Adult BLS (2020) for healthcare
provider
Chain of Survival
อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับการเชื่อมโยงประสานกันของแต่ละห่วงในห่วงโซ่ของการรอดชีวิต ตั้งแต่ early recognition จนถึง recovery
Sequence of Resuscitation
Scene safety: ประเมินความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุก่อนเสมอ
Recognition
of Cardiac arrest
- เมื่อพบคนที่ไม่รู้สึกตัว ให้กระตุ้นผู้ป่วย
- ถ้าไม่ตอบสนองให้ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือและเรียกทีมกู้ชีพทันที (พร้อมกับหรือทันทีหลังการตรวจชีพจร)
- ดูการหายใจพร้อมกับคลำ pulse โดยใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที
- ถ้าไม่หายใจ หายใจเฮือก หรือไม่มี pulse ให้คนช่วยเหลือหาเครื่อง AED และอุปกรณ์ช่วยชีวิต และเริ่มทำ CPR ทันที
- ถ้ามีชีพจรแต่ต้องการการช่วยหายใจ ทำการช่วยหายใจ 6 วินาทีต่อครั้ง (10 ครั้งต่อนาที)
- ถ้าสงสัยเกิดจาก opioid overdose ให้ Naloxone IN/IM
CPR sequence ตามลำดับ C-A-B (chest compression-open airway-rescue breathing)
Chest
compression
- จัดผู้ป่วยนอนหงาย (ถ้านอนหงายไม่ได้ ก็ให้ทำในท่านอนคว่ำได้ โดยเฉพาะถ้าใส่ advanced airway ไว้แล้ว) บนพื้นผิวที่แข็ง (การกดหน้าอกบนเบาะนอนของรพ.ก็มีประสิทธิภาพในระดับที่ยอมรับได้) ในสถานที่ปลอดภัย
- วางส้นมือซ้อนและขนานกันบริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก
- กดหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพ
- กดลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว (5 ซม.) แต่ไม่ควรเกิน 2.4 นิ้ว (6 ซม.)
- กดเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที
- ปล่อยสุด ไม่เอนตัวทิ้งน้ำหนักบนหน้าอก โดยให้ทรวงอกกลับคืนจนสุด พยายามให้เวลาในการกดและปล่อยทรวงอกพอๆกัน
- รบกวนการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด หยุดได้ไม่เกิน 10 วินาทีในกรณี ช่วยหายใจ คลำชีพจร ช็อกไฟฟ้าหัวใจ ใส่ ETT
- Chest compression fraction ควรทำให้ได้อย่างน้อย 60%
**ส้นมือวางตั้งฉากกับผู้ป่วย วางซ้อนและขนานกันบนครึ่งล่างของกระดูก sternum แขนตรง ศอกตึง ตั้งฉากกับผู้ป่วย ใช้สะโพกเป็นจุดหมุน และตะโกนนับดังๆเวลา CPR ด้วย
- แนะนำให้ใช้ audiovisual feedback devices และติดตาม physiologic parameter เช่น arterial BP หรือ ETCO2 (เป้าหมาย > 20 mmHg ขั้นต่ำ > 10 mmHg ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ CPR
Audiovisual feedback device ระหว่าง CPR เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ CPR
Opening the Airway
- เปิดทางเดินหายใจโดยทำ Head tilt-chin lift
- Jaw thrust: ในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังบริเวณคอ
- Oropharyngeal และ nasopharyngeal airways สามารถนำมาช่วยในการเปิดทางเดินหายใจ
- ทำ manual inline immobilization ในผู้ป่วยที่สงสัยการบาดเจ็บของไขสันหลัง
- ไม่แนะนำการทำ cricoid pressure เป็น routine
- ช่วยหายใจให้ปริมาตรเพียงที่เห็นหน้าอกเคลื่อนไหว หรือ ประมาณ 500-600 mL
- ช่วยหายใจแต่ละครั้งมากกว่า 1 วินาที หลีกเลี่ยงการช่วยหายใจมากเกินไป
- สามารถเลือกระหว่างการกดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง (30:2) โดยหยุดกดหน้าอก < 5 วินาที หรือ ทำการช่วยหายใจ 1 ครั้งทุก 6 วินาที หรือประมาณ 10 ครั้งต่อนาที โดยไม่ต้องสัมพันธ์กับการกดหน้าอก
