Basic airway management: manual
maneuver
Open the airway
- ในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวอาจมีภาวะ upper airway obstruction ที่เกิดจากลิ้นตกลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนเปิดทางเดินหายใจ
- สิ่งแปลกปลอมในปาก ถ้าเป็นของเหลวให้ใช้นิ้วกวาดหรือผ้าเช็ดออก ถ้าเป็นของแข็งให้ใช้นิ้วชี้เกี่ยวออก
- Head-tilt/chin-lift maneuver: ในรายที่ไม่สงสัยการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอให้ทำ ให้ใช้มือหนึ่งจับที่หน้าผากใช้ฝ่ามือดันไปด้านหลัง และใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งวางใต้คางในส่วนที่เป็นกระดูก ยกคางขึ้น ซึ่งจะทำให้คอส่วนบนแหงนขึ้นเล็กน้อย และใช้นิ้วโป้งเปิดปากผู้ป่วย ถ้าฟันโยกให้เอาออก
- Jaw-thrust maneuver (without head tilt): เอามือแต่ละข้างไว้ด้านข้างศีรษะผู้ป่วย วางศอกไว้บนพื้น ใช้มือจับที่มุมกรามแล้วยกขากรรไกรขึ้น จนกระทั้งฟันล่างอยู่หน้าต่อฟันบน ถ้าริมฝีปากปิดให้ใช้นิ้วโป้งดึงริมฝีปากล่างลง วิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในคนที่สงสัย cervical spine injury (แต่ต้องทำ in-line immobilization ร่วมด้วยเสมอ)
- The triple airway maneuver: ประกอบด้วยการทำ head-tilt, jaw thrust, และ mouth opening
Patient positioning
- Sniff position ในผู้ใหญ่ขนาดปกติให้หนุนศีรษะให้สูงขึ้นประมาณ 10 ซม.และแหงนหน้าเล็กน้อย แต่ในคนอ้วนอาจต้องหนุนศีรษะให้สูงกว่านี้ ซึ่งจำเป็นต้องหนุนหลังส่วนบนร่วมด้วย จนกระทั่งให้รูหูอยู่ในระดับเดียวกับ sternal notch; ข้อห้าม: สงสัย cervical spine injuries
(From Wiener-Kronish JP, Shimabukuro DW: Airway management. In Albert RK, Spiro SG, Jett JR, editors: Clinical respiratory medicine, ed 3, Philadelphia, 2008, Mosby.) |
Foreign body airway obstruction
ในรายที่ยังพูดได้ ไอได้ ไม่เขียว ให้ปล่อยให้ผู้ป่วยหายใจเองขณะที่รอความช่วยเหลือ
ทำ intervention เฉพาะในรายที่พูดไม่ได้ ไอไม่มีเสียง
หรือเริ่มไม่รู้สึกตัว
universal choking sign; ภาพจาก Part 3: Adult Basic Life Support. 22 MAR 2018. Circulation. 2000;102:I-22–I-59 |
วิธีการ (Response victim)
- Abdominal thrusts (Heimlich maneuver): ทำในผู้ใหญ่และเด็ก > 1 ปีที่ยังรู้สึกตัว ให้ยืนด้านหลัง โอบมือรอบเอว มือหนึ่งกำมือวางไว้ระหว่างสะดือและลิ้นปี่ หันด้านนิ้วโป้งเข้าหาผู้ป่วย อีกมือหนึ่งจับมือที่กำไว้ ออกแรงกระแทกเฉียงขึ้นด้านบน ทำซ้ำๆจนกว่าจะได้ผล อาจเปลี่ยนไปทำ chest trust แทน ถ้าไม่รู้สึกตัวให้ activate EMS และ start CPR ; ข้อห้าม: ไม่ควรทำใน pregnancy หรือท้องโตยื่นออกมา; ภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ stomach rupture, esophageal perforation, mesenteric laceration
- Chest thrusts: ใน late stage pregnancy หรืออ้วนมากจนโอบรอบเอวไม่ได้ ซึ่งในทางทฤษฎีสามารถจะมี intrathoracic pressure ในการดันให้ FB หลุดออกมาได้มากกว่า ให้ยืนด้านหลัง สอดมือใต้รักแร้ โอบมือรอบหน้าอก
มือหนึ่งกำมือวางไว้กลางกระดูกสันอก (sternum) หันด้านนิ้วโป้งเข้าหาผู้ป่วย อีกมือหนึ่งจับมือที่กำไว้
ออกแรงกระแทกไปทางด้านหลัง ไม่กระแทกที่กระดูกลิ้นปี่หรือขอบซี่โครง
ทำซ้ำๆจนกว่าจะได้ผลหรือไม่รู้สึกตัว (activate EMS, start CPR) ถ้าไม่สามารถโอบรอบได้ให้ทำในท่านอน
แล้วกดหน้าอกในลักษณะเดียวกับการทำ chest compression ใน CPR
- Back blows (slaps)/chest trusts: ทำในทารก ให้จับนอนคว่ำบนแขน หัวต่ำ ใช้ส้นมือกระแทกระหว่างกระดูกสะบัก 5 ครั้ง แล้วพลิกหงายหัวต่ำกดหน้าอก 5 ครั้ง ทำซ้ำจนกว่าจะได้ผลหรือไม่รู้สึกตัว
ภาพจาก healthinessbox.com |
วิธีการ (Unresponsive)
- Activate EMS และ start CPR เริ่มทำ chest compression (ไม่ต้อง check pulse)
- เมื่อ chest compression ครบ 30 ครั้ง ให้เปิด airway และดูว่ามี FB หรือไม่ ไม่แนะนำให้ทำ Finger sweep and tongue-jaw lift ถ้าไม่เห็น FB หลังจากนั้นให้ช่วย breathing ตาม ACLS guideline ต่อไป
จับผู้ป่วยหงายหน้า เปิดปากโดยจับที่ลิ้นและขากรรไกรล่างยกขึ้น (tongue-jaw lift) แล้วสอดนิ้วชี้ของอีกมือหนึ่งลงไปตามข้างแก้ม ลึกลงไปที่โคนลิ้น แล้วใช้นิ้วเกี่ยว FB ที่อุดกั้นอยู่ออกมา บางครั้งอาจต้องดัน FB ไปคอด้านตรงข้ามเพื่อให้หลุดออก แต่ระวังไม่ดัน FB ให้ลึกลงไปในทางเดินหายใจ; ภาพจาก Part 3: Adult Basic Life Support. 22 MAR 2018. Circulation. 2000;102:I-22–I-59 |
Ref:
Robert Clinical Procedure, Part 5: Adult Basic Life Support: AHA 2010
ขอบคุณมากค่ะ
ตอบลบ