วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Vital signs measurement

Vital signs measurement

สัญญาณชีพที่วัดในห้องฉุกเฉิน ได้แก่ Respiratory rate (RR), Pulse rate (HR), Blood pressure (BP), Temperature (T), +/- Pain แต่ในผู้ป่วยที่มาด้วยปัญหาเล็กน้อย เช่น มาตัดไหม เป็นต้น การวัดสัญญาณชีพทุกชนิดอาจไม่มีความจำเป็น ซึ่งควรดูเป็นรายๆไป

สัญญาณชีพอาจจะบอกความรุนแรงของโรคได้ แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเจ็บปวด ความกลัว ความวิตกกังวล ความตื่นเต้น เป็นต้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญกว่าสัญญาณชีพที่วัดได้ในครั้งแรกคือ การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพว่าดีขึ้นหรือแย่ลงหลังให้การรักษา ซึ่งความถี่ในการวัดสัญญาณชีพขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วยและอาการทางคลินิก

Pregnancy physiology: RR จะไม่เปลี่ยนแปลง (แต่ TV เพิ่มขึ้น RV ลดลง), PR เพิ่ม 10-15%, SBP จะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อนั่งหรือยืน แต่ DBP จะลดลงจนถึง 28 สัปดาห์, ถ้านอนตะแคงจะลดทั้ง SBP และ DBP จนถึง 28 สัปดาห์


Respiration

ข้อห้าม
  • ไม่ควรเสียเวลานับ RR ในผู้ป่วยที่ต้องการ immediate therapeutic intervention เช่น respiratory distress, apnoea, หรือ upper airway obstruction
วิธีการ
  • นับอัตราการหายใจ 1 นาทีโดยไม่ให้ผู้ป่วยรู้ตัว (หรือใช้ electronic monitor) ส่วนในเด็กทารกอาจจะคลำการเคลื่อนไหวของหน้าท้องหรือหน้าอก และดูรูปแบบในการหายใจ
การแปลผล

อัตราการหายใจ (RR)
  • RR ปกติในผู้ใหญ่ (ห้องฉุกเฉิน) คือ 16-24 ครั้ง/นาที แต่ต้องระวังความถูกต้องของข้อมูลเพราะจากการศึกษาพบว่ามีความคลาดเคลื่อนในการนับประมาณ 5-6 ครั้ง/นาที
  • RR ปกติในเด็กมีค่าแตกต่างไปตามอายุ ตอนอายุน้อยค่าปกติจะกว้างกว่า เช่น ในทารกแรกเกิด คือ 34-68 ครั้ง/นาที แล้วค่อยๆลดลง ใน 3 ขวบ คือ 18-30 ครั้ง/นาที
  • Resting RR ที่สัมพันธ์กับ pneumonia (sent 74% spec 77%) คือ < 6 เดือน RR > 59; 6-11 เดือน RR > 52; 1-2 ปี RR > 42 ครั้ง/นาที (จำว่า 40-50-60)
รูปแบบการหายใจ
  • การหายใจลำบาก เช่น การหายใจออกเสียงดัง (grunting) เกิดจากการพยายามสร้าง PEEP โดยการปิด glottis บางส่วนขณะหายใจออก; หายใจมี retraction, prolonged expiration หรือ diaphragmatic breathing


  • Kussmaul respiration/Hyperpnea คือ การหายใจลึกอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีอัตราเร็วขึ้นหรือปกติก็ได้ (ในระยะแรกจะหายใจเร็วตื้นมาก่อน) เกิดได้จาก severe metabolic acidosis
  • Cheyne-Strokes respiration คือ การหายใจที่ค่อยๆเปลี่ยนความตื้น-ลึกสลับกันรอบละ 30 วินาที-2 นาที สาเหตุ เช่น  brain lesion ใน forebrain, CO poisoning, metabolic encephalopathy, opiate effect, altitude sickness
  • Apneustic respiration คือ การหายใจที่มีช่วงกลั้นตอนสิ้นสุดการหายใจเข้า สาเหตุจาก brain lesion ใน pons
  • Biots (Cluster) respiration คือ การหายใจเร็วสลับกับช่วงหยุดหายใจ สาเหตุ เช่น brain lesion ใน medulla หรือ lower pons, opiate effect
  • Ataxic respiration คือ รูปแบบการหายใจที่ไม่สม่ำเสมอ มีการหยุดการหายใจเป็นพักๆ เกิดได้จาก brain lesion ใน medulla
  • ทารก อาจมีการหยุดหายใจเป็นพักๆ (periodic breathing) ต้องแยกจาก apnea คือ apnea จะมีการหยุดหายใจ > 20 วินาที และอาจจะมี bradycardia หรือ hypoxia ร่วมด้วย