- การช่วยหายใจมีหลายวิธี เช่น mouth-to-mouth, mouth-to-nose, mouth-to-stoma, mouth-to-mask, bag-mask ventilation เป็นต้น
- Bag-mask ventilation
- เลือกใช้หน้ากากชนิดใส
- บีบประมาณ 2/3 ของ adult bag ขนาด 1 ลิตร (TV 600 mL)
- เปิด Oxygen มากกว่า 10-12 L/min จะได้ Oxygen concentration ~ 40%
- แนะนำให้เริ่ม CPR (กดหน้าอกและช่วยหายใจ) ก่อนที่จะใส่ advanced airway
- ถ้าผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจแล้วให้ช่วยหายใจ 1 ครั้งทุกๆ 6 วินาที (10 ครั้งต่อนาที) โดยที่ไม่ต้องสัมพันธ์กับการกดหน้าอก
- ทุกๆ 2 นาที (~ 5 รอบใน 30:2) ตรวจชีพจร และเปลี่ยนผู้ทำการกดหน้าอก (ใช้เวลาเปลี่ยนตำแหน่งกันภายใน 5 วินาที)
- ในสถานการณ์ witnessed shockable OHCA อาจพิจารณาให้รบกวนการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด เช่น การทำ delayed ventilation
***คนปั๊มหัวใจ นับเสียงดังขณะปั๊มหัวใจ คนที่ช่วยหายใจ คอยเปิด airway ไว้ และคอยแนะนำให้คนที่ปั๊มหัวใจทำให้ได้คุณภาพ เปลี่ยนกันทุก 5 รอบหรือ 2 นาที
Rapid defibrillation
- แนะนำเครื่อง defibrillation ชนิด biphasic มากกว่า monophasic waveform
- เมื่อเครื่อง defibrillator หรือ AED พร้อมก็ให้ใช้ได้เลยไม่ต้องรอ CPR ให้ครบ cycle (อย่างน้อยให้ chest compression > 30 วินาทีก่อน defibrillation ยกเว้น ว่า VF เกิดขึ้นระหว่าง monitor และทำ defibrillation ได้ทันที)
- ใช้ self-adhesive paddles หรือ pads ขนาดอย่างน้อย 8 ซม. ติดตำแหน่ง anterolateral หรือ anteroposterior (ถอดเสื้อและเครื่องประดับออกจากหน้าอก)
- การ shock ให้เลือกพลังงานตามที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ (เช่น zoll 120J, Philips 150J) ถ้าไม่ทราบให้พิจารณาใช้พลังงานสูงสุด (การใช้พลังงานสูงเกินกว่าที่แนะนำทำให้เกิด myocardial dysfunction)
- การ shock ในครั้งต่อๆมา (shock-refractory arrhythmias) สามารถคงพลังงานเท่าเดิม (fixed) หรือปรับเพิ่มพลังงานขึ้นเรื่อย ๆ (escalating energy level) ขึ้นกับคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต (zoll แนะนำ 120-150-200-200) ถ้าไม่ทราบให้พิจารณาใช้พลังงานสูงสุด
- รบกวนการกดหน้าอกให้น้อยที่สุดทั้งก่อนและหลังการช็อกไฟฟ้า เช่น ก่อน shock ไฟฟ้าให้ทำการ charging ไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะดู rhythm (pre-shock pause ควร < 10 วินาที จึงจะช่วยให้ shock สำเร็จ) หรือให้กดหน้าอกระหว่าง charging และทำการกดหน้าอกต่อทันทีหลังการช็อกไฟฟ้า
- ถ้ามี physiologic evidence ว่ามี ROSC เกิดขึ้น (arterial waveform หรือ ETCO2 เพิ่มขึ้นทันที) การหยุดกดหน้าอกชั่วครู่เพื่อยืนยันสามารถทำได้
Pseudo-Electric
Therapies
- Precordial thump อาจจะพิจารณาทำใน rescuer-witnessed monitored, unstable ventricular tachyarrhythmia ในสถานการณ์ที่ไม่มีเครื่อง defibrillator พร้อมใช้ โดยไม่ทำให้การทำ CPR ล่าช้า
- Fist (percussion) pacing อาจจะพิจารณาทำใน witnessed, monitored in-hospital arrest (cardiac cath lab) ใน bradyasystole ก่อนที่จะ LOC โดยไม่ทำให้การช่วยเหลืออื่นๆล่าช้า
- “Cough” CPR อาจจะพิจารณาทำใน witnessed, monitored significant tachy- หรือ bradyarrhythmia ก่อนที่จะ LOC โดยไม่ทำให้การช่วยเหลืออื่นๆล่าช้า
