Approach to Skin disorders
ซักประวัติและตรวจร่างกาย
- อาการสำคัญ ประวัติผื่น มีอาการอะไรมาก่อน ที่ไหน เป็นนานเท่าใด เริ่มจากไหน กระจายไปไหน ลักษณะผื่น การเปลี่ยนแปลงของผื่น
- ซักหาสาเหตุ ได้แก่ ใกล้ชิดคนป่วย เพศสัมพันธ์ แมลง สัตว์ พืช อาหาร ยา สารเคมี ตากแดด ท่องเที่ยว
- ตรวจผิวหนัง เล็บ ผม หนังศีรษะ และเยื่อบุต่างๆ โดยดูลักษณะผื่น และรูปแบบการกระจายตัวเป็นสำคัญ เช่น
- Dermatome: VZV
- Flexor surfaces: atopic dermatitis, candidiasis, eczema, ichthyosis
- Sun exposure: sunburn, photosensitive drug eruption, photosensitivity dermatitis, SLE, viral exanthema, porphyria
- Distal extremities: viral exanthema, atopic dermatitis, contact dermatitis, eczema, gonococcemia
- Front-back of chest: pityriasis rosea, 2o syphilis, drug eruption, atopic-contact dermatitis, psoriasis
- Clothing covered: contact dermatitis, psoriasis, folliculitis
- Acneiform: acne, drug-induced acne, irritant dermatitis
- Bilateral symmetry สงสัย systemic event เช่น erythema multiforme
การบรรยาย
skin
lesion
ได้แก่ ขนาด สี ชนิด ผิว รูปร่าง การกระจายตัว
|
Ix: KOH (dermatophyte,
molluscum contagiosum), direct microscope (scape from
burrow/papule: scabies), Tzanck smear (HZV, VZV, HSV), Wood’s light
(erytherasma-Corynebacterium; fungal infection-Malassezia,
Microsporum; pseudomonal skin infection, porphyria cutaneous tarda)
Tx: การรักษาตาม
specific diagnosis ตัวอย่างยาที่ใช้ได้แก่
- Systemic steroid ตัวอย่างโรคที่ใช้ เช่น urticaria > 20% BSA, contact หรือ allergic dermatitis ได้แก่ prednisolone 40 mg PO OD x 4 d; ไม่ควรใช้ใน DM, HT, active PU, psychiatric disease, immunodeficiency
- Topical corticosteroids หลักการใช้ยา topical steroids
- เลือก potency ให้เหมาะกับโรคและตำแหน่งที่เป็น
|
- ทายาบางๆแล้วนวด ความถี่ในการใช้ยาให้คงเดิมแม้ว่าอาการจะเริ่มดีขึ้น
- เพื่อป้องกัน tachyphylaxis ถ้าเป็นยา high potency ให้ทายาวันละ 2-3 ครั้ง x 1-2 สัปดาห์แล้วหยุดพัก 1 สัปดาห์ ถ้า low potency ให้ทายาวันละ 3 ครั้ง x 2-4 สัปดาห์แล้วหยุดพัก 1 สัปดาห์
- ปริมาณที่ให้ gm = จำนวนครั้งที่ทาต่อวัน x จำนวนวัน x %BSA x 0.3
- Antihistamine แนะนำให้ PO > topical เพราะว่ายาทาก็ดูดซึมเหมือนกันและควบคุมปริมาณยาก โดยอาจให้ H2 antagonist คู่กับ H1 antagonist ใน severe allergic reaction
- Topical ATB มีที่ใช้เช่น topical mupirocin ใน skin infection; polymyxin B, bacitracin, neomycin, silver sulfadiazine (ห้ามใช้ที่ใบหน้า) ใน wound dressing; oral tetracycline rinse ใน aphthous ulcer
- เลือกตัวกลางของยาที่เหมาะสม เช่น
- Cream (oil + water + preservative) จะไม่เหนียวเหนอะหนะ ใช้กับบริเวณใดก็ได้ มักใช้ใน acute therapy เพราะถ้าใช้เป็นเวลานานจะทำให้ผิวแห้ง ในผู้ป่วยบางรายอาจแพ้ยา preservative ให้เปลี่ยนเป็นกลุ่ม ointment แทน
- Ointment (petroleum) เป็นลักษณะขี้ผึ้ง ช่วยหล่อลื่น นำยาไปได้ลึกกว่ากลุ่ม cream ช่วยกักความชุ่มชื้นไว้ ไม่เหมาะกับกลุ่ม acute exudative syndrome หรือบริเวณ intertriginous area
- Gels (propylene glycol + water +/- alcohol) จะรู้สึกเหนียวๆ กลุ่ม alcohol-containing gel จะเหมาะกับ acute exudative lesion และในกลุ่ม alcohol-free จะใช้ในบริเวณที่แห้ง ตกสะเก็ด บางครั้งนิยมใช้บริเวณหนังศีรษะเพราะไม่มีผลต่อทรงผม
- Solutions หรือ lotions จะเหลวกว่าตัวกลางประเภทอื่นๆ มักใช้บริเวณหนังศีรษะหรือที่มีขนเยอะๆเพราะไม่ค่อยเห็นเศษค้างบนเส้นขน
Ref: Tintinalli ed8th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น