Pulse

ข้อห้าม
  • ไม่มีข้อห้าม แต่หลีกเลี่ยงการคลำ carotid artery พร้อมกัน 2 ข้าง และไม่คลำ carotid artery สูงกว่าระดับ thyroid cartilage เพราะ carotid sinus massage จะทำให้เกิด reflex bradycardia; ในคนที่มี atherosclerosis อาจฟังเพื่อหา carotid bruit ก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการคลำอย่างรุนแรงซึ่งอาจทำให้เกิด stroke ได้
วิธีการ
  • ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลาง (เพราะ sensation ดีและการใช้นิ้วโป้งอาจรู้สึกถึงชีพจรของตนเอง) คลำ 15 วินาทีแล้วคูณด้วย 4 ยกเว้นถ้าชีพจรไม่สม่ำเสมอให้คลำ 1 นาที ซึ่งตำแหน่งที่สะดวกที่สุด คือ radial pulse ตำแหน่งอื่นๆ เช่น carotid, brachial, femoral, posterior tibial, dorsalis pedis arteries
  • ทารกแรกเกิดใช้การฟัง heart sound หรือคลำที่ umbilical pulse
  • เด็กทารกใช้การฟัง heart sound บริเวณ apex จะมีความถูกต้องมากกว่าการคลำชีพจร แต่ถ้าคลำชีพจรตำแหน่งที่ดีที่สุด คือ femoral artery
  • เด็กที่อาการไม่คงที่ให้คลำ central pulse ได้แก่ femoral และ brachial pulse
การแปลผล
  • การตรวจชีพจรดูทั้งอัตราเร็วและความสม่ำเสมอ ซึ่ง peripheral pulse เกิดจาก pressure wave (ไม่ใช่ blood flow) และความแรงของชีพจรไม่สามารถทำนายความดันโลหิตได้ถูกต้องเสมอไป
  • มีความสัมพันธ์ระหว่างการคลำ radial และ femoral pulse ไม่ได้กับภาวะ hypotension ใน hypovolemic trauma
Pulse rate
  • ผู้ใหญ่ค่าปกติ คือ 45-95 ครั้ง/นาที ยกเว้นบางกลุ่ม เช่น นักกีฬาอาจมี resting HR 30-40 ครั้ง/นาที
  • เด็กจะขึ้นกับอายุ เช่น 1-6 ปี ประมาณ 80-100 ครั้ง/นาที ; < 1 ปี ประมาณ 100-150 ครั้ง/นาที
  • Sinus dysrhythmia คือ การที่ pulse เร็วขึ้นเมื่อหายใจเข้าและช้าลงเมื่อหายใจออก
  • การแปลผลให้ดูร่วมกับสัญญาณชีพอื่นๆในการพิจารณาว่าเป็น primary (bradyarrhythmia, tachyarrhythmia) หรือ secondary (physiologic, pathologic, pharmacologic) ยกตัวอย่างเช่น
    • Physiologic ที่ทำให้เกิด bradycardia ช่น นักกีฬา, ขณะหลับ, vagal stimulation; ที่ทำให้เกิด tachycardia เช่น เด็ก, ออกกำลัง, วิตกกังวล, อารมณ์
    • Pharmacologic ที่ทำให้เกิด bradycardia เช่น digoxin, opioid, β-blocker, CCB; ที่ทำให้เกิด tachycardia เช่น atropine, epinephrine, sympathomimetic, alcohol, nicotine, caffeine
    • Pathologic ที่ทำให้เกิด bradycardia เช่น hypothermia, inferior wall MI, IICP, carotid sinus hypersensitivity, hypothyroidism; ที่ทำให้เกิด tachycardia เช่น fever, hypoxia, anemia, hypovolemia, PE
Heart rhythm
  • ถ้าชีพจรไม่สม่ำเสมอทำให้สงสัย atrial fibrillation หรือ flutter with variable block ให้ฟัง apical heart sound ซึ่ง apical pulse มักจะมากกว่า peripheral pulse เพราะบาง beat จะมี filling time น้อย ทำให้ stroke volume ไม่เพียงพอในการเกิดชีพจร
Pulse amplitude และ contour
  • อาจจะช่วยบอกข้อมูลบางอย่างได้ เช่น ในภาวะ sepsis ในช่วงแรกที่ cardiac output เพิ่มและ vascular resistance ลดลงจะคลำได้ bounding pulse ซึ่งตรงข้ามกับ advance sepsis จะคลำได้เบา
  • pulse amplitude เพิ่มขึ้น พบได้ในคนที่มี arterial stiffness (คนสูงอายุ) เพราะมี pulse wave velocity เพิ่มขึ้น; weak pulse เกิดจากภาวะ hypotension หรือ local limb ischemia



