การป้องกันการติดเชื้อในห้องฉุกเฉิน ได้แก่
- Hand hygiene
- Standard precaution
- Transmission-based precautions
- Healthcare personnel vaccination
- Environment controls
ลดจำนวนเชื้อบนมือของบุคลากรทางการแพทย์ (hand
hygiene) มี 2 วิธี คือ การถูมือด้วยแอลกอฮอล์
(alcohol-bases hand sanitizer) และการล้างมือด้วยน้ำและสบู่
- การถูมือด้วยแอลกอฮอล์ (alcohol-based hand sanitizer) เป็นวิธีที่แนะนำ เพราะเป็นวิธีที่ลดจำนวนแบคทีเรียได้ดีที่สุด ไม่ทำให้มือแห้งหรือทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง โดยถูให้ทั่วมือจนรู้สึกแห้งจะใช้เวลาประมาณ 20 วินาที
- ทำทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสกับผู้ป่วย หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย
- ก่อนทำหัตถการปราศจากเชื้อ
(เช่นใส่สายต่างๆ) หรือทำ
invasive procedure
- ระหว่างที่ต้องย้ายจากตำแหน่งที่สกปรกไปตำแหน่งที่สะอาดบนตัวผู้ป่วย
- หลังสัมผัสกับเลือดหรือของเหลวจากร่างกายของผู้ป่วย
- หลังจากถอดถุงมือทุกครั้ง
- การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ให้เปิดน้ำล้างให้มือเปียกก่อน แล้วใส่ผลิตภัณฑ์ล้างมือตามคำแนะนำของผู้ผลิต ถูมือและนิ้วจนทั่วอย่างน้อย 15 วินาที ล้างมือให้สะอาด ใช้กระดาษเช็ดมือเช็ดให้แห้ง แล้วใช้กระดาษเช็ดมือนั้นปิดก๊อกน้ำ
- ทำเมื่อเห็นว่ามือสกปรก ก่อนกินอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำ
- หลังจากดูแลผู้ป่วยที่สงสัยท้องเสียติดเชื้อ
- หลังสงสัยว่าสัมผัสกับสปอร์ของเชื้อ B. anthracis, C. difficile
- เมื่อต้องใส่ถุงมือ ให้ล้างมือก่อนและหลังใส่ถุงมือ และเปลี่ยนถุงมือเมื่อฉีกขาด เปื้อนเลือดหรือของเหลวจากร่างกายของผู้ป่วย หรือระหว่างที่ต้องย้ายจากตำแหน่งที่สกปรกไปตำแหน่งที่สะอาดบนตัวผู้ป่วย
- ใช้โลชั่นหรือครีมบำรุงเพื่อป้องกันไม่ให้มือแห้งจากการต้องล้างมือบ่อยครั้ง
- ไม่ไว้เล็บยาวเกิน 1/4 นิ้ว ไม่ติดเล็บปลอม และไม่ควรใส่แหวน
- การล้างมือก่อนผ่าตัด ให้ถอดนาฬิกา แหวน กำไลข้อมือออก แปรงทำความสะอาดใต้เล็บ แล้วล้างมือด้วยสบู่ที่มีน้ำยาฆ่าเชื้อ ถูมือถึงแขนช่วงล่างระยะเวลาตามที่ผู้ผลิตแนะนำ (ประมาณ 2-6 นาที) หรือถูมือด้วย alcohol-based sanitizer ที่ออกฤทธิ์นาน (ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ที่ไม่มีน้ำยาฆ่าเชื้อก่อน)
- มีแผนการส่งเสริมให้เกิด hand hygiene มีการตรวจสอบและควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน บุคลากรสามารถเข้าถึง alcohol-bases sanitizer ได้ง่ายเช่น อยู่หน้าห้องผู้ป่วย อยู่ข้างเตียง หรือมีขนาดพกพาติดตัว
การป้องกันที่ใช้กับผู้ป่วยทุกราย (standard
precaution) ประกอบด้วย
- Hand hygiene (ดูด้านบน)
- Gloves ใช้เมื่อสัมผัสกับของเหลวจากร่างกายผู้ป่วย (ยกเว้นเหงื่อ) หรือสัมผัสกับเยื่อบุต่างๆของผู้ป่วย
- Gown ใช้ระหว่างทำหัตถการ และเมื่อผิวหนังหรือเสื้อผ้าต้องสัมผัสกับของเหลวจากร่างกายผู้ป่วย
- Mask, eye protection (goggles), face shield ใช้ระหว่างทำหัตถการที่อาจมีของเหลวจากร่างกายผู้ป่วยกระเด็น หรือกระจายเป็นละอองฝอย เช่น suctioning, endotracheal intubation; ในรายที่สงสัย aerosol transmitted disease ให้ใส่ N95 ระหว่างทำหัตถการ
- Respiratory hygiene/cough etiquette ต้องทำตั้งแต่จุดแรกที่เข้ามารพ. (โต๊ะต้อนรับ จุดคัดกรอง) โดยคนที่สงสัยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือเมื่อไอ/จามให้ปิดปาก/จมูกด้วยทิชชู ใส่ surgical mask และเมื่ออยู่บริเวณพื้นที่รอตรวจให้เว้นระยะห่าง > 3 ฟุตจากบุคคลอื่น; บุคลากรที่ติดเชื้อทางเดินหายใจควรใส่ mask และไม่ควรสัมผัสผู้ป่วยโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เสี่ยงติดเชื้อ
- Safe injection practices ใช้ aseptic technique (เช่น ไม่ใส่เข็มที่ใช้แล้วใน multiple-dose vial หรือ solution container) ไม่สวมปลอกเข็มกลับ ไม่งอเข็ม หรือจับเข็ม ถ้าต้อง recap ให้ใช้ one-hand scoop technique และใส่เข็มหรือของแหลมคมที่ใช้แล้วในภาชนะที่เตรียมไว้; เลือกใช้ยาชนิด single-dose vial แทน multiple-dose vials
