วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Common cold (adult)


Common cold (adult)
  • ไวรัสเป็นสาเหตุมี > 200 subtypes ชนิดที่พบมากที่สุดคือ Rhinovirus (> 100 serotypes) และเชื้ออื่นๆ เช่น Coronavirus, influenza, RSV, parainfluenza virus เป็นต้น ซึ่งเชื้อส่วนใหญ่สามารถเกิด reinfection ได้เมื่อได้รับเชื้อซ้ำ แม้ใน serotype เดิม แต่จะมีอาการน้อยกว่าและระยะเวลาที่เป็นจะสั้นกว่าเดิม
  • การติดต่อ
    • ส่วนใหญ่เกิดจาก hand contact ซึ่งเชื้อสามารถอยู่ที่ผิวหนังได้ถึง 2 ชั่วโมง และเชื้อไวรัสยังติดอยู่ตามของใช้ได้หลายชั่วโมง แต่ในพื้นผิวที่มีรูพรุน (ทิชชู ผ้าเช็ดหน้า) ไวรัสจะอยู่ไม่ได้จึงไม่ใช่แหล่งในการแพร่เชื้อ
    • การติดต่อทาง droplet เชื่อว่าเป็นส่วนน้อย เพราะจากการศึกษา recirculated air ในเครื่องบิน ไม่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
    • > 90% ของคนที่เป็นหวัดตรวจไม่พบเชื้อในน้ำลาย
    • การแพร่กระจายเชื้อเกิดขึ้นสูงสุดในวันที่ 2 ของการเจ็บป่วย (วันที่ 3 หลังได้รับเชื้อ) และพบ viral shedding ได้ถึง 2 สัปดาห์
  • หลังได้รับเชื้อจะมีระยะฟักตัว 24-72 ชั่วโมง (อาจเร็วแค่ 10-12 ชั่วโมง) ในคนปกติจะมีอาการหวัดนาน 3-10 วัน (25% เป็นนานถึง 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะในคนที่สูบบุหรี่)
  • อาการส่วนใหญ่เกิดจาก immune response อาการเริ่มแรก คือ น้ำมูก คัดจมูก ระคายเคืองคอ ต่อมาจะมีอาการไอ ซึ่งอาการไอจะเป็นนานกว่า อาจมีไข้ต่ำๆ จาม ไม่สบายตัว ปวดศีรษะ ปวดหู ปวดหน้า; สีของน้ำมูกไม่ได้ช่วยแยก common cold จาก sinus infection
  • DDx: allergic/seasonal rhinitis (ไม่มีเจ็บคอ/ไอ), bacterial pharyngitis/tonsillitis (ไม่มีน้ำมูก/คัดจมูก), acute bacterial rhinosinusitis (มักปวดหน้า ร่วมกับน้ำมูกเป็นหนอง), influenza (ไข้สูง ปวดเมื่อยตัว), pertussis (ไอกำเริบหนักเป็นพักๆ หรือไอรุนแรง > 2 สัปดาห์)
  • ภาวะแทรกซ้อน: acute rhinosinusitis, lower respiratory tract infection (bronchitis, bronchiolitis, pneumonia), asthma exacerbation (Rhinovirus-induced airway reactivity ได้ถึง 4 สัปดาห์), acute otitis media

Tx:
  • Mild symptoms ไม่ต้องรักษา แนะนำให้กลับมาตรวจซ้ำถ้าอาการแย่ลงหรือยังไม่ดีขึ้นตามเวลาที่ควรเป็น
  • Moderate-severe symptoms ให้รักษาตามอาการ ได้แก่
    • Analgesics ได้แก่ paracetamol, NSAIDs พบว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันในการลดอาการปวดศีรษะ ปวดหู ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อาการไม่สบายตัว และอาการจาม
    • Antihistamine/decongestant combinations พบว่าได้ประโยชน์เมื่อใช้คู่กัน (NNT 4) เทียบกับการใช้ antihistamine อย่างเดียว มีผลข้างเคียง คือ ง่วง ปากแห้ง นอนไม่หลับ มึนงง
    • Inhaled/intranasal cromolyn sodium ช่วยลดน้ำมูก เจ็บคอ และไอ
    • Intranasal ipratropium bromide ช่วยลดน้ำมูก และอาการจาม มีผลข้างเคียงเรื่องจมูกแห้ง  น้ำมูกมีเลือดปน และเลือดกำเดาไหล
  • การรักษาที่ได้ประโยชน์ไม่ชัดเจน เป็นตัวเลือกเมื่อใช้การรักษาข้างต้นไม่ได้ ได้แก่
    • Dextromethorphan ช่วยลดอาการไอลงได้ไม่มาก (12-36%) แต่มีความเสี่ยงต่อการใช้ยาในทางที่ผิด
    • Decongestants ได้แก่ pseudoephedrine ช่วยลดอาการคัดจมูกลงได้เล็กน้อย (6%), phenylephrine (ด้อยกว่า pseudoephedrine), topical decongestant ใช้ได้ แต่ควรจำกัดการใช้ไม่เกิน 2-3 วัน เพื่อป้องกันการเกิด rebound rhinitis
    • Saline nasal spray มีแค่การศึกษาขนาดเล็ก อาจช่วยลดน้ำมูก และอาการคัดจมูก
    • Expectorants ได้แก่ guaifenesin มีแค่บางการศึกษาที่ช่วยอาจลดอาการไอ
    • Herbal products มีรายงานการศึกษารากของ Pelargonium sidoides ช่วยลดอาการหวัดได้
    • Zinc ช่วยลดอาการหวัดได้ แต่มีผลเสียสำคัญคือ irreversible anosmia เมื่อใช้พ่นทางจมูก
  • หลักฐานที่มีในปัจจุบันยังไม่แนะนำ ได้แก่ antibiotic (ได้ประโยชน์แค่ 5%), antihistamines (1st generation อาจช่วยลดอาการน้ำมูก และจามได้ใน 2 วันแรก แต่มีผลข้างเคียงเรื่อง sedation และ eye/nose/mouth dryness), antiviral (มีการศึกษาเฉพาะเชื้อ rhinovirus), vitamins, Echinacea, codeine, intranasal glucocorticoids, heated humidified air


Prevention
  • Hand hygiene ล้างมือด้วย alcohol-based hand rub หรือล้างด้วยสบู่กับน้ำอย่างน้อย 20 วินาที ช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก
  • หลักฐานที่มีในปัจจุบันยังไม่แนะนำ ได้แก่ probiotics, exercise, sleep (มีเฉพาะการศึกษาใน rhinovirus ถ้านอน < 5 ชั่วโมงจะเป็นหวัดมากกว่านอน > 7 ชั่วโมง), zinc (มีเฉพาะการศึกษาในเด็ก), vitamin C (ได้ประโยชน์เฉพาะกลุ่มออกกำลังกายอย่างหนัก), vitamin D, vitamin E,  face masks, herbal products, gargling, leukotriene receptor antagonists (มีการศึกษาเฉพาะในผู้ป่วย asthma)
  • อากาศเย็นไม่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหวัด


Ref: Up-To-Date

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น