Arterial blood pressure
  • มีการวัดด้วย indirect BP monitoring และ intra-arterial technique; แต่ในทารกและเด็กแรกเกิดบางครั้งใช้การตรวจ capillary refill มาแทนที่การวัด BP ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนได้มาก
  • ใน low-flow states ที่ไม่สามารถวัด BP ด้วยวิธีปกติได้ อาจใช้ Doppler มาช่วยในการการวัด BP หรือใส่ A-line โดยเฉพาะในบางสถานการณ์เช่น PEA อาจจะช่วยแยกภาวะ severe shock ออกจากภาวะอื่นๆได้
  • ในปัจจุบันมีเครื่องมือ continuous BP measurement (CBPM) เช่น infrared photoplethysmography
ข้อห้าม
  • ไม่ควรวัดในแขนข้างที่มี AV fistula, ipsilateral mastectomy, axillary lymphadenopathy, lymphedema, หรือ  circumferential burns ในบริเวณที่จะพัน cuff BP
เครื่องมือ
  • Indirect BP measurement ประกอบไปด้วย sphygmomanometer (bladder, bulb, manometer) และ stethoscope, Doppler, หรือ oscillometric device; ในบางสถานการณ์ที่เร่งด่วนหรือมีเสียงดัง เช่น prehospital อาจใช้การคลำ systolic pressure (the first Korotkoff sound) แทน
  • เลือกขนาด cuff ที่เหมาะสมโดยส่วน bladder ต้องคลุมรอบแขนได้ 80% และ manometer ต้องได้รับการดูแลอยู่เสมอ ชนิดที่ใช้บ่อย ได้แก่ aneroid (ต้อง calibrate กับ mercury column อย่างน้อยปีละครั้ง), digital, และ mercury gravity column (ต้องวางแนวตั้งเวลาวัด ตรวจดูระดับ mercury และ air filter)
วิธีการ
  • ให้ส่วน bladder cuff อยู่ในระดับ right atrium ในขณะที่แขนถูกประคองไว้
  • Riva-Rocci palpatory technique คือ คลำ arterial pulse และให้ inflate cuff ให้สูงกว่าระดับที่คลำ pulse ไม่ได้ 30 mmHg แล้ว deflate 2-3 mmHg ต่อวินาที ซึ่งการคลำจะได้ SBP ต่ำกว่าความจริงเฉลี่ย 6 mmHg; ในเด็กทารกแนะนำให้ใช้ Doppler method แทน
  • Auscultating BP ให้พัน BP cuff เหนือต่อ antecubital fossa 2.5 ซม.ให้กลาง bladder cuff อยู่ตรง artery และใช้ bell diaphragm วางที่ brachial artery ด้วยแรงกดน้อยที่สุด เมื่อค่อยๆ deflate เสียงแรกที่ได้ยินคือ Koratkoff phase I หรือ SBP และเมื่อเสียงหายไปคือ Korotkoff phase V หรือ DBP; ส่วนในเด็กใช้ Korotkoff phase IV (เสียงจะนุ่มลงจาก phase III) เป็น DBP
  • Novel noninvasive continuous finger cuff technology พบว่ามีความน่าเชื่อถือ แม้ในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก
การแปลผล
  • Optimum BP ในผู้ใหญ่ (ทำให้เกิด morbidity น้อยที่สุด) คือ 115/75 mmHg ซึ่ง BP ปกติตามเกณฑ์ของ AHA คือ SBP < 120 mmHg และ BP < 80 mmHg; และถือว่า hypotensive ถ้า SBP < 90 mmHg
  • SBP ที่ 50th percentile ของเด็ก 1-10 ปี คือ 90 + (อายุ x 2) mmHg
  • SBP ที่ 5th percentile ของเด็ก คือ 70 + (อายุ x 2) mmHg; > 10 ปี คือ 90 mmHg และ < 1 เดือน คือ 60 mmHg
  • Hypotension ในผู้ใหญ่ คือ SBP < 90 mmHg; ใน trauma แบ่งตามอายุ ได้แก่ 65 ปี < 117 mmHg; 36-64 ปี < 96 mmHg, 18-35 ปี < 85 mmHg