ข้อควรระวัง
- ห้ามสัมผัสผู้ป่วยขณะทำการช๊อกไฟฟ้าหัวใจ แม้ว่าจะใส่ถุงมือ 2 ชั้นก็ยังอาจไม่ปลอดภัย
- ถ้าผู้ป่วยอยู่บนที่เปียกให้เคลื่อนย้ายมาที่แห้งก่อน
- Manual defibrillator ให้ถือชี้ลงล่างเสมอ การชี้แผ่นเข้าหากันหรือโบกแผ่นไปมาอาจทำให้พลังงานถูก discharge ออกเองได้
- ในคนที่มีขนหน้าอกเยอะแล้วเครื่องไม่สามารถ analyze rhythm ได้ ให้ดึง adhesive paddle ออกเร็วๆให้ขนหลุดติดออกมา แล้วค่อยติดแผ่นใหม่
- ในคนที่ผิวหนังเปียกชุ่ม ให้เช็ดให้แห้งก่อน (ไม่ถึงกับต้องแห้งสนิท)
- ถ้ามีโลหะบนร่างกาย หรือแผ่น nitroglycerine ให้เอาออกก่อน
- ระวังไม่ให้มี O2 ไหลผ่านบริเวณที่จะช็อกไฟฟ้า
- ไม่ให้ gel กระจากไปใกล้ paddle อื่นภายใน 5 cm
- ไม่วาง paddle ใกล้กับ internal pacemaker < 12.5 cm
Recovery
position
- ถ้าผู้ป่วยหมดสติ แต่หายใจได้เอง ไม่มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังบริเวณคอ ให้จัดท่าพักฟื้น
- ในรายที่ยังพูดได้ ไอได้ ไม่เขียว ให้ปล่อยให้ผู้ป่วยหายใจเองขณะที่รอความช่วยเหลือ
- ในรายที่มี airway obstruction และไอไม่มีเสียง ให้เริ่มจาก back slap ก่อน ถ้าไม่ได้ผลให้ทำ abdominal thrusts และถ้าเห็น FB ในปากสามารถพยายามล้วงเอาออกหรือใช้ Magill forceps (ไม่แนะนำให้ blind finger sweep)
- ถ้าไม่รู้สึกตัวให้ทำ chest thrust
Family
presence during CPR
- แนะนำให้อนุญาตให้ญาติอยู่ขณะทำ CPR ได้ (ถ้าไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำ CPR) และต้องมีคนคอยแนะนำว่ากำลังทำอะไรและตอบคำถามญาติด้วย พบว่าไม่มีผลกับ survival rate แต่มีประโยชน์กับจิตใจของญาติ
Opioid-associated
emergencies
Drowning
- ระยะเวลาการจมน้ำสามารถบอกพยากรณ์โรคได้ ถ้า < 10 นาทีมีพยากรณ์โรคดี แต่ถ้า > 25 นาทีจะมีพยากรณ์โรคแย่
Ref: AHA adult BLS 2020
Thank you doctor Christ Nicolas for saving my life from cardiac arrest. As at yr 2019 I diagnosed cardiac diseases which led me to different hospital to met with so many doctors without solution, why 2020 I traveled to England and met with a doctor appointment about my heart's pains , the doctor did his best for my heart treatment without resolution, which lead me to a YouTube channel and other social media applications and be searching for cardiac symptoms . Year 2021, I met so many testimonials about doctor Christ Nicolas, how he cure cardiac arrest patients with his herbal medicine, I then collected his email address and WhatsApp number to give a trial to his medication early this year March 2022 , immediately I started using doctor Christ Nicolas herbal medication I began to see healings from my heart, till date I'm free from cardiac arrest through doctor Christ Nicolas. Contact doctor Christ Nicolas via his WhatsApp number or email address, he may also help you. +393510275722. Or email address.. drchristnicolas@gmail.com. thank you doctor Nicolas for saving the lives of the people.
ตอบลบบทความ pg slot แหล่งรวมบทความสล็อต เว็บไซต์พนันสล็อตออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมที่มาพร้อมทั้ง PG Slot เกมสล็อตออนไลน์ ประสิทธิภาพ น่าเล่นที่ใครๆก็ต่างมีความสนใจอย่างยิ่ง
ตอบลบ