วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Acute pharyngitis


Acute pharyngitis

สาเหตุ
  • สามารถแบ่งกว้างๆออกเป็น infectious และ non-infectious
  • Infectious causes ได้แก่
    • Respiratory virus (25-45%) มักมีอาการของ URI ได้แก่ อ่อยเพลีย คัดจมูก ไอ น้ำมูก ตาแดง จาม เสียงแหบ ปวดหู ปวดหน้า แผลในปาก ผื่น อาจมีไข้ต่ำๆ ยกเว้น influenza ที่จะมีไข้สูง
    • Group A Streptococcus (GAS) (5-15%) มีอาการเจ็บคอเฉียบพลัน ไข้ pharyngeal edema, patchy tonsillar exudates, prominent tender anterior cervical lymphadenopathy, palatal petechiae, scarlatiniform rash, และ strawberry tongue
    • อื่นๆ ได้แก่ Group C/G Streptococcus, A. haemolyticum, F. necrophorum, M.  pneumoniae, C. pneumoniae, C. diphtheriae, F. tulatensis
    • Acute HIV infection และ STI (N. gonorrhoea, T. pallidum)
    • EBV, CMV, HSV
  • Noninfectious cause ได้แก่ allergic rhinitis/sinusitis, GERD, smoking, dry air, trauma, vocal strain, ACEI, CMT, autoimmune disease (Kawasaki disease; periodic fever with aphthous stomatitis, pharyngitis, adenitis [PFAPA]; Behcet syndrome)

Approach:
  1. ประเมินว่ามีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่
    • Airway obstruction ได้แก่ muffled voice, drooling, stridor, respiratory distress, “Sniffing” positions ส่วนใหญ่เกิดจาก infectious mononucleosis
    • Deep neck infection ได้แก่ severe unilateral sore throat, bulging ของ pharyngeal wall/soft palate/oropharynx, neck pain/swelling/torticollis, crepitus, trismus, stiff neck, toxic appearance, fever/rigors, Hx ของ penetrating trauma ของ oropharynx
  2. ประเมิน respiratory viral syndrome ได้แก่ อาการไอ (ร่วมกับไข้ ไม่สบายตัว) คัดจมูก น้ำมูกไหล ตาแดง แผลในปาก ผื่น (viral exanthem) ให้รักษาแบบ viral pharyngitis
  3. ประเมินถ้ามีอาการที่สงสัย GAS (ไม่มีลักษณะของ viral syndrome) หรือ Centor cirteria > 3 ข้อ ให้ตรวจยืนยันด้วย rapid antigen test (RADT) และในกลุ่มเสี่ยง (เช่น immunocompromised, Hx acute rheumatic fever) ถ้า negative RAPT ให้ตรวจ throat viral C/S ต่อ
    • อาการที่สงสัย ได้แก่ เจ็บคอเฉียบพลัน ไข้ มี tonsillopharyngeal/uvula edema, patchy tonsillar exudates, cervical lymphadenitis (มักเป็น anterior และ tender), scarlatiniform skin rash/strawberry tongue (scarlet fever), ประวัติสัมผัส GAS
    • Centor criteria > 3 ข้อ ได้แก่ tonsillar exudates, tender anterior cervical lymphadenopathy, fever, no cough
  4. ประเมินความเสี่ยงต่อ STI (ดูเรื่อง STI) ซัก sexual history ที่พบบ่อยได้แก่ acute HIV และ gonorrhea; ให้ตรวจ syphilis ร่วมด้วย
    • Acute HIV สงสัยในรายที่อาจสัมผัสโรคมาภายใน 3 เดือน มีอาการ pharyngitis ร่วมกับ fever, mucocutaneous ulcers, และอาการของ acute retroviral syndrome
    • Gonococcal pharyngitis สงสัยในรายที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะเป็น receptive oral intercourse


Tx:
  • Airway obstruction, Deep neck infection ดูเรื่อง Neck, upper airway emergency; serious viral infection; ดูเรื่อง C. diphtheria, influenza, HIV, syphilis เพิ่มเติม
  • GAS pharyngitis แนะนำให้ ATB ได้แก่ amoxicillin 500 mg PO BID (หรือ 1000 mg OD) x 10 d หรือ cephalexin 500 mg PO BID x 10 d (ใน mild penicillin allergy) หรือ azithromycin 500 mg OD x 3 d (ใน severe penicillin allergy) หรือ clindamycin 300 mg PO TID x 10 d
  • Analgesic ได้แก่ NSAIDs หรือ paracetamol ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอภายใน 1-2 ชั่วโมง
    • แนะนำให้เริ่มในขนาดที่ต่ำกว่าขนาดรักษาปกติ (ibuprofen 200-400 mg, aspirin 325 mg, paracetamol 325 mg) อาจเพิ่มเป็นขนาดปกติได้ ถ้าต้องการบรรเทาอาการปวดมากขึ้น
    • จากการศึกษาพบว่า ibuprofen มีประสิทธิภาพดีกว่า paracetamol; paracetamol (500 mg) ผสม sodium bicarbonate (630 mg) จะดูดซึมเร็วขึ้นและช่วยบรรเทาอาการปวดมากขึ้น
  • Glucocorticoids เดิมมีการใช้ dexamethasone 10 mg PO single dose เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ แต่ปัจจุบันสมาคมต่างๆ (IDSA, NICE) ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะสามารถใช้ยาอื่นที่มีประสิทธิภาพและเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าแทนได้
  • Topical therapies แนะนำให้ใช้เสริมจาก oral analgesic ในการบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาในรูป lozenges และ tablets จะมีประสิทธิภาพมากกว่า sprays และ gargles
    • Lozenges ตัวยาสำคัญที่มีการใช้ ได้แก่ menthol, dyclonine, benzocaine, hexylresorcinol, lidocaine, ambroxol, AMC/DCBA, flurbiprofen, ibuprofen
    • Throat spray ตัวยาสำคัญที่มีการใช้ ได้แก่ phenol, benzocaine, chlorhexidine gluconate, benzydamine hydrochloride
    • วิธีลดอาการเจ็บคออื่นๆ ได้แก่ กลั้วน้ำเกลือ กินน้ำแข็งหรือดื่มน้ำอุ่นแทนน้ำอุณหภูมิห้อง กินอาหารอ่อนที่อุ่นร้อน กินน้ำผึ้ง อมลูกอม ดื่มชามะนาว หรือดื่มชาที่ผสมสารต่างๆ เช่น  licorice root, elm inner bark, marshmallow root, licorice root aqueous dry extract
  • ปรับสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้เครื่องทำความชื้น หลีกเลี่ยงควันบุหรี่

Prognosis
  • ในรายที่เข้าได้กับ viral pharyngitis หรือตรวจ negative RADT ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 5-7 วัน ส่วนใน GAS pharyngitis จะหายภายใน 24-72 ชั่วโมงหลังได้ ATB
  • ในรายที่อาการไม่ดีขึ้น ควรตรวจเพิ่ม เช่น infectious mononucleosis (EBV, CMV), acute HIV infection, A. haemolyticum (aerobic throat C/S), F. necrophorum (anaerobic throat C/S), suppurative complication, noninfectious cause; หรือในรายที่ยืนยันว่าเป็น GAS pharyngitis แต่อาการไม่ดีขึ้นใน 72 ชั่วโมง ให้หา suppurative complication หรืออาจเป็น chronic GAS carriage ซึ่งต้องหาการวินิจฉัยอื่นเพิ่มเติม


Ref: Up-To-Date

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น