  • Hypertension คือ SBP > 130 หรือ DBP > 80 แต่ไม่ควรวินิจฉัยหรือรักษาโดยดูจาก BP ที่วัดได้ผิดปกติในครั้งแรกเท่านั้น ซึ่งต้องการการวัดซ้ำๆและนัดดูอาการต่อเนื่อง และระวังภาวะ white coat hypertension ซึ่งพบได้ > 20%
  • Measurement errors
    • การวัดได้ต่ำกว่าความเป็นจริง เกิดจาก cuff ใหญ่, กด stethoscope แรงเกินไป, deflate cuff เร็วเกินไป
    • การวัดได้สูงกว่าความเป็นจริง เกิดจาก cuff แคบเกินไป, ปวด, วิตกกังวล, การออกแรง, ไม่ได้ประคองแขน, inflate cuff ช้า
    • Korotkoff sound จะไม่น่าเชื่อถือใน hypotension แนะนำให้ใช้ Doppler; ส่วนใน hypertensive อาจจะมี auscultatory gap คือจะมีช่วงที่เสียงเงียบไปในช่วงท้ายของ phase I อาจทำให้วัดได้ DBP สูงกว่าความเป็นจริงและ SBP ต่ำกว่าความเป็นจริงได้
    • Aortic insufficiency, hyperthyroidism, เด็ก < 5 ปี, หรือหลังออกกำลังกาย การวัด DBP ให้ใช้ Korotkoff phase IV
    • Hemiplegic ถ้าวัดข้าง flaccid จะได้ SBP และ DBP ต่ำกว่า และถ้าวัดฝั่ง spastic จะวัดได้สูงกว่า แต่ค่ามักต่างกันไม่มาก แนะนำให้วัดข้างที่ปกติ
    • LV assist device (LVAD) ชนิด nonpulsatile จะคลำ pulse ไม่ได้ แต่วัด SBP ได้ ส่วน DBP, PP, และ MAP จะขึ้นกับ pump speed
  • Pulse pressure เพิ่มขึ้น (> 60 mmHg) ใน anemia, exercise, hyperthyroidism, AV fistula, aortic regurgitation, IICP, patent ductus arteriorsus (**สูตรท่อง คือ Athero heart block thyrox regur HT สำคัญ anemia อ่อนเพลีย Beri Beri 4P [pyrexia, pregnancy, PDA, Paget’s disease] ทีเด็ด เบ็ดเสร็จ aneurysm อย่าลืม AV fistula ]; และลดลง (< 20 mmHg) ใน hypovolemia, peripheral vascular resistance เพิ่มขึ้น เช่น early septic shock, stroke volume ลดลง 
  • Differential brachial artery pressure ในคนปกติจะมี BP ของแขนทั้งสองข้างต่างกันได้ 10-20 mmHg โดยจะเอา BP ของแขนข้างที่สูงกว่า; ถ้าต่างกันมากเกิดได้จาก focal atherosclerosis, coarctation of the aorta (proximal ต่อ Left subclavian artery), type A aortic dissection, aortic arch syndrome เป็นต้น
  • Pulsus paradoxus คือ การที่ SBP ลดลง > 12 mmHg ในช่วงหายใจเข้า (ปกติจะลดประมาณ 10 mmHg) พบได้ใน COPD, pneumothorax, severe asthma, pericardial tamponade (ใน advance tamponade จะไม่มี เพราะ PP แคบ); วัดโดยให้นอนหงายยกศีรษะสูง 30-45o หายใจปกติ ให้ inflate cuff เหนือ systolic pressure แล้วค่อยๆ deflate ช่วงแรกจะได้ยินเสียง systolic sound เฉพาะช่วง expiration แล้วค่อยๆลดจนได้ยินทั้งช่วง inspiration และ expiration หรือจะดูจาก pulse oximetry wave แทนก็ได้
  • Shock index คือ สัดส่วนของ PR เทียบกับ SBP ค่าปกติคือ 0.5-0.7 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ Left ventricular stroke work index



