ซักประวัติ
- คำถามคัดกรอง ได้แก่
- “เคยถูกสัมผัสร่างกายโดยไม่ยินยอมหรือไม่”
- “เคยถูกให้ทำอะไรที่คุณไม่ต้องการจะทำหรือไม่”
- “เคยถูกเอาของที่เป็นของๆคุณไปโดยไม่ได้ขอหรือไม่”
- “เคยถูกทำร้ายหรือไม่”
- “เคยถูกพูดดุว่าหรือข่มขู่อะไรหรือไม่”
- “เคยถูกให้เซ็นเอกสารอะไรที่คุณไม่เข้าใจหรือไม่”
- “คุณรู้สึกกลัวใครที่บ้านหรือไม่”
- “ส่วนใหญ่คุณถูกทิ้งให้อยู่คนเดียวหรือไม่”
- “ตอนที่คุณต้องการความช่วยเหลือ คุณเคยถูกปฏิเสธบ้างหรือไม่”
- นอกจากจะถามโดยตรง ยังอาจดูจากอากัปกิริยา เช่น ซึมเศร้า กลัว ถอยหนี (withdrawal) สับสน วิตกกังวล ไม่นับถือตัวเอง (low self-esteem) หมดอาลัย (helplessness)
- ประวัติที่ทำให้สงสัย เช่น เปลี่ยนแพทย์ไปเรื่อยๆ (physician shopping), มีการบาดเจ็บที่อธิบายไม่ได้, มารพ.หลายครั้งด้วยการบาดเจ็บคล้ายๆเดิม
- ซักประวัติหาปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
- ด้านผู้สูงอายุ ได้แก่ ความจำเสื่อม ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ขาดการสนับสนุนทางสังคม ติดเหล้า ประวัติความรุนแรงในครอบครัว เพศหญิง ไร้ความสามารถ ปัญหาพฤติกรรมรุนแรง มีโรคทางกายหรือทางจิตที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ขาดประสบการณ์ในการจัดการทางการเงิน
- ด้านผู้ดูแล ได้แก่ ประวัติเจ็บป่วยทางจิตใจ ประวัติใช้สารเสพติด ต้องพึ่งพิงทางการเงินจากผู้สูงอายุ ประวัติความรุนแรงภายในหรือภายนอกครอบครัว
- สังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและคนดูแล เช่น ผู้ป่วยหวาดกลัวคนดูแล ผู้ป่วยและคนดูแลให้ประวัติไม่ตรงกัน คนดูแลไม่สนใจหรือแสดงอาการโกรธต่อผู้ป่วย คนดูแลแสดงความกังวลมากผิดปกติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาที่จำเป็น คนดูแลไม่ยอมให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพังกับแพทย์ คนดูแลกังวลหรือให้ความสนใจมากผิดปกติ
ตรวจร่างกาย
- ดู poor GA, poor hygiene, malnutrition, dehydration, pressure ulcers, contractures, fecal impaction, excoriations
- Trauma ในบริเวณที่ไม่ปกติ เช่น inner arms, inner thighs, mastoid area, palms, soles, buttocks; midshalf ulnar fracture, head/spine/trunk fracture, spiral fracture, fracture with rotational components
- ตรวจพบการบาดเจ็บในหลายๆระยะ, ผมร่วงจากการดึง (traumatic alopecia), รอยจากการโดนผูกมัด
- Genital trauma, STD finding, oral trauma
การรักษา
- รักษาอาการบาดเจ็บทางกาย บันทึกปัญหาที่พบ เช่น การให้ยาที่บ้าน อาหาร อาบน้ำ แต่งตัว การเข้าห้องน้ำ การเงิน
- ในรายที่ให้กลับบ้าน ให้นัดติดตามอาการดูเรื่องความปลอดภัย ความเครียดของคนดูแล การใช้สารเสพติด ติดต่อสังคมสงเคราะห์อาจจะสามารถหาทางช่วยเหลืออื่นๆได้
- ในกรณีที่คนดูแลไม่ได้จงใจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย อาจเพียงให้ความรู้คนดูแลก็เพียงพอ
- ปัจจุบันเริ่มมีทางเลือกในการช่วยเหลืออื่นๆ เช่น บริษัทจัดหาคนมาดูแลที่บ้าน (home health aide) หรือมีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ, ศูนย์ดูแลกลางวัน (day care), บริการดูแลชั่วคราว (respite care) ให้ผู้ดูแลได้พักชั่วระยะเวลาหนึ่ง (3-16 วัน)
- บางครั้งปัญหาเกิดจากการที่คนดูแลมีภาระมากเกินไป (overburdened) นอนหลับไม่เพียงพอ ไม่ได้ออกกำลังกาย โภชนาการไม่ดี บริการที่จะช่วยเหลือคนดูแล เช่น มีกองทุนช่วยเหลือ กลุ่มช่วยเหลือในชุมชน บริการส่งอาหารที่บ้าน บริการดูแลชั่วคราว บริการให้คำปรึกษา
- อาจมีทีมสหวิชาชีพ (แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์) ในการประเมินและวางแผนในการรักษา อาจจัดให้มี physical และ occupational therapy, การส่งเสริมโภชนาการ เป็นต้น
Ref: Tintinalli ed8th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น