- แยกผู้ป่วยไว้ห้องเดี่ยวในรายที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ มีโอกาสปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม หรือไม่สามารถรักษาสุขลักษณะที่ดีได้ หรือผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
การป้องกันเพิ่มเติมเมื่อทราบวิธีการแพร่กระจายเชื้อ
(transmission-based precaution)
***ดู CDC isolation
precaution ได้แก่
- Contact precaution ให้ผู้ป่วยอยู่ห้องเดี่ยว (ถ้ามีแต่ห้องรวมต้องห่างจากผู้อื่น > 3 ฟุต) บุคลากรให้สวม gown และ glove ก่อนเข้าห้องและถอดก่อนออกจากห้อง ไม่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น เมื่อเคลื่อนย้ายให้คลุม/ปิดส่วนที่ติดเชื้อ
- ได้แก่
Gastroenteritis (C. difficile, Novovirus,
Rotavirus), infectious wound, bronchiolitis, viral conjunctivitis, hepatitis A,
primary/severe HSV, human metapneumovirus, impetigo, head lice,
multidrug-resistant organisms, parainfluenza, poliomyelitis, infected pressure
ulcer, RSV, scabies, Staphylococcal disease)
- Droplet precaution ให้ผู้ป่วยอยู่ห้องเดี่ยว (ถ้ามีแต่ห้องรวมต้องห่างจากผู้อื่น > 3 ฟุต และมีม่านกั้น) บุคคลากรให้ใส่ surgical mask เมื่อเข้าห้อง และให้ผู้ป่วยสวม surgical mask เวลาเคลื่อนย้ายออกนอกห้อง
- ได้แก่ diphtheria, epiglottitis, influenza, meningitis, meningococcal disease, mumps, pneumonia (Mycoplasma, Adenovirus, H. influenza b), Parvovirus B19, pertussis, plague, Rhinovirus, Rubella, Streptococcal infection, viral hemorrhagic fever จาก Ebola (ร่วมกับ contact precaution )
- Airborne precaution ให้ผู้ป่วยอยู่ใน airborne infection isolation room (AIIR) คือ ห้องที่มีระบบจัดการอากาศที่ได้มาตรฐาน (เช่น negative pressure, 12 air exchanges per hours, HEPA filter) บุคลากรใส่ N95 (ใน TB) หรือ surgical mask (ใน chickenpox, herpes) ก่อนเข้าห้อง
- ได้แก่
HZV (ร่วมกับ
contact precaution), measles, SARS (ร่วมกับ
contact และ droplet precaution), smallpox (ร่วมกับ
contact precaution), TB, avian influenza
ฉีดวัคซีนให้แก่บุคลากร
- ได้แก่ hepatitis B, measles, mumps, rubella, pertussis,
varicella, seasonal influenza
การจัดการสิ่งแวดล้อม
**ดู CDC disinfection
and sterilization; environmental
infection control
- จัดการกับอุปกรณ์และผ้าที่เปื้อนด้วยความระมัดระวังไม่ให้เชื้อกระจายไปสู่ผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อม
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ตามคำแนะนำของผู้ผลิต หรือยกตัวอย่างเช่น เช็ด stethoscopes, BP cuffs, ventilator, thermometer ด้วย 70% ethyl alcohol ส่วนในบริเวณที่ต้องถูกสัมผัสบ่อยๆ หรือทำความสะอาดยาก อาจคลุมด้วยพลาสติกหรือวัสดุอื่นๆที่กันน้ำได้และสามารถถอดทิ้งเมื่อจะใช้กับผู้ป่วยรายต่อไป
- ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม โดยต้องทำให้เป็นปกติ โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกสัมผัสบ่อยๆเช่น ราวกั้นเตียง ลูกบิดประตู สวิตช์ไฟ ขอบม่าน ให้ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อบ่อยครั้งกว่าปกติ
อื่นๆ เช่น
- ลดโอกาสการติดเชื้อจากการใส่สายสวนต่างๆ เช่น central venous catheters, endotracheal tubes, urinary catheters โดยพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียในการใส่ เทคนิคการใส่ ตำแหน่งที่ใส่ การทำ hand hygiene และ aseptic technique การดูแลรักษา การเอาสายสวนต่างๆออกเมื่อไม่มีข้อบ่งชี้ ดู catheter-associated urinary tract infection, intravascular catheter-related infection
- ทำการเพาะเชื้อ (culture) เมื่อมีข้อบ่งชี้ และทำได้ถูกต้อง
- การให้ ATB
ที่เหมาะสมทั้งชนิด
ขนาดและระยะเวลาในการให้ยา (Antimicrobial
stewardship) ซึ่ง
CDC แนะนำให้ทุกร.พ.ทำ
“antibiotic stewardship programs” คือการจัดตั้งทีมที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญเข้าควบคุมการใช้
ATB
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น