Doppler US ในการประเมิน pulse และ BP

ข้อบ่งชี้
  • ใช้วัด BP ใน low-flow state ที่วัด SBP ต่ำได้ถึง 30 mmHg
  • ประเมิน lower extremity peripheral perfusion โดยการวัด ankle-brachial index
  • ประเมิน fetal heart sound ใน GA > 12 สัปดาห์
อุปกรณ์
  • Probe frequency 2-5 MHz เหมาะสำหรับการตรวจ fetal heart sounds, และ frequency 5-10 MHz เหมาะในการตรวจ artery และ vein
วิธีการ
  • ใส่ acoustic gel ระหว่าง Doppler probe และผิวหนัง (ถ้าไม่มีอาจใช้ water-soluble lubricant เช่น K-Y jelly แทนได้) และวาง probe ทำมุม 45o ตามยาวของ blood vessel
  • Peripheral perfusion ให้พัน sphygmomanometer cuff ตำแหน่ง proximal ต่อ arterial pulse และ inflate และวาง probe เหนือต่อ arterial pulse แล้ว deflate ช้าๆจนได้ยินเสียง flow คือ SBP
  • Ankle-brachial index ให้วัด SBP ด้วย Doppler ที่ brachial artery ของแขนทั้ง 2 ข้าง และวัดที่ posterior tibial และ dorsalis pedis artery ของขาทั้ง 2 ข้าง
  • Segmental lower extremity pressure วัด SBP ที่ upper thigh, lower thigh, upper calf, ankle
  • Fetal heart tones ให้วัดในหลายๆตำแหน่งของ uterus แนะนำให้เริ่มที่ mid-suprapubic area แล้วเอียง probe ไปมา เมื่อได้ตำแหน่งของ tone จึงเลื่อน probe ไปตามหน้าท้องไปให้ใกล้ตำแหน่งของเสียงมากที่สุด โดยต้องแยกเสียงจาก placental flow ซึ่งจะตรงกับ maternal pulse
แปลผล
  • ABI ให้นำ SBP ของ posterior tibial หรือ dorsalis pedis artery ข้างที่สูงกว่าหารด้วย SBP ของ brachial artery ข้างที่สูงกว่า ค่าปกติจะ > 1.0; คนที่มี claudication จะวัดได้ 0.6-0.8; ถ้ามี rest pain หรือ gangrene จะ < 0.5
  • ABI < 0.9 ใน penetrating extremity injury แสดงว่ามี vascular injury
  • Segmental lower extremity pressure อาจจะสามารถบอกตำแหน่งที่ obstruction ได้ โดยปกติแต่ละตำแหน่งที่ต่อกันจะมี segmental gradient < 30 mmHg และ upper thigh จะมากกว่า brachial pressure อย่างน้อย 40 mmHg
  • Fetal heart tone ปกติ 120-140 ครั้ง/นาที



Orthostatic V/S

ข้อบ่งชี้
  • พิจารณาใช้ประกอบในการประเมินในคนที่สงสัย blood volume loss หรือมีประวัติ syncope
  • อาจใช้ประเมินการตอบสนองของผู้ป่วยต่อ postural change หลังได้รับยาบางตัว ในขณะที่ volume status ปกติ
  • ใช้ประกอบในการประเมินการตอบสนองต่อการรักษา
ข้อห้าม
  • มี supine hypotension, หรือ clinical syndrome ของ shock
  • มี severely altered mental status
  • Possible spinal cord injury, lower extremities หรือ pelvic fracture
  • ใช้ยาที่ยับยั้ง vasomotor และ chronotropic response
วิธีการ
  • วัด BP ในท่านอน 2-3 นาที โดยไม่มีการรบกวนผู้ป่วย และวัด BP ในท่ายืน 1 นาที หรือถ้ามีอาการก่อนให้ผู้ป่วยนอนลง และวัด BP ซ้ำหลังจากยืน 3 นาที
แปลผล
  • ในคนปกติเมื่อยืนจะมี compensatory reflex ทำให้ PR เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 13 ครั้ง/นาที ส่วน SBP อาจลดเล็กน้อย DBP อาจเพิ่มเล็กน้อย
  • นิยาม orthostatic hypotension คือมีการลดลงของ SBP > 20 mmHg และ DBP > 10 mmHg ภายใน 3 นาทีหลังจากยืน แต่เป็นนิยามที่ได้จากการศึกษาใน passive tilt table และผลการศึกษาใน ER มีความหลากหลาย จึงอาจไม่สามารถดัดแปลงมาใช้ได้เต็มที่
  • ในรายที่สงสัย blood loss ถ้าวัด orthostatic V/S แล้วมีอาการหรือ PR เพิ่มขึ้น 30 ครั้ง/นาที แสดงว่ามีโอกาสสูงที่จะมี blood loss จริง (2% false positive) ส่วนในรายที่ negative test บอกได้ว่าไม่น่าที่จะมี acute blood loss > 1000 mL (2% false negative)



Capillary refill time (CRT)

ข้อบ่งชี้
  • ใช้ประเมิน perfusion และ dehydration ร่วมกับอาการแสดงอื่นๆ แต่ไม่เหมาะสมในการนำมาใช้แทนการวัด BP ในเด็ก
ข้อห้าม
  • ไม่ควรประเมินใน dependent extremity, recent burned หรือ injured extremities, หรือตำแหน่งที่มี infection หรือ acute injury
วิธีการ
  • ตำแหน่งที่แนะนำคือ nail bed, thenar surface ของฝ่ามือ, และที่ส้นเท้า โดยที่ตำแหน่งที่วัดควรอยู่ระดับเดียวกับ right atrium กดด้วยแรงที่น้อยที่สุดจนซีดจางและปล่อยพร้อมกับจับเวลาจนสีกลับมาแดงเหมือนเดิม
แปลผล
  • CRT เฉลี่ยในเด็ก 2-24 เดือน คือ 0.8 +/- 0.3 วินาที; ในเด็ก CRT ปกติ คือ < 2 วินาที
  • CRT > 2 วินาทีในเด็ก < 5 ปี ร่วมกับ อาการอื่นๆ (dry mucosa, no tear, ill appearance) สามารถบอกได้ว่ามี dehydration > 5% BW นอกจากนี้ยังใช้ CRT ในการประเมินการตอบสนองต่อการให้ fluid resuscitation ในเด็กได้
  • CRT > 4.5 วินาที ในผู้ใหญ่ ร่วมกับอาการมือเท้าเย็น ขณะที่ hemodynamic stabilized สามารถบอกได้ว่ายังมี high lactate level และมี severe organ dysfunction แต่พบว่ามี sensitivity และ specificity ต่ำกว่าการวัด orthostatic V/S ในการประเมิน blood loss



Temperature

ข้อบ่งชี้
  • วัด core temperature ในโรคที่การรักษาจะขึ้นอยู่กับระดับอุณหภูมิ เช่น profound hypothermia, frostbite, hyperthermia เป็นต้น นอกจากนี้จึงมักจะวัดอุณหภูมิจาก peripheral site 
ข้อห้าม
  • ห้ามวัด oral temperature ในคนที่ไม่ร่วมมือ (เช่น เด็ก < 5 ปี หรือ intubation), hemodynamic instability, septic, หรือมี respiratory distress (RR > 20); และหลังจากดื่มน้ำร้อนหรือเย็น 5-30 นาทีอาจทำให้ผลที่วัดผิดได้
  • ห้ามวัด rectal temperature ในผู้ป่วย neutropenia, recent rectal surgery
ตำแหน่งในการวัด
  • Core body temperature ได้แก่ distal third ของ esophagus, tympanic membrane (direct thermistor สัมผัสกับ anterior inferior quadrant ของ TM), pulmonary artery, rectal อย่างน้อย 8 ซม.จาก anus, bladder
  • Peripheral sites สามารถวัดได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว แต่มี sensitivity และ specificity น้อยกว่าการวัด core temperature ที่นิยมได้แก่ วัด IR radiation จาก TM, skin thermometer, oral thermometer, temporal artery scanning (มี sensitivity สูงกว่า TM thermistor ในทารก)
วิธีการ
  • Oral temperature ให้ใส่ probe ใน right หรือ left posterior sublingual pocket และปิดปาก
  • Rectal temperature ใส่ในท่า lateral decubitus และใส่ probe ลึก 3-5 ซม.
  • ในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเร็ว แนะนำให้วัด oral หรือ IR TM temperature เป็นระยะๆจะเชื่อถือได้มากกว่า rectal temperature เพราะอุณหภูมิจะเปลี่ยนช้ากว่า แต่ถ้าต้อง monitor ตลอดเวลาสามารถใช้เป็น bladder หรือ esophageal probe
  • ถ้าใช้ที่วัดแบบ mercury ในหลอดแก้วต้องมีเวลาสัมผัสกับร่างกายให้เพียงพอ คือ oral 7 นาที, rectal 3 นาที, axillary 10 นาที (แต่ปัจจุบันไม่แนะนำให้วัด axillary temperature เพราะเชื่อถือได้น้อย)
แปลผล
  • Core site ปกติ คือ 36.4-37.9 oC (37oC +/- 0.6oC); Fever คือ > 38 oC
  • Oral site ปกติ คือ 35.5-37.7 oC; Fever คือ > 37.8 oC
  • Rectal site ปกติ คือ 36.6-37.9oC; Fever คือ > 38 oC
  • Ear site ปกติ คือ 35.7-37.5 oC; Fever คือ > 37.6 oC
  • นิยาม fever ใน infant < 30 วัน คือ > 38 oC, 30-60 วัน > 38.1oC, 60-90 วัน > 38.2oC
  • Hypothermia คือ core temperature < 35 oC; Hyperthermia คือ > 41oC



Pain score

วิธีการ
  • ให้ผู้ป่วยเป็นคนบอกระดับความเจ็บป่วยด้วยตนเองในการประเมินครั้งแรก และใช้ติดตามหลังให้การรักษา แต่มิได้หมายความว่าจะระบุวิธีการรักษาที่จำเพาะเจาะจงกับระดับความเจ็บปวดต่างๆ
  • เครื่องมือที่แนะนำในผู้ใหญ่ คือ visual analog scale (VAS) หรือ numerical rating scale (NRS); และที่แนะนำในเด็กคือ Oucher Pain Scale และ Faces Pain Scale (FPS)
  • VAS ประกอบด้วย เส้นความยาว 10 ซม.มีเลข 0 (ไม่เจ็บ) และเลข 10 (เจ็บมากที่สุด) อยู่ปลายคนละฝั่ง ซึ่งคะแนนที่เราจะให้ความสนใจ คือ คะแนนที่เปลี่ยนแปลงหลังการรักษา ซึ่งจะถือว่ามีนัยสำคัญคือต้องเปลี่ยนอย่างน้อย 13-30 มม.


Ref: Robert Clinical Procedures

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น